การจู่โจมแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนแบบไม่คาดคิดของรัฐบาลญี่ปุ่นได้ำทำให้เฮดจ์ฟันด์รายใหญ่ของโลกบางแห่งต่างประหลาดใจกันทั่วหน้า โดยหลายเจ้าเจอดีจากกำไรพลิกเป็นขาดทุนมหาศาลหลังจากเงินเยนร่วงหนัีก
โดยแหล่งข่าววงในที่คลุกคลีกับเฮดจ์ฟันด์ในกรุงลอนดอนเปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์ว่าเอดจ์ฟันด์รายใหญ่ๆไม่ว่าจะเป็น เอเอชแอล ซึ่งเป็นเฮดจ์ฟันด์มูลค่า 21,000 ล้า่นดอลลาร์ที่บริหารโดยบริษัทแมนกรุ๊ป สถาบันการเงินจดทะเบียนในตลาดหุ้นลอนดอนและเป็นนักค้าตราสารล่วงหน้าหรือฟิวเจอร์รายใหญ่ที่สุดในโลก, กองทุนวินตัน แคปิตอล ฟิวเจอร์ (Winton Capital Futures) ซึ่งมีสินทรัพย์กว่า 5,000 ล้านดอลลาร์ และกองทุนแอสเป็ก ไดเวอร์สิไฟด์ (Aspect Diversified Fund) เฮดจ์ฟัดน์ที่มีเงินกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ โดยแหล่งข่าวระบุว่าทั้ง 3 กองทุนต่างขาดทุนกันถ้วนหน้าหลังรัฐบาลญี่ปุ่นแทรกแซงค่าเงินเยน
ทั้งนี้ทั้ง 3 กองทุนต่างใช้แบบจำลองจากคอมพิวเตอร์ในการบริหารกองทุนซึ่งจะทำให้กองทุนเกาะติดและวิ่งไปกับแนวโน้มตลาดโดยอัตโนมัติ ส่งผลให้กองทุนเหล่านี้สุ่มเสี่ยงที่จะเจ็บตัวหากเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดซึ่งรวมถึงปฏิบัติการแบบไม่ทันตั้งตัวจากรัฐบาลและธนาคารกลาง นอกจากนั้นเป็นที่เข้าใจว่ากองทุนอื่นๆอีกหลายแห่งต่างเจ็บตัวกันทั่วหน้าจากการแทรกแซงในครั้งนี้ซึ่งรวมถึงเฮดจ์ฟันด์ที่ใช้กลยุทธ์การบริหารที่อิงกับปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคระดับโลกหรือ โกลบอล แมโคร ฟันด์ (Global Macro Fund) และ บรรดากองทุนที่เชี่ยวชาญการซื้อขายค่าเงินเป็นการเฉพาะ
แนวโน้มที่ชัดเจนเช่น การแข็งค่าของเงินเยน ได้นำไปสู่ได้นำไปสู่ผลกำไรมหาศาลในบรรดาเฮดจ์ฟันด์ที่ระบบอัลกอริธึมจากคอมพิวเตอร์ในการซื้อขายและติดตามโมเมนตัมตลาดในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่เดือนกันยายนกำลังพิสูจน์ว่าสิ่งต่างๆดูเหมือนจะไม่ง่่ายอย่างที่คิด
กองทุนเอเอชแอลทำผลกำไรได้กว่า 6.8% ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แหล่งข้อมูลจากนักลงทุนระบุ ขณะที่กองทุนวินตันกลับต้องเห็นผลตอบแทนต่ำกว่า 5% ในเดือนเดียวกันจากกองทุนฟิวเตอร์ที่ถือเป็นกองทุนตัวชูโรงของบริษัท
“การแทรกแซงของรัฐบาลญี่ปุ่นกำลังทำให้เกิดขุ่นเคืองไปทั่วเนื่องจากมันได้ทำให้เกิดการโอดครวญไปทั่วทั้งตลาดค่าเงิน” ผู้จัดการกองทุนรายหนึ่งระบุ “มันน่าจะใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ในการตั้งหลักอีกครั้ง แต่ยังไงเราก็ไม่กังวลว่าการแทรกแซงครั้งนี้จะมีผลต่อตลาดยาวนานมากนัก”
ผู้จัดการกองทุนหลายคนได้เริ่้มเห็นผลขาดทุนพลิกเป็นกำไรบ้างแล้วหลังจากเงินเยนเริ่มกลับเข้าสู่แนวโน้มการแข็งค่าอีกครั้ง อย่างไรก็ตามหลายคนเริ่มรู้สึกกระวนกระวายใจมากขึ้นเกี่ยวกับความเสี่ยงจากการแทรกแซงเพิ่มเติม นายนาโอโตะ คัง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าววานนี้ (16 กันยายน 2010) ว่า รัฐบาลของเขาพร้อมที่จะใช้ “มาตรการขั้นเด็ดขาด” อีกเพื่อให้เงินเยนอ่อนค่าหากจำเป็น
บรรดาเทรดเดอร์ที่บริหารเงินในนามลูกค้าหรือ Discretionary Trader ขณะนี้กำลังดูถึงโอกาสการแทรกแซงเพิ่มเติมหรือแม้แต่ความเสี่ยงจากการแทรกแซงซึ่งได้ทำให้เฮดจ์ฟันด์หลายแห่งที่พึ่งแบบจำลองจากคอมพิวเตอร์คุกเข่ายอมจำนนมาแล้ว แหล่งข่าวจากโบรกเกอร์ระบุ
ในทั้ง 2 กรณี (การแทรกแซงเพิ่มเติมและความเสี่ยงจากการแทรกแซงจนเงินเยนอ่อนยวบจนหลายแห่งขาดทุน) เฮดจ์ฟันด์หลายแห่งที่ใช้กลยุทธ์การซื้อขายที่เน้นฉกฉวยโอกาสในระยะสั้นได้เริ่มมองหาโอกาสจากการแทรกแซงค่าเงินเยนของรัฐบาลญี่ปุ่นแล้ว การแทรกแซงเพิ่มเติมโดยรัฐบาลสามารถหยิบยื่นโอกาสในการไล่ซื้อเงินเยนได้ท่ามกลางเหตุการณ์ที่รัฐบาลอาจล้มเหลวในการฝืนแนวโน้มตลาด
“การพยายามจัดการกับตลาดในแนวทางนี้ไม่จำเป็นต้องได้ผลเสมอไป หากคุณทำผิดจังหวะเวลา นั่นจะยิ่งเร่งให้แนวโน้มตลาดที่เป็นอยู่แย่กว่าเดิมมากกว่าที่จะทำให้เกิดการกลับทิศของตลาด” เทรดเดอร์รายหนึ่งจากเฮดจ์ฟันด์ที่เชี่ยวชาญกลยุทธ์โกลบอลแมโครให้ความเห็นกับไฟแนนเชียลไทม์ “ลองดูสิ่งที่เกิดขึ้นกับอังกฤษในปี 1992″ เขากล่าวเพิ่มเติม โดยอ้่างถึงการออกจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนยุโรปหรือ ERM (Exchange Rate Mechanism) ของเงินปอนด์ จากความผิดพลาดในการแทรกแซงค่าเงินของธนาคารกลางอังกฤษที่ล้มเหลวในการรั้งไม่ให้ค่าเงินปอนด์ร่วงลงมาได้
ที่มา Financial Times