ราคาอาหารยังคงพุ่งทำสถิติต่อเนื่อง ล่าสุดวิ่งเข้าสู่ระดับเดียวกับช่วงวิกฤติอาหารโลกปี 2007-2008 หลังจากราคาอาหารพุ่งขึ้นหนักในช่วงเดือนตุลาคมจากการแถลงของเอฟเอโอวานนี้ (2 พฤศจิกายน 2010)
การพุ่งขึ้นครั้งนี้จะทำให้ความตื่นกลัวเกี่ยวกับการกลับมาของการจลาจลอาหารครั้งใหญ่ทั่วโลกในปี 2008 ซึ่งก่อให้เกิดวิกฤตหนักในประเทศยากจนทั้งหลายตั้งแต่บังคลาเทศจนถึงเฮติ
ต้นทุนสินค้าเกษตรสูงขึ้นนี้จะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคในประเทศร่ำรวยด้วย โดยบริษัทอาหารเช่นแมคโดนัลด์และคราฟท์ได้ประกาศออกมาแล้วว่าจะมีการขึ้นราคาในปี 2011
“สถานการณ์แย่ลงอย่างรวดเร็ว” นายอับโดลเรซ่า อับบาสเซน นักเศรษฐศาสตร์ประจำเอฟเอโอในกรุงโรมให้สัมภาษณ์กับไฟแนนเชียลไทม์ พร้อมกล่าวเสริมอีกว่า ราคาในตอนนี้ “กำลังเข้าใกล้ระดับเดียวกับปี 2008”
เอฟเอโอกล่าวว่า ดัชนีราคาอาหาร ซึ่งประกอบไปด้วยตะกร้าของสินค้าต่างๆทั้งข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว เมล็ดพืชน้ำมัน (oilseed) ผลิตภัณฑ์นม น้ำตาล และเนื้อ ได้พุ่งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมมาอยู่ที่ 197.1 จุด โดยพุ่งขึ้นเกือบ 5% จากเดือนกันยายน และถือเป็นระดับสูงที่สุดในรอบกว่า 2 ปี
ดัชนีของเอฟเอโอขณะนี้ได้ทะลุระดับราคาในช่วงเริ่มต้นของวิกฤตอาหารในปี 2007 ไปแล้ว และตอนนี้ก้ต่ำกว่าแค่ช่วงสูงสุดระหว่างเดือนกุมภาพันธ์และกรกฎาคม 2008 เท่านั้น
“โอกาสที่สถานการณ์จะดีขึ้นมีอยู่น้อยมาก” นายอับบาสเซนกล่าว โดยคำพูดของเขาตอนนี้สอดคล้องกับมุมมองส่วนใหญ่ของบรรดานักค้าโภคภัณฑ์เกษตรในตลาด
จนกระทั่งไม่นานมานี้ เอฟเอโอได้เคยทำนายว่าราคาอาหารจะลดลงเร็วๆนี้ แต่ ณ ตอนนี้บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงในหลายๆประเทศเริ่มกังวลว่า ระดับราคาที่สูงนี้จะต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้าหรือแม้แต่พุ่งสูงขึ้นกว่าเดิม การเพาะปลูกข้าวสาลีในภุมิภาคที่ถือเป็น “ตะกร้าขนมปัง” ที่อุดมสมบูรณ์ในแถบทะเลดำยังคงต่ำกว่าที่ตาดไว้มาก ส่งผลให้มีการคาดการณ์กันถึงผลผลิตที่จะตกต่ำต่อเนื่องในปี 2011 ด้วย
ล่าสุด รัฐบาลรัสเซียได้ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ชาวนารัสเซียจะสามารถเพาะปลูกธัญพืชในฤดูหนาวได้ในปริมาณพื้นที่ 15.5 ล้านเฮคเตอร์ ลดลงจากการประมาณการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 18 ล้านเฮคเตอร์ รัสเซียได้ห้ามการส่งออกธัญพืชจนถึงกลางปี 2011 ขณะที่ยูเครนได้กำหนดโควตาการส่งออกสำหรับข้าวสาลี ข้าวโพด และข้าวบาร์เลย์
การพุ่งขึ้นต่อเนื่องของราคาอาหารโลกนั้นนำโดยราคาน้ำตาลซึ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 30 ปีวานนี้ รวมถึงราคาข้าวโพด ถั่วเหลือง และนมที่สูงขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม เอฟเอโอยังคงสบายใจกับราคาข้าวสาลีกับข้าวซึ่งโดยรวมยังคงนิ่งอยู่ ซึ่งถือว่าระดับราคาของ 2 ธัญพืชที่สำคัญกว่าในความมั่นคงอาหารโลกนี้ยังต่ำกว่าจุดสุงสุดตลอดกาลในช่วงวิกฤตมาก โดยข้าวสาลีและข้าวถือเป็นอาหารหลักของประชากรกว่า 5,000 ล้านคนในเอเชียและแอฟริกา
ในช่วงวิกฤตอาหารปี 2008 ราคาข้าวทะลุ 1,000 ตันต่อดอลลาร์ ถือเป็นจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ช่วงกลางปี 2008 ขณะที่ข้าวสาลีทำสถิติที่ 12.5 ดอลลาร์ต่อบูเชลช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2008 แต่ในขณะนี้ข้าวซื้อขายที่ 505 ดอลลาร์ต่อตันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ข้าวสาลีซื้อขายที่ระดับ 7 ดอลลาร์ต่อบูเชลวานนี้
ที่มา Financial Times
ขอบคุณภาพข่าวจลาจลอาหารในโซมาเลียพฤษภาคม 2008 จาก AFP