จีนรุกต่อเนื่อง(อีกแล้ว)แนวรบสื่อโลกในตะวันออกกลาง
โลกการเงินยังคงสับสนวุ่นวายจนเป็นเรื่องปกติไปแล้วในชีวิตประจำวันของมนุษย์ในยุคทุนการเงินล้างโลก
ต่างฝ่ายต่างใช้เกมกดดัน
ต่อรอง ข่มขู่
และทำลายล้างซึ่งกันและกันในสงครามค่าเงินทั้งแนวรบในตลาดผ่านผู้เล่นที่กุมเงินมหาศาลของแต่ละฝ่าย
และผ่านกลไกของฝ่ายการเมืองที่ต่างออกมาพูดข่มขู่และดวลหมัดกันวันต่อวัน
จนถึงการใช้กลไกทางรัฐสภาบีบให้ฝ่ายตรงข้ามยอมจำนน
ซึ่งตอนนี้สงครามค่าเงินที่เป็นแกนกลางของพลวัตสงครามค่าเงินของโลกก็คือ
สงครามค่าเงินที่สหรัฐฯและยุโรปในฐานะที่เป็นตัวแทนอำนาจของทุนการเงินตะวันตกปะทะกับจีนในเวลานี้
และได้แผ่ขยายกระทบต่อเงินตราสกุลอื่นๆไปด้วย
แต่ตามหลักIPEหรือ
เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ(International
Political Economy)ที่ว่าด้วยการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ของผู้เล่นต่างๆเช่น
รัฐ ในเกมแห่งอำนาจแล้ว
เกมการเงินเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการต่อสู้ทางอำนาจ
การที่มหาอำนาจใดๆจะดำรงไว้ซึ่งโครงสร้างอำนาจโลกที่ตัวเองครอบงำอยู่หรือการพยายามต่อกรกับมหาอำนาจเดิมของมหาอำนาจใหม่ๆนั้น
ย่อมมีเครื่องมืออื่นๆในการสนับสนุนหรือเสริมกับเครื่องมืออำนาจอื่นๆด้วย
และในยุคที่การสื่อสารไร้พรมแดนเช่นนี้คงไม่สามารถปฏิเสธอำนาจอีกชนิดหนึ่งได้นั่นก็คือ
อำนาจในการครอบงำสื่อ
ซึ่งสื่อนั้นนอกจากจะเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการปลูกฝังแนวคิดหรือค่านิยมต่างๆในกลุ่มเป้าหมายแล้ว
ยังใช้เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพลหรืออำนาจทางตลาดได้ด้วยผ่านการยึดครอง
“พื้นที่ทางความคิดของลูกค้า”
ซึ่งอาจสอดแทรกเรื่องการเมืองไปอีกที
และอำนาจสื่อเองก็มีลักษณะของการมีมิติของ
“รัฐ” คือ อำนาจทางการเมือง
และ “ตลาด” คือ อำนาจทางเศรษฐกิจไปในตัว
ซึ่งแม้เป็นสื่อเอกชนก็อาจมีการทำงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายบางอย่างของอำนาจรัฐได้เช่นเดียวกัน
ตะวันออกกลางและโลกมุสลิมถือเป็นศูนย์กลางความขัดแย้งที่รุนแรงจุดหนึ่งของโลก
แต่ในขณะเดียวกันตะวันออกกลางและโลกอิสลามก็มีมิติของพลังอกำนาจทางเศรษฐกิจที่มีศักยภาพขุดหนึ่งของโลกเช่นกันนอกเหนือจากมิติทางความมั่นคง
ตะวันออกกลางและโลกมุสลิมกุมความมั่งคั่งในรูปของสำรองน้ำมันและแร่ธาตุสำคัญอื่นๆไว้มาก
กุมทรัพยากรทางการเงินในทั่วมทุกมุมโลก
และเป็นอนาคตที่สำคัญต่อความอยู่รอดของระบบการเงินโลกในฐานะ
“ที่มั่นสุดท้าย”
เพราะเป็นศูนย์กลางของธุรกิจการเงินอิสลาม
จึงไม่น่าแปลกใจที่ตะวันตกเองจะพยายามกลับมามองตะวันออกกลางบ้าง
ที่ผ่านมาค่ายตะวันตกที่นำโดยสหรัฐฯมีภาพพจน์ติดลบมากเพราะในช่วงสงครามต่อต้านการก่อการร้ายได้ใช้เกมสื่อเล่นสกปรกทำแสบกับคนอาหรับและชาวมุสลิมไว้มาก
แต่ดูเหมือนว่าตอนนี้เมื่อบริบทเปลี่ยนไปจากการที่อาหรับและโลกมุสลิมมีพลังสูงขึ้นในทุกๆด้านและจีนเองกำลังผงาดขึ้นมาและค่อยๆคืบคลานเข้ามาในตะวันออกกลางและโลกมุสลิม
ทำให้ดูเหมือนว่าในรบในด้านต่างๆรวมทั้งสื่อจะเริ่มระอุขึ้นมาอีกครั้งแล้ว
หลังจากร้างราไปนาน
สื่อตะวันตกเองเริ่มเข้ามาปักหลักในตะวันออกกลางอีกครั้งหนึ่งแล้ว
ตลาดสื่อสารมวลชนรวมถึงโลกออนไลน์ในตะวันออกกลางและโลกอาหรับถือว่ามีการเติบโตสูงและมีอนาคตที่ดี
ดังนั้นแล้วจึงไม่แปลกใจที่กลุ่มทุนตะวันตกจะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในดินแดนที่ตัวเองเคยย่ำยีเอาไว้อย่างเจ็บแสบ
ทั้งนี้เพราะ
ผลกำไรมันไม่เข้าใครออกใครอยู่แล้ว
มันเป็น “สันดาร” ที่ปกติอยู่แล้วของทุน
ล่าสุดสถานี BSkyBของอังกฤษกำลังเจรจากับกลุ่มทุนในอาบูดาบีเพื่อเตรียมเปิดสถานีข่าว24ชั่วโมงเป็นภาษาอาหรับ
BskyB นั้นไม่ใช่ใครอื่นไกลแต่เป็นบริษัทในเครือของตระกูลMurdochซึ่งเป็นเจ้าของกลุ่มทุนสื่อที่ทรงอิทธิพลที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลกนั่นคือ
บริษัท News
Corp ซึ่งเป็นเจ้าของสถานีFox
News ซึ่งรายงานข่าวในช่วงเหตุการณ์11กันยายน2001อย่างฉับไว
และเป็นหนึ่งในเครื่องมือสร้างภาพพจน์ลบๆให้คนในโลกอิสลามเช่นเดียวกับCNNในช่วงสงครามต่อต้านการก่อการร้าย
และที่น่าตลกที่สุดก็คือ
บริษัทนี้มีผู้ถือหุ้นใหญ่อีกคนนั่นคือ
เจ้าชาย Al
Waleed แห่งราชวงศ์ซาอุดิอาระเบียซึ่งถือหุ้นใหญ่อันดับ2กว่า7%
(ข้อมูลจากThomson
Reuters Knowledge วันที่26กันยายน2010)แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งของกลุ่มทุนครอบโลกของสหรัฐฯและราชวงศ์ซาอุฯ
ซึ่งแน่นอนพอเรื่องธุรกิจกลุ่มทุนก็พร้อมที่จะปรับจุดยืนตัวเองตลอดอยู่แล้วโดยไม่สนอะไรทั้งสิ้น
แต่นอกจากสื่อตะวันตกแล้ว
จีนเองก็ยังคงรุกคืบในสงครามสื่อโลกอย่างเงียบๆ
โดยหากมองกลยุทธ์ของจีนในตอนนี้ก็คงมี2ส่วนก็คือGlobalizationและLocalizationโดยกลยุทธ์ด้านMedia
Globalization นั้นเป็นการต่อกรกับการสร้าง
“วาระของโลก” หรือ “Global
Agenda” กับสื่อครอบโลกของตะวันตก
โดยพยายามเสนอทางเลือกของการบริโภคสื่อให้กับคนทั่วโลกผ่านความสำคัญที่มากขึ้นในทุกๆด้านของจีนผ่านสื่อต่างๆของรัฐ
ทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์
ซึ่งล่าสุดจีนได้เปิดตัวสถานีCNC
World ไปเมื่อ1กรกฎาคม
ที่ผ่านมา ซึ่งจะออกอากาศ24ชั่วโมงไปทั่วโลก
เป็นช่องทางสื่อสารใหม่นอกจากสถานีCCTVเดิม
เพื่อรายงานข่าวตอบโต้กับสถานีโทรทัศน์ของตะวันตก
นอกจากนั้นแล้วจีนก็ได้ใช้การทำMedia
Localization กับสื่อของตัวเองในการเจาะเข้าไปในตลาดต่างๆด้วย
โดยสถานีโทรทัศน์และเว็บไซต์สำนักข่าวอย่างซินหัวซึ่งเป็นแกนกลางในการผลิตข้อมูลข่าวสารและชุดความคิดของรัฐบาลจีนจะมีการรายงานข่าวแปลเป็นภาษาต่างๆในแต่ละพื้นที่ไปในตัว
โดยทั้งสถานี CNCและสำนักข่าวซินหัวจะมีการรายงานเป็นภาษาหลักต่างๆทั้งอังกฤษ
จีน อาหรับ ฝรั่งเศส สเปน
โปรตุเกส รัสเซีย ญี่ปุ่น
เพื่อสื่อสารกับคนทั้งโลก
กลยุทธ์นี้จะทำให้จีนเข้าถึงคนท้องถิ่นได้มากกว่าการรายงานแต่ภาษาอังกฤษอย่างเดียว
และนอกจากจีนจะรุกทางด้านสื่อโทรทัศน์แล้ว
จีนยังมีการเจาะเข้าไปยังสื่ออื่นๆด้วยทั้งอินเตอร์เน็ต
โทรศัพท์มือถือ และสิ่งพิมพ์
และล่าสุดจีนมีการเปิดตัวนิตยสารChina
Today ฉบับภาษาเติร์กซึ่งเริ่มว่างแผงตั้งแต่1กันยายนที่ผ่านมา
ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือ
นอกจากจีนจะทำการส่งเนื้อหาของตัวเองแปลเป็นภาษาเติร์กแล้ว
จีนยังให้คนตุรกีได้มีโอกาสเขียนข่าวและเนื้อหาของตัวเองรวมถึงเรื่องจีนในมุมมองของคนตุรกีด้วย
ซึ่งตรงนี้นอกจากจีนจะสามารถทำการสื่อสารโดยตรงแบบเจาะลึกที่สุดแล้ว
จีนได้เปิดโอกาสให้มีการสื่อสาร2ทางระหว่างคนในท้องถิ่นกับประเทศจีนด้วย
นั่นแสดงให้เห็นถึงกลยุทธ์ในการสร้างวาระของโลกโดยจีนที่ไม่ธรรมดา
ซึ่งที่แล้วๆมาสื่อตะวันตกจะใช้กลยุทธ์การผูกขาดช่องทางการสื่อสารแล้วยัดเยียดเนื้อหาไปให้คนดูเลย
แต่กรณีของจีนนั้นจะใช้การผสมผสานกันทั้งการสื่อสารครั้งเดียวผ่านเครือข่ายไปทั่วโลกในสื่ออย่างโทรทัศน์
อินเตอร์เน็ต
และหนังสือพิมพ์ใหญ่ๆที่เน้นความเป็นสากลนิยม
นอกจากนั้นแล้วจีนจะมีขั้นที่2ของการสื่อสารโดยการเข้าไปเคาะประตูถึงท้องถิ่น
ทำการย่อยเนื้อหาลงมาจากวาระของโลกมาเป็น
“วาระของชาติ” หรือ “National
Agenda” ที่เป็นจุดร่วมของทั้ง2ฝ่าย
ซึ่งในเรื่องของวาระของชาติในแต่ละที่นั้นสื่อครอบโลกตะวันตกไม่ได้เน้นหนักเท่าไร
ขณะเดียวกันการที่จีนเปิดให้มีการสื่อสารจากคนท้องถิ่นจะทำให้จีนรับทราบข้อมูลโดยตรงจากคนท้องถิ่นทั้งเรื่องภายใน
รวมถึงทัศนะของท้องถิ่นที่มีต่อจีน
ซึ่งจีนสามารถประเมินของอารมณ์ผู้คนในแต่ละพื้นที่เพื่อนำไปปรับกับการสร้างกลยุทธ์การสื่อสารระหว่างจีนกับท้องถิ่นเองรวมถึงการนำไปปรับในการสื่อสารระดับโลกด้วย
ตรงนี้คาดว่าในอนาคตจีนคงมีการทำตลาดสื่อสารมวลชนผ่านช่องทางอื่นๆด้วย
โดยผ่านการหาหุ้นส่วนในพื้นที่
ในอนาคตการขับเคี่ยวของสงครามสื่อระหว่างจีนกับมหาอำนาจตะวันตกทั้งในตะวันออกกลางและทั่วโลกคงมีการขับเคี่ยวกันดุเดือดกว่านี้
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1913 ครั้ง