QE
2 : From Currency War to Global Monetary War
สุดท้ายแล้วธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟดก็ได้ออกมาตรการทางการเงินในรูปของการขยายงบดุลหรือQuantitative
Easing (QE) ออกมา
โดยบอกว่านับแต่เดือนพฤศจิกายน2010ถึง
มิถุนายน2011เฟดจะทำการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯในตลาดเป็นเงิน600,000ล้านดอลลาร์
นอกจากนั้นแล้วจะนำเงินที่เป็นดอกผลจากสินทรัพย์ที่เฟดถือต่ออีกราว250,000-300,000ล้านดอลลาร์มาลงทุนต่อด้วย
ทำให้เบ็ดเสร็จแล้ว มาตรการQEในรอบนี้มีมูลค่าที่แท้จริงอยู่ที่850,000-900,000ล้านดอลลาร์
ซึ่งนั่นหมายถึงสภาพคล่องจะทะลักเข้าสู่ระบบการเงินโลกเดือนละไม่ต่ำกว่า100,000ล้านดอลลาร์
ขณะเดียวกันการทำ QEในตอนนี้ก็ไม่จำกัดอยู่แค่ในสหรัฐฯเท่านั้น
แต่รวมถึงประเทศเจ้าของเงินสกุลหลักอื่นๆอย่างอังกฤษและญี่ปุ่นด้วย
โดยอังกฤษคงมาตรการ QEไว้ที่200,000ล้านปอนด์
ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศอัดเงินเข้าตลาดพันธบัตร5ล้านล้านเยนซึ่งถือว่ายังเป็นเงินจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านและขนาดเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเอง
ในทางปฏิบัตินั้นQE2เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้วหลังจากเฟดได้ออกมาบอกใบ้ถึงแนวโน้มในการอัดฉีดสภาพคล่องครั้งใหญ่
ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนครั้งใหญ่ออกจากสหรัฐฯเข้าสู่ยุโรปและประเทศเกิดใหม่ทั้งหลายส่งผลให้เงินดอลลาร์ร่วงลงอย่างรวดเร็ว
ราคาสินทรัพย์และค่าเงินยุโรปและประเทศเกิดใหม่แข็งค่ากันทั่วหน้าจนกระทั่งนายกุยโด้
มันเตก้า
รัฐมนตรีคลังบราซิลออกมาเตือนว่าตอนนี้กำลังเกิด
“สงครามค่าเงินระหว่างประเทศ”
ขึ้นโดยเขาซัดทอดไปยังประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น
“The
Old Big 4” ซึ่งล้วนแล้วเป็นแกนหลักขอลกลุ่มG7และเป็นเจ้าของเงินตราสกุลหลักได้แก่
สหรัฐฯ ยูโรโซน อังกฤษ
และญี่ปุ่น
ว่าไร้ความรับผิดชอบและเอาเปรียบประเทศอื่นด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ต่ำมากและพิมพ์เงินออกมาแบบไม่จำกัดจนประเทศอื่นเดือดร้อน
ความจริงปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้ไม่ได้อยู่ที่มาตรการQEเป็นหลัก
หากแต่เป็นความาต่อเนื่องของปัญหาระบบการเงินโลกซึ่งมีพลวัตเคลื่อนตัวต่อเนื่องในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ประเด็นของการพิมพ์เงินออกมาแล้วแข่งกันแทรกแซงค่าเงินเท่านั้น
แต่เป็นปัญหาของการช่วงชิงการนำในระบบการเงินโลกระหว่างกลุ่มThe
Old Big 4 ได้แก่
สหรัฐฯ ยูโรโซน อังกฤษ และ
ญี่ปุ่น และ The
New Big 4 ซึ่งก็คือ
ประเทศกลุ่ม BRICนั่นเอง
ทั้งนี้แกนหลักของปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่วิกฤตการเงินครั้งใหญ่ก็คือ
การเกิดความไม่สมดุลของการจัดการระบบเศรษฐกิจโลก(Global
Economic Governance Imbalance)ซึ่งมีศูนย์กลางของโครงสร้างอยู่ที่เงินสกุลหลักและระบบอัตราแลกเปลี่ยน(Global
Reserve Currency and Exchange Rate Regime)
ทั้งนี้เนื่องจากการทะยานขึ้นมาของกลุ่มBRICซึ่งมีเศรษฐกิจ
ภาคการค้า และ
ภาคการเงินที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วได้ก่อให้เกิดกระบวนการเคลื่อนตัวครั้งใหญ่ของศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก
ภายใต้ภาวะที่ประเทศเหล่านี้กลับต้องพึ่งพาและเดินตามกฎเกณฑ์และโครงสร้างสถาบันเดิมที่กลุ่มยักษ์ใหญ่เก่าทั้ง4ซึ่งนำโดยสหรัฐฯได้กำหนดเอาไว้
ผลที่เกิดขึ้นจึงกลายเป็นการพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วของทุนสำรองในประเทศกลุ่มBRICและประเทศเกิดใหม่ทั้งหลาย
ภายใต้สภาวะที่ประเทศเจ้าของเงินสกุลหลักกลับเป็นหนี้มากกว่าเดิมขณะที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัว
หลังจากวิกฤตการเงินปะทุขึ้น
สถานการณ์ในประเทศเจ้าของเงินสกุลหลักแย่ลงกว่าเดิมจากการเข้าไปอุ้มสถาบันการเงินและต้องอัดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ
ทำให้ภาระหนี้สาธารณะพุ่งขึ้นมหาศาล
ดังนั้นแล้วเมื่อภาระหนี้เพิ่มขึ้นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดภาระของรัฐบาลและกระตุ้นเศรษฐกิจและราคาสินทรัพย์ไปในตัวก็คือ
การทำ QEผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาล
ซึ่งผลที่ได้นั้นจะทำให้รัฐบาลกู้เงินได้ถูกลง
อัตราดอกเบี้ยลดลงทั้งระบบ
และเป็นผลดีต่อราคาสินทรัพย์ด้วย
ทั้งนี้กรณีของสหรัฐฯชัดเจนที่สุด
รัฐบาลโอบามาที่มีหนี้สูงเป็นประวัติกาณ์กลับมีภาระดอกเบี้ยจ่ายคิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีที่น้อยกว่ารัฐบาลคลินตันซึ่งมีการลดหนี้สาธารณะอย่างต่อเนื่องi
ดังนั้น
แท้ที่จริงแล้ว QEและ
สงครามค่าเงิน หรือ Currency
Warเป็นแค่อาการของปัญหาระดับโครงสร้างในระบบการเงินโลกที่เกิดขึ้น
การที่ประเทศกลุ่ม BRICและประเทศเกิดใหม่อื่นๆพยายามแทรกแซงค่าเงินเป็นแค่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและบรรเทาอาการในระยะสั้นเท่านั้นเพราะทุกประเทศล้วนยังพึ่งพาการส่งออกอยู่
แต่หากติดตามเหตุการณ์ทุกอย่างและนำมาปะติดปะต่ออย่างต่อเนื่องก็จะเห็นพลวัตและพัฒนาการของปัญหาที่เกิดขึ้นจะพบว่า
ความขัดแย้งระหว่างประเทศร่ำรวยเจ้าของเงินสกุลหลักและประเทศเกิดใหม่ที่นำโดยกลุ่มBRICมีความเข้มข้นและระอุขึ้นต่อเนื่อง
โดยก่อนวิกฤตการเงินเกิดขึ้นมีการพูดถึงค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงอย่างมาก
ขณะที่ฝั่งสหรัฐฯเรียกร้องให้ประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะจีนมีการปรับค่าเงินให้แข็งขึ้นเพื่อลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ซึ่งในแง่หนึ่งการเกินดุลที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นปัญหาในระยะสั้นถึงกลางสำหรับประเทศเกิดใหม่
แต่หากมองในเชิงโครงสร้างแล้วนั่นหมายถึงการไหลออกของทรัพยากรทางการเงินและการเพิ่มขึ้นของอำนาจต่อรองของประเทศเกิดใหม่ซึ่งมีระบบการเมืองและระบบการเงินโดยเฉพาะระบบอัตราแลกเปลี่ยนแตกต่างจากประเทศร่ำรวย
การที่ประเทศเกิดใหม่โดยเฉพาะจีนสามารถสะสมทุนสำรองในเงินสกุลหลักทุกสกุลในปริมาณมหาศาลจะทำให้ดุลอำนาจในระบบอัตราแลกเปลี่ยนโยกจากประเทศผู้ยิ่งใหญ่เดิมทั้ง4ซึ่งเน้นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว
มาสู่ประเทศเกิดใหม่นำโดยกลุ่มBRICที่เน้นการควบคุมค่าเงินและตลาดการเงินiiซึ่งนั่นย่อมหมายถึงการสูญเสียอำนาจของสถาบันการเงินในตะวันตกรวมถึงผู้คุมเกมอย่างเฟดสาขานิวยอร์กและธนาคารกลางอังกฤษมาสู่มือของธนาคารกลางของกลุ่มBRICและบรรดากองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติทั้งหลาย
เหตุการณ์วิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นนั้นได้ทำให้โลกมีการตระหนักถึงปัญหานี้อย่างชัดเจนหลังจากเกิดวิกฤตซ้ำซากและการก่อหนี้ที่มีแนวโน้มว่าจะไม่มทางใช้คืนได้ง่ายทั้งสหรัฐฯ
ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งผลที่เกิดขึ้นก็คือ
การปล่อยมาตรการ QEออกมาต่อเนื่อง
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยก็ต่ำใกล้ศูนย์ในประเทศเจ้าของสกุลเงิน
ซึ่งเรื่องนี้ชัดเจนและรุนแรงเป็นพิเศษในกรณีของสหรัฐฯ
และการออกมาตรการ QE
2ของสหรัฐฯก็ถูกบรรดาประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาบางประเทศอย่างเยอรมนีออกมาโจมตีการกระทำของอเมริกาอย่างต่อเนื่องถึงความไม่รับผิดชอบต่อประชาคมโลก
และผลข้างเคียงของค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนลงอย่างรวดเร็วซึ่งก่อให้เกิดฟองสบู่ในราคาสินท่รัพย์ครั้งมโหฬารอีกครั้ง
แต่สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ
คำตอบของนายเบน
เบอร์นันเก้ที่มีออกมาทันทีหลังรัฐบาลต่างๆทั้งจีน
บราซิล เยอรมนีออกมาวิจารณ์ก็คือ
สิ่งที่เฟดทำคือ
การรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจภายในสหรัฐฯเท่านั้นiiiซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมากที่สหรัฐฯกลับตอบออกมาเช่นนี้
ในขณะที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ทั้งสหรัฐฯและยุโรปออกมาสวดจีนถึงความไม่รับผิดชอบและเป็นต้นตอของปัญหาการขาดดุลการค้าและการว่างงานในประเทศตัวเองจากการไม่ยอมให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้น
ท่าทีของประเทศร่ำรวยที่มีต่อจีนและคำตอบของสหรัฐฯในเรื่องQEแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการต่อสู้ที่เข้มข้นของขั้วอำนาจเดิมและขั้วอำนาจใหม่ในสงครามที่มากกว่าสงครามค่าเงินนั่นคือสงครามระบบการเงินโลก(Global
Monetary War) ที่ด้านหนึ่งประเทศร่ำรวยพยายามบีบประเทศเกิดใหม่ให้ค่าเงินแข็งค่า
ขณะที่กลับปฏิเสธความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัวเองทำและพยายามรักษาสถานภาพที่นับวันจะขัดกับความเป็นจริงทุกขณะ
แต่ดูเหมือนว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในระบบการเงินโลกนั้นจะชัดเจนขึ้นทุกขณะ
โดยในปี 2010ถือได้ว่าโลกกำลังเข้าสู่ทศวรรษใหม่ของGlobal
Economic Governance Rebalance โดยพัฒนาการสำคัญของปี2010มี2อย่างด้วยกันนั่นคือ
การออกมาตรการต่อเนื่องของทางการจีนในการผลักดันเงินหยวนแข่งกับดอลลาร์
ซึ่งตอนนี้จีนประสบความสำเร็จมากในส่วนของความนิยมของการใช้เงินหยวนในการทำการค้าระหว่างประเทศ
ขณะที่ก็เริ่มมีธนาคารกลางในเอเชียหลายแห่งแอบซื้อหยวนเข้าทุนสำรองแล้วivส่วนอีกเรื่องที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งประวัติศาสตร์ก็คือ
การที่ประเทศกลุ่ม BRICได้โควตาการออกเสียงในIMFมากขึ้น
ขณะที่เสียงของประเทศพัฒนาแล้วจะมีสัดส่วนลดลง
โดยจีนผงาดขึ้นมาเป็นสมาชิกใหญ่อันดับที่3v
ดังนั้นแล้วเมื่อมองภาพใหญ่และพัฒนาการที่เกิดขึ้นทั้งหมด
การกระทำของเฟดในครั้งนี้ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่อาจมีQE3
QE4 QE5ออกมาเรื่อยๆจะก่อให้เกิดความตึงเครียดและความขัดแย้งในระบบการเงินโลกมากขึ้น
ขณะเดียวกันก็ไม่ควรละเลยถึงโอกาสการเกิดQEเพิ่มเติมในประเทศยุโรปและญี่ปุ่นซึ่งเผชิญปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกับสหรัฐฯและทุกคนก็ล้วนมีจีนเป็นจำเลยและเป้าหมายที่ต้องจัดการ
และเมื่อสงครามครั้งนี้ขยายตัวไปถึงระดับSuperstructureคือ
ระบบการเงินโลก
เราจะเห็นการเคลื่อนตัวขององคาพยพของกองทัพทางการเงินที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ซึ่งไม่ได้มีแต่ในส่วนของผู้กำหนดนโยบายอย่างธนาคารกลางเท่านั้น
แต่จะรวมไปถึงตัวเล่นอื่นๆในระบบการเงินทั้งธนาคารพาณิชย์
วาณิชธนกิจ เฮดจ์ฟันด์
และกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ
นโยบาย QEที่ออกมาจะทำให้การต่อสู้ทั้งการโจมตีค่าเงินและการเคลื่อนย้ายเงินทุนในเชิงยุทธศาสตร์เป็นไปอย่างเข้มข้นและดุเดือดมากขึ้น
โดยตัวหลักที่จะขับเคลื่อนสงครามในครั้งนี้ก็คือ
การปะทะกันของเงินหยวนและเงินดอลลาร์ในเชิงของสงครามในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและการต่อสู้ในเชิงของการปรับเปลี่ยนกลไกในเชิงสถาบันซึ่งสะท้อนถึงคุณค่าและวาระทางยุทธศาสตร์ของแต่ละขั้วโดยเฉพาะความพยายามของจีนและประเทศเกิดใหม่ในการพยายาามลดสัดส่วนเงินดอลลาร์และอาจรวมถึงเงินยูโรด้วยในโครงสร้างระบบทุนสำรองโลก
ซึ่งการทำเช่นนั้นจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางการค้า
ตลาดการเงิน การธนาคาร
และการออกกฎระเบียบในระบบเศรษฐกิจโลกด้วย
แต่นั่นคงจะไม่ใช่เรื่องง่ายนักโดยเฉพาะกับจีนที่พยายามเป็นหัวหอกในการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะต้องถูกการต่อต้านซึ่งมีแต่จะรุนแรงขึ้นจากสหรัฐฯและพันธมิตรประเทศผู้นำโลกการเงินกลุ่มเก่า
การทำ QEมองในอีกแง่หนึ่งถึงเป็นการชะลอการผงาดขึ้นมาของกลุ่มBRICและประเทศเกิดใหม่ต่างๆเพราะประเทศเหล่านี่มีจุดอ่อนอยู่ที่การต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่
และยังไม่อยู่ในวิสัยที่จะทำการควบคุมระบบอัตราแลกเปลี่ยนและระบบการเงินได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพราะยังไม่ใช่เจ้าของเงินตราสกุลหลัก
การแข็งค่าอย่างรวดเร็วนอกจากจะทำลายภาคการส่งออกของประเทศเหล่านี้แล้วยังเป็นการบีบให้ประเทศเหล่านี้ต้องสู้ค่าเงินอย่างรุนแรงในระยะสั้นและหลอกเอาทุนสำรองเข้าตลาดพันธบัตรรัฐบาลของประเทศเจ้าของเงินสกุลหลัก
ซึ่งนับวันอัตราดอกเบี้ยจะต่ำลงทุกทีๆขณะที่ค่าเงินก็มีแต่จะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินประเทศเกิดใหม่
นั่นหมายความว่าธนาคารกลางทุกแห่งจะมีผลขาดทุนจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรที่ธนาคารกลางออกเพื่อไล่ซื้อเงินสกุลหลักกับพันธบัตรรัฐบาลโดยเฉพาะของสหรัฐฯ
และขาดทุนจากอัตราอัตราแลกเปลี่ยน
และในระยะยาวนั้นมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาลก็มีแต่จะลดลงเพราะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นย่อมกดให้ราคาพันธบัตรดิ่งลงอย่างรุนแรง
ดังนั้นเชื่อได้เลยว่าทางแก้ในเชิงโครงสร้างที่เป็นไปได้ทางเดียวก็คือ
ต้องพยายามสลัดพันธนาการทางการเงินออกจากเงินตราสกุลหลักเดิมที่มีแต่จะถล่มประเทศกลุ่มBRICด้วยการออกมาตรการQEแบบไม่จำกัดผสมโรงเข้ากับแรงกดดันทางการเมืองอื่นๆ
จีนคงพยายามดันบทบาทเงินหยวนอย่างต่อเนื่องในขณะเดียวกันจะมีการออกมาโจมตีและตั้งคำถามต่อบทบาทของเงินดอลลาร์และประเทศสหรัฐฯในระบบเศรษฐกิจโลกมากขึ้น
จีนเองจะมีการผนึกกำลังกับกลุ่มBRICและประเทศเกิดใหม่มากขึ้น
เช่นเดียวกับที่สหรัฐฯจะรวมกำลังกับประเทศในยุโรปและญี่ปุ่นในการเปิดศึกต่อสู้การผงาดของเงินหยวนในระบบการเงินโลก
ทั้งนี้แนวโน้มระบบการเงินโลกในอนาคตที่น่าจับตามองมากก็คือCross-Border
Capital Flowภายในกลุ่มประเทศเกิดใหม่เองที่จะสูงขึ้นจากกิจกรรมต่างๆนอกจากการค้าระหว่างกันทั้งการลงทุนระหว่างกัน
การเพิ่มขึ้นของกิจกรรมการค้าเงินของสกุลเงินและศูนย์กลางการเงินในประเทศเกิดใหม่ที่นำโดยBRICซึ่งนั่นย่อมหมายถึงการลดบทบาทของเงินดอลลาร์ในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่างๆของโลกลงอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ตัวอย่างการทำ Currency
Swaps Agreementและการจัดตั้งระบบซื้อขายสกุลเงินหยวนโดยตรงกับเงินสกุลอื่นเช่นเงินริงกิต
น่าจะเป็นคำบอกใบ้ถึงแนวทางที่ประเทศเกิดใหม่อาจดำเนินในอนาคต
iDaniel
Kruger, “Bond Traders Declare Inflation Dead as Yields Below 2008
Levels,” Bloomberg.com, April 26, 2010, available at
http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601101&sid=apFOAsUrgOyw.
iiRiccardo
Barbieri, “China Moves Closer to Becoming Currency King : Riccardo
Barbieri,” Bloomberg.com, September 29, 2010, available at
http://noir.bloomberg.com/apps/news?pid=newsarchive&sid=awrVtNGoXbc8.
iiiSteve
Matthew and Timothy R. Homan, “Bernanke Says Fed Must Focus on US;
Not Overseas Economies,” Bloomberg.com, November 6, 2010,
available at
http://noir.bloomberg.com/apps/news?pid=newsarchive&sid=adPtBcbSL4lQ.
ivKevin
Brown, Robert Cookson and Geoff Dyer, “Malaysian bond boost for
renmibi,” Financial Times, September 19, 2010, available at
http://www.ft.com/cms/s/0/fecc16fc-c417-11df-b827-00144feab49a.html.
vSandrine
Rastello, “China Set for More ‘Responsibility’ After Gaining IMF
Clout,” Bloomberg.com, November 6, 2010, available at
http://noir.bloomberg.com/apps/news?pid=20601087&sid=aNA84vgEh1S4&pos=6.