รัฐบาลสหรัฐฯและ UAE ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อความร่วมมือว่าด้วยความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2010 ที่ผ่านมา หลังจากรมว.พลังงานสหรัฐฯให้ความเห็นว่า ตะวันออกกลางและบรรดามหาอำนาจทางเศรษฐกิจควรกระจายความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจไปทางอื่นมากขึ้นนอกเหนือจากเรื่องพลังงานฟอสซิล
ดร. อันวาร์ การ์กัช รมว.ต่างประเทศ UAE กล่าวว่า “ข้อตกลงนี้ให้กรอบการทำงานที่กว้างขึ้นสำหรับความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯและ UAE ในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ” จากการรายงานของสำนักข่าวรัฐบาล UAE ชื่อ WAM
ข้อตกลงฉบับนี้จะขยายความร่วมมือเดิมของทั้ง 2 ประเทศในด้านพลังงานนิวเคลียร์โดยการสร้างบทบาทให้กระทรวงพลังงานสหรัฐฯทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานความปลอดภัยและความมั่นคงให้กับเตาปฏิกรณ์ที่กำลังจะติดตั้งใน UAE ในอนาคตซึ่งจะเริ่มเดินเครื่องในอีก 7 ปีข้างหน้า
นายสตีเฟ่น ชู รมว.พลังงานสหรัฐฯ ได้ประกาศความร่วมมือใหม่นี้หลังจากหลังจากเขาออกมาเปิดเผยว่า สหรัฐฯไม่ใช่ผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของซาอุดิอาระเบียอีกต่อไปแล้ว
บรดดานักวิเคราะห์ต่างออกมาประเมินมานานแล้วว่าขณะนี้จีนกำลังซื้อน้ำมันจากซาอุฯมากกว่าสหรัฐฯ แต่การออกมายอมรับของนายชูกลางกรุงอาบูดาบีเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลงเกิดขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ
“มันเริ่มขึ้นจากน้ำมันและก๊าซ แต่ตอนนี้หลายๆประเทศในภูมิภาคกำลังเล็งเห็นถึงความต้องการที่จะกระจายแหล่งพลังงาน พวกเขาต้องการรักษาน้ำมันไว้เพื่อการส่งออก นี่คือสิ่งที่เราน่าจะทำงานร่วมกันได้” นายชูกล่าว
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจและความตื่นตัวด้านปรสะทธิภาพทางพลังงานในสหรัฐฯย่อมหมายความว่า สหรัฐฯจะนำเข้าน้ำมันน้อยลงในอนาคต นายชูกล่าวเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามตะวันออกกลางและสหรัฐฯควรสร้างความเป็นหุ้นส่วนใหม่ในด้านพลังงานทดแทน
สหรัฐฯครองตำแหน่งผู้นำเข้าน้ำมันจากซาอุฯสูงที่สุดเป็นเวลาหลายทศวรรษ นำเข้าน้ำมันมากกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ขณะนี้ถูกจีนแซงหน้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วในปี 2009 ที่ผ่านมา
ซาอุดิ อารามโค่ บริษัทน้ำมันของรัฐบาลซาอุฯได้เน้นย้ำถึงการโยกทำตลาดไปยังเมืองจีนมากขึ้นตั้งปี 2009 หลังจากสัญญาเช่าคลังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ในแคริเบียนอายุหลายทศวรรษสิ้นสุดลง ซึ่งคัลงแห่งนี้ใช้เป็นที่กักเก็บน้ำมันเพื่อสำหรับการส่งน้ำมันไปขายยังตลาดสหรัฐฯ ขณะเดียวกันในช่วงต้นปี 2009 อารามโค่ได้เริ่มดำเนินงานโรงกลั่นใหม่ในจีนแล้ว
นายชูยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเรื่องราคาน้ำมันหรือให้ความเห็นใดๆต่อกลุ่มโอเปก ซึ่งวิธีการนี้แตกต่างจากธรรมเนียมปฏิบัติที่ผ่านมาที่รมว.พลังงานมักจะกดดันให้โอเปกเพิ่มการผลิตน้ำมันเพื่อลดราคาน้ำมันในตลาดลงมา
“จุดยืนของเราคือ เราต้องการให้มีการเปิดเผยและความโปร่งใสเท่าที่จะเป็นไปได้ในเรื่องของปัจจัยต่างๆที่เข้ามากระทบราคาน้ำมัน เราต้องการเห็นราคาที่มีเสถียรภาพ ราคาที่ขึ้นลงอย่างรวดเร็วไม่เป็นผลดีทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค” นายชูกล่าว
โอเปกมีกำลังการผลิตที่ยังไม่ได้ใช้งาน 4.2 ล้านบาร์เรลในธันวาคม 2008 และตอนนี้ตกลงที่จะเพิ่มการผลิตแม้ว่าราคาน้ำมันจะยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โอเปกจะมีการประชุมที่เวียนนา 17 มีนาคมนี้ เพื่อทบทวนการตัดสินใจ
นายชูปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเรื่องตลาดน้ำมัน โดยกล่าวแต่เพียงว่าวิกฤตเศรษฐกิจทำให้ตลาดอยู่ในภาวะที่มีกำลังการผลิตล้นเกิน
ที่ผ่านมานายชูมักจะมีความเห็นที่แตกต่างจากรัฐมนตรีในรัฐบาลก่อนๆที่มักจะกดดันให้โอเปกลดราคาน้ำมันด้วยการผลิตเพิ่ม เช่นในพฤษภาคม 2008 เมื่อราคาน้ำมันไปแตะ 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล รมว.พลังงานในยุคของบุชก็บินไปซาอุฯทันทีเพื่อกดดันให้ซาอุเพิ่มการผลิต หรือในช่วงปี 2000 ที่นายบิล ริชาร์ดสัน รมว.พลังงานในตอนนั้นได้เรียกร้องให้ประธานโอเปกเพื่อให้มีการผลิตน้ำมันเพิ่มระหว่างการประชุมของโอเปกในตอนนั้น
ในวันที่ 23 นายชูยังได้เยี่ยมชมเมืองมาสดาร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการพัฒนาโดยปราศจากคาร์บอน และกล่าวว่ากระทรวงกพลังงานสหรัฐฯจะร่วมมือกับมาสดาร์ บริษัทพลังงานทดแทนของรัฐบาล UAE ด้วย
นายชูนักฟิสิกส์รางวัลโนเบลประจำปี 1997 ได้ให้ความสำคัญถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอย่างมาก โดยเขาได้ออกมาขจัดข้อโต้แย้งจากสื่อมวลชนและบรรดานักการเมืองที่มีต่อความผิดพลาดของรายงานว่าด้วยเรื่องโลกร้อนของสหประชาชาติ เขาพยายามอธิบายควมามเชื่อมโยงของการปล่อยคาร์บอนและภาวะโลกร้อน เขาได้พยายามชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อด,กและทางออกสำหรับปัญหานี้ เขากล่าวอีกว่าสหรัฐฯมีความพยามยามที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยมาตรการของสหรัฐฯเอง
ที่มา The National
http://www.thenational.ae/apps/pbcs.dll/article?AID=/20100224/BUSINESS/702249893/1005
ดร. อันวาร์ การ์กัช รมว.ต่างประเทศ UAE กล่าวว่า “ข้อตกลงนี้ให้กรอบการทำงานที่กว้างขึ้นสำหรับความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯและ UAE ในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ” จากการรายงานของสำนักข่าวรัฐบาล UAE ชื่อ WAM
ข้อตกลงฉบับนี้จะขยายความร่วมมือเดิมของทั้ง 2 ประเทศในด้านพลังงานนิวเคลียร์โดยการสร้างบทบาทให้กระทรวงพลังงานสหรัฐฯทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานความปลอดภัยและความมั่นคงให้กับเตาปฏิกรณ์ที่กำลังจะติดตั้งใน UAE ในอนาคตซึ่งจะเริ่มเดินเครื่องในอีก 7 ปีข้างหน้า
นายสตีเฟ่น ชู รมว.พลังงานสหรัฐฯ ได้ประกาศความร่วมมือใหม่นี้หลังจากหลังจากเขาออกมาเปิดเผยว่า สหรัฐฯไม่ใช่ผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของซาอุดิอาระเบียอีกต่อไปแล้ว
บรดดานักวิเคราะห์ต่างออกมาประเมินมานานแล้วว่าขณะนี้จีนกำลังซื้อน้ำมันจากซาอุฯมากกว่าสหรัฐฯ แต่การออกมายอมรับของนายชูกลางกรุงอาบูดาบีเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลงเกิดขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ
“มันเริ่มขึ้นจากน้ำมันและก๊าซ แต่ตอนนี้หลายๆประเทศในภูมิภาคกำลังเล็งเห็นถึงความต้องการที่จะกระจายแหล่งพลังงาน พวกเขาต้องการรักษาน้ำมันไว้เพื่อการส่งออก นี่คือสิ่งที่เราน่าจะทำงานร่วมกันได้” นายชูกล่าว
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจและความตื่นตัวด้านปรสะทธิภาพทางพลังงานในสหรัฐฯย่อมหมายความว่า สหรัฐฯจะนำเข้าน้ำมันน้อยลงในอนาคต นายชูกล่าวเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามตะวันออกกลางและสหรัฐฯควรสร้างความเป็นหุ้นส่วนใหม่ในด้านพลังงานทดแทน
สหรัฐฯครองตำแหน่งผู้นำเข้าน้ำมันจากซาอุฯสูงที่สุดเป็นเวลาหลายทศวรรษ นำเข้าน้ำมันมากกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ขณะนี้ถูกจีนแซงหน้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วในปี 2009 ที่ผ่านมา
ซาอุดิ อารามโค่ บริษัทน้ำมันของรัฐบาลซาอุฯได้เน้นย้ำถึงการโยกทำตลาดไปยังเมืองจีนมากขึ้นตั้งปี 2009 หลังจากสัญญาเช่าคลังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ในแคริเบียนอายุหลายทศวรรษสิ้นสุดลง ซึ่งคัลงแห่งนี้ใช้เป็นที่กักเก็บน้ำมันเพื่อสำหรับการส่งน้ำมันไปขายยังตลาดสหรัฐฯ ขณะเดียวกันในช่วงต้นปี 2009 อารามโค่ได้เริ่มดำเนินงานโรงกลั่นใหม่ในจีนแล้ว
นายชูยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเรื่องราคาน้ำมันหรือให้ความเห็นใดๆต่อกลุ่มโอเปก ซึ่งวิธีการนี้แตกต่างจากธรรมเนียมปฏิบัติที่ผ่านมาที่รมว.พลังงานมักจะกดดันให้โอเปกเพิ่มการผลิตน้ำมันเพื่อลดราคาน้ำมันในตลาดลงมา
“จุดยืนของเราคือ เราต้องการให้มีการเปิดเผยและความโปร่งใสเท่าที่จะเป็นไปได้ในเรื่องของปัจจัยต่างๆที่เข้ามากระทบราคาน้ำมัน เราต้องการเห็นราคาที่มีเสถียรภาพ ราคาที่ขึ้นลงอย่างรวดเร็วไม่เป็นผลดีทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค” นายชูกล่าว
โอเปกมีกำลังการผลิตที่ยังไม่ได้ใช้งาน 4.2 ล้านบาร์เรลในธันวาคม 2008 และตอนนี้ตกลงที่จะเพิ่มการผลิตแม้ว่าราคาน้ำมันจะยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โอเปกจะมีการประชุมที่เวียนนา 17 มีนาคมนี้ เพื่อทบทวนการตัดสินใจ
นายชูปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเรื่องตลาดน้ำมัน โดยกล่าวแต่เพียงว่าวิกฤตเศรษฐกิจทำให้ตลาดอยู่ในภาวะที่มีกำลังการผลิตล้นเกิน
ที่ผ่านมานายชูมักจะมีความเห็นที่แตกต่างจากรัฐมนตรีในรัฐบาลก่อนๆที่มักจะกดดันให้โอเปกลดราคาน้ำมันด้วยการผลิตเพิ่ม เช่นในพฤษภาคม 2008 เมื่อราคาน้ำมันไปแตะ 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล รมว.พลังงานในยุคของบุชก็บินไปซาอุฯทันทีเพื่อกดดันให้ซาอุเพิ่มการผลิต หรือในช่วงปี 2000 ที่นายบิล ริชาร์ดสัน รมว.พลังงานในตอนนั้นได้เรียกร้องให้ประธานโอเปกเพื่อให้มีการผลิตน้ำมันเพิ่มระหว่างการประชุมของโอเปกในตอนนั้น
ในวันที่ 23 นายชูยังได้เยี่ยมชมเมืองมาสดาร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการพัฒนาโดยปราศจากคาร์บอน และกล่าวว่ากระทรวงกพลังงานสหรัฐฯจะร่วมมือกับมาสดาร์ บริษัทพลังงานทดแทนของรัฐบาล UAE ด้วย
นายชูนักฟิสิกส์รางวัลโนเบลประจำปี 1997 ได้ให้ความสำคัญถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอย่างมาก โดยเขาได้ออกมาขจัดข้อโต้แย้งจากสื่อมวลชนและบรรดานักการเมืองที่มีต่อความผิดพลาดของรายงานว่าด้วยเรื่องโลกร้อนของสหประชาชาติ เขาพยายามอธิบายควมามเชื่อมโยงของการปล่อยคาร์บอนและภาวะโลกร้อน เขาได้พยายามชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่อด,กและทางออกสำหรับปัญหานี้ เขากล่าวอีกว่าสหรัฐฯมีความพยามยามที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยมาตรการของสหรัฐฯเอง
ที่มา The National
http://www.thenational.ae/apps/pbcs.dll/article?AID=/20100224/BUSINESS/702249893/1005
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1607 ครั้ง