สำหรับประเทศที่มีดัชนีความเสี่ยงที่จะเกิดการโจมตีของผู้ก่อการร้ายอันดับ 1 ยังคงเป็นอิรัก รักษาตำแหน่งเดิมจากปีที่แล้ว ถึงแม้ความมั่นคงในอิรักจะดีขึ้น แต่ผลกระทบต่อมนุษย์และการถูกโจมตีบ่อยครั้ง ทำให้อิรักเป็นประเทศที่เสี่ยงที่สุดสำหรับความรุนแรงทางการเมือง หลังมีพลเรือนถูกสังหารไปเกือบ 4,500 คน ในปี 2009 และยังมีความกังวลต่อความรุนแรง เช่นเดียวกับในอัฟกานิสถาน ขณะที่ทั้ง 2 ประเทศนี้กำลังเผชิญเป้าหมายสำคัญในการเข้าสู่ภาวะที่มีเสถียรภาพให้ได้ภายในปี 2010
ขณะที่ประเทศไทย เมเปิลครอฟต์ให้เหตุผลว่า สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนทางภาคใต้ของไทย คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้อันดับความเสี่ยงของประเทศไทยกระโดดขึ้นมาถึง 2 อันดับ เช่น เหตุลอบวางระเบิดที่สุไหง-โกลก เมื่อปี 2009 ประชาชนมากกว่า 3,900 ราย ถูกสังหารในช่วงระยะเวลา 6 ปี แห่งความไม่สงบทางภาคใต้ของไทย ที่กล่าวโทษว่าเป็นฝีมือของกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่ที่มีชายแดนติดกับมาเลเซีย
ทั้งนี้ ประเทศที่มีความเสียงจากการก่อการร้าย อันดับ 2 ได้แก่ อัฟกานิสถาน อันดับ 3 ปากีสถาน อันดับ 4 โซมาเลีย เลบานอน อยู่อันดับที่ 5 อินเดีย อันดับ 6 แอลจีเรีย อันดับ 7 โคลัมเบีย อันดับ 8 และไทย อันดับ 9
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1377 ครั้ง