สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ. รายงานสรุปยอดผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 10 – 30 ตุลาคม พบว่า มีรายงานยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเข้ามาอีก 6 ราย รวมเป็นทั้งสิ้น 100 ราย จากพื้นที่ประสบอุทกภัย 20 จังหวัด โดยเป็นผู้ชาย 84 ราย หญิง 16 ราย
ทั้งนี้ หากแยกตามรายจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตจากจำนวน 20 จังหวัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า จ.นครราชสีมา ยังคงมียอดผู้เสียชีวิตมากที่สุด 18 ราย รองลงมาเป็น ลพบุรี 13 ราย นครสวรรค์ 12 ราย พระนครศรีอยุธยา 8 ราย บุรีรัมย์ 6 ราย นนทบุรี และสุพรรณบุรี จังหวัดละ 5 ราย ลพบุรี ขอนแก่น กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ จังหวัดละ 4 ราย ชัยนาท ชัยภูมิ
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคได้วิเคราะห์ผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยว่า ได้ส่งผลให้เกิดความเสียหาย เป็นวงเงินกว่า 20,000-22,000 ล้านบาท โดยเฉพาะ การท่องเที่ยว ที่กระทบถึง 600 ล้านบาท ทั้งนี้เชื่อว่าจะไม่ส่งผลต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ โดยคาดว่า เศรษฐกิจในปีนี้ จะขยายตัวเกินกว่าเป้าที่วางไว้ จากเดิม ร้อยละ 7.5 เป็น ร้อยละ 7.5-8 แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องของเงินทุนนอกประเทศที่จะไหลเข้าประเทศ ซึ่งตนขอเรียกร้องให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ดูแลค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้
นพ.บุรณัชย์ กล่าวอีกว่า รัฐบาล พร้อมรับข้อเสนอแนะของหลายฝ่าย เรื่องของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยเฉพาะความเห็นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่เสนอ 5 ข้อ แม้จะเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาวก็ตาม
นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ทั่วประเทศในขณะนี้ ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการดำรงชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก จึงได้สั่งการให้ กรมการค้าภายใน ตรวจสอบสถานการณ์ราคาสินค้าที่จำเป็น อาทิ สินค้าอุปโภคบริโภค เรือพาย เครื่องสูบน้ำ กระสอบทราย และส้วมฉุกเฉิน เนื่องจาก มีประชาชนร้องเรียนว่า ราคาสูงขึ้น และมีปริมาณไม่เพียงพอ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งอาหารสดและอาหารแห้ง ยารักษาโรค เช่น ยารักษาน้ำกัดเท้า และยาแก้ท้องเสีย ราคายังเป็นปกติ ไม่ได้มีการปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณมีเพียงพอ ส่วนเรือพาย ขณะนี้ผู้ผลิตหยุดรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า จนถึงเดือน พ.ย. เนื่องจาก กำลังการผลิตเต็ม โดยราคาจำหน่าย จากหน้าโรงงาน ขนาดคนนั่ง 1-2 คน ชนิดเรือพลาสติก หัวแหลมท้ายตัด ราคาลำละ 2,300-2,500 บาท
นอกจากนี้ ได้ขอความร่วมมือจากร้านอาหารมิตรธงฟ้า ที่มีอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ นำอาหารปรุงสำเร็จไปแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอีกทางหนึ่งด้วย
นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในภาพรวม ณ ปัจจุบันแนวโน้มปริมาณน้ำที่จังหวัดนครสวรรค์ ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังไหลลงมาสมทบกับแม่น้ำเจ้าพระยาทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในเกณฑ์มาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจในวันที่1 พฤศจิกายน 2553 เพื่อพิจารณามาตรการช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมด้านการเกษตร กรณีพิเศษ จากเดิมตามหลักเกณฑ์วิธีปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินพ.ศ. 2552 จะนำเอาเฉพาะค่าปัจจัยการผลิต คือ ค่าพันธุ์และค่าปุ๋ยมาคำนวณและกำหนดเกณฑ์ให้ความช่วยเหลือนาข้าวอัตรา 606 บาทต่อไร่ พืชไร่ อัตรา837 บาทต่อไร่ และพืชสวน 912 บาทต่อไร่ นั้นจะเสนอปรับเปลี่ยนให้นำเอาต้นทุนการผลิตมาคิดเป็นฐาน เพื่อให้การชดเชยสูงขึ้นจากเดิมด้วย รวมถึงยังจะเสนอขยายเกณฑ์การช่วยเหลือให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของประมงและปศุสัตว์ อาทิ จากเดิมตามหลักเกณฑ์วิธีปลีกย่อยฯพ.ศ. 2552 ที่การชดเชยกรณีโค กระบือ ตายหรือสูญหายจะให้ความช่วยเหลือตามจำนวนที่เสียหาย แต่ไม่เกินรายละ 2 ตัว หรือไก่ไข่ไก่พันธุ์ ตายหรือสูญหาย จะให้ความช่วยเหลือตามจำนวนที่เสียหายแต่ไม่เกินรายละ 1,000 ตัว แต่ในกรณีพิเศษนี้ วางแนวทางไว้ว่าจะช่วยเหลือร้อยละ 50ของจำนวนที่เสียหายเกินหลักเกณฑ์ที่กำหนดด้วย
สำหรับแนวทางความช่วยเหลือแก่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจะใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)ที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ ได้แก่กรณีเกษตรกรลูกค้าเสียชีวิตจากอุทกภัยจะจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญกรณีเกษตรกรลูกค้าประสบภัยอย่างร้ายแรงและไม่เสียชีวิต แบ่งออกเป็น 2กรณี คือ หนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่ก่อนประสบภัยให้ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2553 – 2555งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2553 – 2555
ส่วนการจ่ายเงินชดเชย จะนำเงินเข้าบัญชีของเกษตรกรแต่ละรายโดยกระทรวงเกษตรฯ จะเร่งเข้าสำรวจความเสียหายทันทีภายหลังน้ำลดโดยได้กำชับทุกหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือฟื้นฟูให้ปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนเพื่อดำเนินการส่งความช่วยเหลือให้ถึงมือเกษตรกรโดยเร็วที่สุด
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1999 ครั้ง