คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ มี 2 คดี คือ คดีการเงินผิดประเภท 28 ล้านบท และคดีการ 258 ล้านบาท ที่เกี่ยวโยงไปยังบริษัท ทีพีโอ โพลีน จำกัด(มหาชน) ซึ่งกรณีหลังเป็นประเด็นที่มีซับซ้อนซ่อนเงื่อนอย่างยิ่ง
กรณีเงิน 258 ล้านบาท ที่บริษัททีพีโอ โพลีน จำกัด(มหาชน)จ่ายเงินให้กับบริษัท เมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด เพื่อทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ รัฐบาลพลังประชาชน สมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกฯ ถูกนำขึ้นมาเป็นคดีพิเศษ ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)ดำเนินการ เพื่อผลในทางการเมือง นั่นคือ เพื่อนำไปสู่การยุบพรรคประชาธิปัตย์ แต่กลายเป็นว่า พลังประชาชนกลับถูกยุบเสียเอง แต่ประเด็นนี้ ถูกนำมาขับเคลื่อนในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเมื่อปี 2552 โดยร.ต.อ.เฉลิม ได้นำเช็คมาโชว์ในสภาด้วย เท่ากับแสดงให้เห็นว่า ข้อมูลของดีเอสไอในยุคพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ถูกส่งมายังฝ่ายการเมือง เมื่อสาวลึกลงไปก็พบว่า ในการสร้างพยานขึ้นมา ส่วนหนึ่งเป็นการปั้นพยานเท็จและมีการแสวงหาผลประโยชน์จากการตั้งพยานโดยระดับรองอธิบดี
พยาน 2 คนในคดีนี้มีความน่าสนใจ คนแรก คือ นายประจวบ สังข์ขาว ที่ถูกระบุว่า เป็นผู้บริหาร บริษัท เมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น และรู้เรื่องการโอนเงินทั้งหมด คนๆนี้ถูกอดีตนายตำรวจฝีมือดีประจำหน่วยปราบปรามยาเสพติด(ปปส.) ซึ่งโอนมารับราชการเป็นใหญ่เป็นโตในดีเอสไอ ในฐานะเพื่อนซี้ปึ้กของอดีตบิ๊กดีเอสไอ นำไปรีดข้อมูล โดยการอุ้มไปกักขังและข่มขู่บังคับให้การซักทอดผู้บริหารทีพีไอโพลีนและมีการนำข้อมูลนี้ ไปรายงานต่อคณะกรรมการคดีพิเศษ(กคพ.) เพื่อขออนุมัติเป็นคดีพิเศษ ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ นายประจวบ ยังไม่ปรากฏตัวต่อสาธารณชน ไม่รู้ว่า เป็นตายร้ายดีอย่างไร แต่ข่าวบอกว่า มีการนำตัวไปไว้ในเซฟเฮาส์แห่งฟนึ่ง โดยอ้างว่า เพื่อเป็นการ คุ้มครองพยาน ตามกฎหมาย
พยานคนที่ 2 ส.ต.อ.ทชภณ พรหมจันทร์ คนนี้เป็นตำรวจนอกราชการ ที่ทำงานใกล้ชิดกับรองอธิบดีคนหนึ่ง ชื่อ ส.ซึ่งตอนนี้ได้ย้ายไปเป็นผู้ตรวจกระทรวงไอซีที โดยทำงานเป็นหน้าห้อง อดีตรองอธิบดีคนนี้นำ ส.ต.อ.ทชภณ มาเป็นผู้กล่าวหา โดยที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัททีพีไอ โพลีน แต่อย่างใด
ส.ต.อ.ทชภณ เป็นหน้าห้องของ อดีตรองอธิบดีดีเอสไอ และเขาเป็นคนหนึ่งที่ได้ขึ้นเวทีปราศรัยของกลุ่มคนเสื้อแดง ในวันที่ สุภรณ์ อัตถาวงศ์และอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง นำมวลชนไปบุกสำนักงานกกต.เพื่อเร่งรัดคดียุบประชาธิปัตย์ เมื่อเดือนเมษายน ทวงถามความคืบหน้าเกี่ยวกับการยุบพรรคประชาธิปัตย์ อ้างว่า ตัวเองเป็นคนร้องทุกข์กล่าวโทษ เท่ากับเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า คดีนี้ดำเนินไปเพื่อผลทางการเมืองชัดเจน
กรณีของส.ต.อ.ทชภณ ผู้บริหารดีเอสไอที่รับผิดชอบคดีได้นำมาแสวงหาผลประโยชน์ ในกรณีของ ประจวบ และส.ต.อ.ทชภณมีการเบิกค่าคุ้มครองพยาน ซึ่งตามข้อเท็จจริง ไม่มีการข่มขู่พยานหรือมีแนวโน้มว่า มีการประทุษร้ายพยาน เพราะพยานยังคงเดินทางไปไหนมาไหนตามปกติ และ”สิบตำรวจเอกนอกราชการรายนี้ ได้ติดสอยห้อยตาม อยู่ที่หน้าห้อง อดีตรองอธิบดีดีเอสไอตลอดเวลา ซึ่งไม่น่าจะเข้าข่ายการคุ้มรองพยานตามระเบียบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ แต่มีการเบิกจ่ายเงินเพื่อการนี้จำนวนมกา จากเอกสารการเบิกจ่ายค่าคุ้มครองพยาน พบว่า ในระยะเวลาเพียง 2-3 เดือน ดีเอสไอใช้จ่ายงบประมาณไปถึง 216,000 บาท(สองแสนหนึ่งหมื่นหกพันบาทถ้วน) ซึ่งเป็นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ซึ่งอดีตำวจนายนี้ ได้รับการคุ้มครองพยานยาวนาน 2 ปี นั่นเท่ากับว่า ม่การเบิกจ่ายเงินเพื่อการนี้ มากกว่า 1 ล้านบาท เป็นการใช้เงินภาษีของประชาชน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์กันโดยอาศัยช่องว่างของกฎหมาย
“สิบตำรวจเอกนอกรายการรายนี้ ไม่ได้ถูกคุ้มครองพยานและเดินทางไป-กลับกับพ.ต.อ.สุชาติทุกวัน และที่สำคัญเขา ยังพักอาศัยอยู่ที่บ้านพักตัวเองตามปกติ” แหล่งข่าวในดีเอสไอ กล่าว
กรณียุบพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพฤติกรรมหนึ่งของเจ้าหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษที่ยอมตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง และพร่าผลาญงบประมาณแผ่นดินิย่างไร้ยางอาย โชคดีที่ผู้บริหารเหล่านี้ ถูกย้ายออกไปจากกรมสอบสวนคดีพิเศษไปบ้างแล้ว เป็นโอกาสที่ ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ จะเข้าไปสะสางปัญหาหมักหมมในดีเอสไอให้สะอาด เป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง
แหล่งข้อมูล : MTODAY ฉบับที่ 4
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1574 ครั้ง