วันที่ 2 พ.ย. เวลา 07.00 น. นพ.สุรชัย ลำเลิศกิตติกุล รักษาการ ผอ.รพ.หาดใหญ่ เปิดเผยว่า น้ำได้เอ่อขึ้นมาที่พื้นรพ.แล้ว ระดับเหนือหัวเข่า ขณะที่ถนนหน้ารพ.อยู่ที่ระดับหน้าอก ฝนหยุดตกมา 5 ชั่วโมงแล้วแต่น้ำยังไหลมาเรื่อยๆและไหลแรง ระดับน้ำจะยังสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้ทางรพ.ได้อพยพคนไข้ที่อยู่ชั้นล่าง จากชั้น 1 ไปชั้น 5 ทั้งหมดแล้ว คนไข้ในรพ.ทีทั้งหมด 559 คน ญาติ 662 คน นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่และแพทย์อีก
สำหรับสถานการณ์ในพื้นที่ อ.สทิงพระ อ.ระโนด จ.สงขลา มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากแรงลมพายุดีเปรสชั่นกรรโชก ส่งผลให้หลังคาบ้านเรือนประชาชนปลิวว่อน กระจกประตู หน้าต่างแตกจำนวนหลายหลัง รวมถึงต้นไม้ พืชผล สิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ได้รับความเสียหายจำนวนมาก ในเบื้องต้นยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ ขณะเดียวกันการติดต่อสื่อสารในพื้นที่ดังกล่าวก็ไม่สามารถติดต่อหากันได้ แต่ต่อมาได้แก้ไขจนสามารถติดต่อกันได้
“ลมพายุกรรโชกแรงมาก ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นและประสบเหตุมาก่อน ชาวบ้านในพื้นที่ต่างตกใจและหวาดกลัวกันมาก”ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าว
ส่วนพื้นที่ อ.เมืองสงขลาก็ประสบเหตุลมพายุกรรโชกแรง ส่งผลให้ศาลากลางจังหวัดสงขลา กระจกแตกจำนวนมาก รวมไปถึงบ้านเรือนประชาชนด้วย ต้นไม้หักโค่นหลายต้น อีกทั้งกระแสไฟฟ้าก็ถูกงดปล่อยกระแสไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว ส่งผลให้พื้นที่ตัวเมืองสงขลาอยู่ในความมืด
ที่จ.สุราษฎร์ธานีมีน้ำท่วมขังรวมทั้งในเขตตัวเมืองสุราษฎร์ธานีโดยในพื้นที่ เขตเทศบาลนคร สุราษฎร์ ธานีถนนหลายสายถูกน้ำท่วมขังเนื่องจากระบายไม่ทันประกอบกับที่ฝนตกหนักตลอด ทั้งคืน จึงทำให้น้ำท่วมสูงโดยที่โรงเรียนหลายแห่งประกาศปิดไม่มีกำหนด
ขณะที่เรือโดยสารกลางคืนข้ามฟากไปเกาะสมุย เกาะพะงันและเกาะเต่าได้งดเดินเรือตั้งแต่เมื่อคืนแล้วเนื่องจากในท้องทะเลมีคลื่นลมแรง
ส่วน ตามอำเภอรอบนอกที่ถูกน้ำท่วมขังส่วนใหญ่น้ำท่วมถนนภายในหมู่บ้านเช่นกัน รวมทั้งบ้านเรือนราษฎรที่อยู๋ในที่ราบลุ่ม ส่วนใหญ่ได้อพยพขนย้ายข้าวของตั้งแต่เมื่อวานแล้ว ไปอยู่ในที่ปลอดภัย
ทางจังหวัดพัทลุง เจ้าหน้าที่แขวงการทางเร่งตัดต้นไม้ที่ล้มกีดขวางเส้นทางจราจรบนถนนสายเอเซียตลอดสายหลังพายุดีเปรสชั่นพัดถล่มในช่วงกลางดึกที่ผ่านมา นอกจากนั้นพายุดังกล่าวยังผลให้ภาวะน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตร ในจังหวัดพัทลุงขยายวงกว้างเพิ่มขึ้นเฉลี่ยระดับน้ำอยู่ที่ 1 – 2 เมตร ถนนในหมู่บ้านหลายสายถูกตัดขาด ถนนสายเอเชีย ช่วงพัทลุง – หาดใหญ่ ทั้งขาขึ้นและขาล่อง มีน้ำไหลผ่านเป็นช่วง ในขณะที่ถนนสายเพชรเกษม พัทลุง – ตรัง ช่วงขาขึ้น จากบ้านนาท่อม – บ้านคลองลำยูง มีน้ำท่วมสูงยาวกว่า 1 กม. รถเล็กไม่สามารถสัญจรได้ เจ้าหน้าที่ต้องเปิดใช้เส้นเส้นทางจราจรขาเดียว
นอกจากนั้นยังได้รับรายงานบ้านเรือนราษฎรถูกพายุพัดต้นไม้หักโค่นทับบ้านราษฎรได้รับความเสียหายไปกว่า 2,000 ครัวเรือน โดยเฉพาะในพื้นที่หมู่ที่ 9 ต.พญาขัน อ.เมืองพัทลุง สองแม่ลูกหลับภายในบ้านถูกต้นไม้หักโค่นทับได้รับบาดเจ็บสาหัส เพื่อนบ้านต้องนำส่ง รพ.พัทลุง ล่าสุดอาการปลอดภัย
จังหวัดตรัง ฝนตก 3 ฝัน 3 คืน ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังขึ้นใน 5 อำเภอแล้ว ได้แก่ อำเภอเมือง มีพื้นที่ได้รับความเสียหาย 3 ตำบล อำเภอห้วยยอด มีพื้นที่ได้รับความเสียหาย 2 ตำบล อำเภอรัษฎา มีพื้นที่ได้รับความเสียหาย 2 ตำบล อำเภอย่านตาขาว มีพื้นที่ได้รับความเสียหาย 8 ตำบล และอำเภอนาโยง มีพื้นที่ได้รับความเสียหาย 5 ตำบล รวมประชาชนได้รับความเดือดร้อนแล้วประมาณ 1,000 ครัวเรือน บ้านเรือน สัตว์เลี้ยง และพื้นที่ทางการเกษตร ได้รับความเสียหายมากพอสมควร โดยเฉพาะในเขตพื้นที่อำเภอนาโยง ซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากน้ำที่เอ่อล้นลงมาจากเทือกเขาบรรทัด ได้ไหลลงมาเข้าท่วมถนนสายตรัง-พัทลุง ในหลายช่วง โดยเฉพาะที่บริเวณตลาดเทศบาลตำบลนาโยงเหนือ ระดับน้ำสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านไปมาได้ ทำให้การเดินทางไปมาระหว่างจังหวัดตรัง กับจังหวัดพัทลุง ต้องถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง ส่งผลกระทบสถานที่ราชการ ร้านค้า และบ้านเรือนในชุมชนหลายแห่ง เจ้าหน้าที่ทางราชการการต้องระดมกำลังเข้าไปช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
นายสมชาย ใบม่วง รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า 3-4 วันที่ผ่านมา ฝนตกมากกว่า 500 มิลลิเมตร ตกทั่วทุกอำเภอของสงขลา ตกมากกว่า ปี 43 พายุเคลื่อนตัวเข้าพัทลุง ตอนนี้อยู่ที่กระบี่ และในเวลา 08.00-09.00 น พายุจะเคลื่อนตัวเข้าภูเก็ตแล้วลงทะเลอันดามัน จากนั้นวันที่ 3 พย.จะเคลื่อนออกไป
สำหรับหมายเลขติดต่อหน่วยงานสำคัญในจังหวัดสงขลา
– สายตรง นายวิญญู ทองสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ศาลากลางจังหวัดสงขลา ถ.ราชดำเนิน อ.เมือง จ.สงขลา 90000 โทรศัพท์ 0-7432-3874, 0-7431-3126 โทรสาร(FAX) 0-743-13126
– ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 12 สงขลา 418 ม.6 ถ.สายสนามบิน ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ 90110 โทรศัพท์ 0-7425-1160-3 โทรสาร(FAX) 0-7425-1166
– สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา อาคารศาลาประชาคม ถ.ราชดำเนิน อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา 90000 โทรศัพท์ 074-31-6380-2 โทรสาร(FAX) 0-7431-6382
– องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา 074-303100
– เทศบาลนครหาดใหญ่ สายด่วนกุญชร 1559
– เทศบาลเมืองคอหงส์ 074-280004
– เทศบาลเมืองคลองแห 074-580888 สายด่วน 1132
– อ.เบตง จ.ยะลาเปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว ออกช่วยเหลือประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง โทรศัพท์ 073-230478
– ศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยเทศบาลนครหาดใหญ่ โทร. 074 200 000, 074 200 007 หรือสายด่วน 1559
อุบัติเหตุ ฉุกเฉิน ขอความช่วยเหลือ
– ศูนย์วิทยุกู้ภัยมิตรภาพสามัคคีท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง 074-350955
– ศูนย์นเรนทร สงขลา 1669
สถานีวิทยุที่รายงานสถานการณ์น้ำท่วม
– สถานีวิทยุ มอ. เอฟเอ็ม 88.0 ฟังออนไลน์ http://www.facebook.com/l/5f86dNYeaF9npbWLvFmrUGoSoxw;www.psuradio88.com/
– สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดสงขลา เอฟเอ็ม 90.50 โทรศัพท์ 0-7433-3220-1 โทรสาร 0-7433-3555 ฟังออนไลน์ http://www.facebook.com/l/5f86dw-I9J2nap8K2QQWc3YvpIQ;region6.prd.go.th
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม ประสานงานเหตุอุทกภัย
– ศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ติดต่อ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร 1784
– ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ต้องการความช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วม โทร.1555 และ 0 2248 5115 ตลอด 24 ชั่วโมง
– ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย จ.นครราชสีมา โทร 044-342-652 ถึง 4 และ 044-342-570 ถึง 7
– ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ โทรฟรี 1669 หรือ 02-591-9769 ตลอด 24 ชั่วโมง
– สอบถามเส้นทางรถไฟ และเวลาเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร 1690
– สอบถามสภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร 02-398-9830
– กฟภ.ตั้งศูนย์ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 นครราชสีมา โทร.044214334-5 หรือ CallCenter1129
– สอบถามน้ำท่วม ถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่โทร 044-242047 ต่อ 21, 044-212200, 037-211098, 036-461422, 036-211105 ต่อ 24
การเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติน้ำท่วม
1. หมั่นติดตามข่าวสาร และประกาศเตือนทุกช่องทาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เสาสัญญาณ เป็นต้น
2. เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง แก๊ชสำหรับหุงต้ม ยารักษาโรค ไฟฉาย เทียน ไม้ขีดไฟ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อเอาตัวรอดในยามน้ำท่วม
3. เตรียมกระสอบทรายไว้เพื่อทำผนังกั้นน้ำ (แต่ห้ามวางไว้พิงกำแพง เพราะจะเพิ่มแรงดันให้น้ำทะลักเข้ามาได้ง่าย)
4. หมั่นทำความสะอาดพื้น ไม่ให้มีของอันตรายหากเกิดน้ำท่วมสูง
5. เก็บของมีค่า และสัตว์เลี้ยง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ไปไว้ชั้นบนของบ้าน
6. เตรียมเบอร์ติดต่อ หน่วยงานของรัฐ เผื่อต้องการความช่วยเหลือ
7. ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม
8. หากเกิดน้ำท่วมให้หนีขึ้นที่สูง และปิดวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
9. พยายามหาส่วนแห้งเพื่อหลบภัย และป้องกันไฟดูด
10. ห้ามรับประทานน้ำที่ท่วมสูง หากขาดแคลนน้ำดื่ม ให้ต้มก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคระบาด
11. หากน้ำท่วมไม่สูงมาก ให้ระวังการใช้รถใช้ถนน และดูแลเด็กเล็กไม่ให้ออกจากบ้าน
12. ระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที
13. เตรียมน้ำสะอาดไว้ดื่ม และชำระร่างกาย
14. เตรียมถุงดำเล็ก – ใหญ่ ไว้ทิ้งขยะและปลดทุกข์
15. เตรียมอุปกรณ์สำหรับขอความช่วยเหลือ เช่น นกหวีด ชูชีพ
16. หากน้ำท่วมเป็นเวลานาน อาจเกิดแผ่นดินทรุดตัวได้ แนะนำให้อยู่ห่างตึกหรืออาคารสูงๆ
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1669 ครั้ง