สงคราม ที่นปช.ประกาศว่า ม้วนเดียวจบ กลายเป็นสงครามยืดเยื้อ เพราะการเคลื่อนไหวไม่เป็นไปตามเป้า แม้จะมีการเจรจาแต่ต้องล้มเหลว ทำให้ต่างฝ่ายต่างต้องเดินเกมกันใหม่ เป็นเกมที่ดุเดือดขึ้น ยาวนานขึ้น เกมที่จะนำพาชาติไปสู่หหายนะ
นปช.แดงทั้งแผ่นดินยกทัพมาหลายสายมุ่งเข้าเมืองหลวง จากเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ตะวันออก ตะวันตก ทุกทิศทาง ประมาณ 100,000 คน ทั้งคนและรถเต็มถนนราชดำเนินกลางและราชดำเนินนอก จนถึงลานพระบรมรูปทรงม้า พวกเขามีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งว่า จำนวนคนที่มากมายขนาดนั้น น่าจะพิชิตรัฐบาลได้ ข้อเสนอให้ยุบสภา จึงถูกเสนอไปยังนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เกมถูกแก้โดยการเชิญพรรคร่วมรัฐบาลมาร่วมกำหนดท่าทีและแถลงข่าวร่วมกัน ณ ที่มั่นกรามทหารราบที่ 11 ก่อนที่มวลชนคนเสื้อแดงจะเดินทางไปถึง แผนการที่จะบุกเข้าไปเพื่อจับนายกฯ เป็นตัวประกันจึงล้มเหลว คนเสื้อแดง จึงเดินทางเหนื่อยเปล่า ท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุ บางคนตัดสินใจกลับบ้านในตอนนั้น ตัวเลขผู้ชุมนุมจึงลดลงอย่างเห็นได้ชัด มีการเคลื่อนเกมด้วยการเจาะเลือดเทหน้าทำเนียบรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ และบ้านนายกฯ แต่เสียงคัดค้านกลับมากกว่า เสียงตอบรับ ถูกเรียกเป็นแวมไพน์ สื่อต่างประเทศ ยกให้เป็นการชุมนุมที่พิลึกกึกกือที่สุดในโลก
ถึงตอนนี้ วิเคราะห์กันว่า สงครามจะจบลงโดยเร็ว แต่เดิมพันครั้งนี้มีสูงมาก เพื่อก้าวไปสู่อำนาจและทวงคืนสิ่งที่สูญเสียไป ทำให้มีการระดมสรรพกำลังมาอย่างเต็มที่ ทั้งกำลังคน กำลังเงิน นักวางแผนมือฉมังถูกระดมเข้ามาช่วย แต่ไม่เป็นไปตามแผน เพราะอีกฝ่ายมีอำนาจรัฐ และได้เตรียมตัวมาอย่างดีเช่นเดียวกัน ตั้งการ์ดแน่น ไม่มีความผิดพลาดให้เห็นในยกแรก เมื่อเดิมพันสูง การจะล้มเลิกคงเป้นไปได้ยาก การระดมพลถึงเกิดขึ้นอีกระลอก เพื่อปฏิบัติการที่เรียกว่า ดาวฤกษ์ กระจายไปทั่วกทม. คนกลุ่มใหม่จากหลายพื้นที่ โดยเฉพวะจากรอบๆกทม.ถูกดึงเข้ามาร่วมสงคราม ที่มีการเคลื่อนทัพผ่านถนนสายต่างๆ เพื่อให้เกิดพลังกดดันรัฐบาล ยุทธศาสตร์นี้ เป็นดาบ 2 คม ที่ด้านหนึ่ง แม้จะเห็นคนเสื้อแดงออกมาต้อนรับ แต่อีกด้านหนึ่ง ความไม่พอใจของคนที่ได้รับผลกระทบก็ได้ถูกบ่มเพาะขึ้นมาเช่นเดียวกัน กระแสต่อต้านเริ่มดังมากขึ้น
อีกด้านหนึ่งกระแสเริ่มโถมเข้าใส่รัฐบาลว่า ทำไมไม่ดำเนินการอะไรซักอย่าง เพื่อนำไปสู่การยุติการชุมนุม แต่อีกด้านหนึ่ง ก็เริ่มถาโถมเข้าใส่ฝ่ายผู้ชุมนุม คนกรุงเทพฯในเบื้องแรกจากการสำรวจของหลายโพลล์ดูเหมือนจะวางเฉยต่อการชุมนุม และให้โอกาสถึงการแสดงออก ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่มาจากภาคอีสานภาคเหนือ อารมณ์จึงอยู่ที่ความสงสารและความเข้าอกเข้าใจ แม้ท่าทีของแกนนำ จะเต็มไปด้วยความรุนแรงและแข็งกร้าวก็ตาม แต่อารมณ์ที่ว่านี้ ก็มีอยู่จำกัด
สัปดาห์แรกๆ ผู้คนเฝ้าดูสถานการณ์ ไม่กล้าออกไปไหน เพราะต่างฝ่ายต่างโหมว่าจะเกิดความรุนแรง ดูได้จากถนนหนางที่ว่างเปล่า รถขสมก. รถไฟฟ้า มีคนใช้บริการน้อยลง นั่นหมายถึงภาคธุรกิจได้หยุดกิจการ หรือคนทำงานได้หยุดการทำงาน มีการสูญเสียทางธุรกิจไปส่วนหนึ่ง ไม่นับธุรกิจท่องเที่ยว ที่พักในกรุงเทพฯ ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้ง ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่ลดลงและเลวร้ายลงจนไปถึงเทศกาลสงกรานต์
จึงมี 1,800 ชุมชนออกมาต่อต้านและมีกลุ่มต่างๆตามออกมาเป็นระลอก การเคลื่อนไหวของมวลชนคนเสื้อแดง แม้ด้านหนึ่งจะดูว่าล้มเหลวที่ไม่อาจเอาชนะรัฐบาลได้ แต่อีกด้านหนึ่ง เรียกคะแนนสงสารได้ไม่น้อยเหมือนกัน เป็นทุนสำหรับการเลือกตั้งในครั้งหน้า
โดยภาพรวมการชุมนุมไม่สามารถจุดกระแสให้คนกรุงเทพฯ เห็นด้วยและออกมาสนับสนุนได้ โดยเฉพาะนักวิชาการที่ค่อนข้างมีเสียงดังทำให้ไม่เกิดพลังไปกดดันรัฐบาล ตรงกันข้าม เสื้อแดงกลับถูกกดดันกลับ โดยเหตุปัจจัย
– ข้อเรียกร้องให้ยุบสภา ไม่สมเหตุสมผล เพราะรัฐบาลไม่ได้ขาดความชอบธรรมจนต้องยุบสภา ทำให้ถูกมองว่า เป็นข้อเรียกร้องเพื่อให้พรรคเพื่อไทยกลัยมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง
– การชุมนุมไม่ถูกสถานการณ์ 3-4 ปีที่ผ่านมา คนเบื่อกับการชุมนุมที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และเป็นการชุมนุมที่มาจากความขัดแย้งทางการเมือง
– คนส่วนใหญ่ ยังให้โอกาสรัฐบาลทำงาน ในภาวะที่เศรษฐกิจต้องการความต่อเนื่องในการแก้ปัญหา หากยุบสภา จะต้องเสียเวลาไปอย่างน้อย 6 เดือนกระบวนการบริการประเทศจึงจะเคลื่อนได้เต็มตัว
– การชุมนุมถูกมองว่า ทำเพื่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพียงคนเดียว แม้จะมีความพยายามบอกว่า การชุมนุมไม่เกี่ยวกับพ.ต.ท.ทักษิณ แต่การที่อดีตนายกฯ โฟนอิน เรียกร้องให้คนมาชุมนุมทุกวันถูกมองอย่างอื่นไม่ได้
– การชุมนุมมีรายงานว่ามีการใช้เงินสูง คนส่วนหนึ่งเข้าร่วมชุมนุมเพื่อสินจ้าง ไม่ได้มาด้วยใจ จึงไม้เกิดพลังมากพอ
– ยุทธวิธีในการขับเคลื่อนการชุมนุมไม่ได้รับการตอบรับ แถมถูกต่อต้าน อาทิ การเจาะเลือดเทหน้าทำเนียบรัฐบาล และการเคลื่อนพลทั่วกรุงเทพฯ ที่ส่งผลให้มีปัญหาจราจา
– การต่อสู้เพื่อได้ล้มอมาตย์ ถูกมองว่า มีเจตนาซ่อนเร้น เพื่อเป้าหมายอย่างอื่น
– การต่อสู้เพื่อทำลาย 2 มาตรฐาน เป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับ แต่เป็นปัญหาที่ดำรงมายาวนานตั้งแต่มีประเทศไทยด้วยซ้ำ อีกทั้งในยุคพ.ต.ท.ทักษิณ ครองอำนาจ มีหลายมาตรฐานกว่าเสียอีก
เมื่อทั้งยุทธศาสตร์และยุทธวิธี ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้ไม่ได้รับการตอบรับ นั่นจึงนำไปสู่การก่อสถานการณ์ความรุนแรง แต่ทำไม่ได้มากนัก เนื่องจากฝ่ายรัฐวางแผนไว้ค่อนข้างรัดกุม
ฝ่ายรัฐดูเหมือนจะได้เครดิตในการยื่นมือไปหาเสื้อแดง เพื่อมานั่งโต๊ะเจรจา การเผชิญหน้าครั้งแรกดูเหมือนจะเป็นความหวัง แต่สุดท้ายก็ยุติลงโดยหาข้อสรุปไม่ได้ เสื้อแดงต้องการให้ยุบสภาภายใน 15 วัน โดยไม่มีการอมชอม แต่รัฐบาลขอเวลาเพื่อจัดการปัญหาทั้งการจัดทำงบประมาณ ที่ต้องทำให้เสร็จตามเวลาไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ปัญหาการกำหนดกติการการเลือกตั้งเพื่อให้มีการลงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ และต้องการให้เกิดบรรยากาศความสงบเรียบร้อยก่อนมีการเลือกตั้ง
เมื่อเสื้อแดงไม่ยอม พวกเขาก็ต้องกินนอนอยู่บนถนนต่อไป
การชุมนุมของมวลชนเสื้อแดง ยังจะกระทบต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของฝ่ายค้าน เพราะตามข้อเรียกให้ยุบสภานั้น ไม่สามารถทำได้ หากมีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณ จะต้องเลือกว่า จะเดินเกมมวลชนต่อไป ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก หรือใช้เกมในสภา มาเป็นทางลงให้คนเสื้อแดงยุติการชุมนุม
แต่ไม่ว่า จะเดินเกมไหน โอกาสนะค่อนข้างริบหรี่ โดยเฉพาะการดึงพรรคร่วมมาโดยเดี่ยวประชาธิปัตย์ เพราะแค่ออกปาก พรรคร่วมก็ออกมาปฏิเสธแล้ว
แม้ผ่านสงครามครั้งนี้ไปได้ ประเทศไทยคงจะต้องเผชิญกับการชุมนุมอีกหลายระลอกนับจากนี้ไป
แหล่งข้อมูล : MTODAYฉบับที่ 1 เดือนเมษายน
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1145 ครั้ง