รูปภาพ : นายหลิว ปินเจี่ย ผู้อำนวยการ GAPP ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านธุรกิจสื่อของทางการจีน
ที่มา : China Daily
รัฐบาลจีนวางแผนส่งออกหนังสือทั้งที่เป็นฉบับพิมพ์และในรูปแบบดิจิตอลโดยตั้งเป้ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ก่อนสิ้นสุดแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปีฉบับที่ 12 (2011-2015) เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทางการระบุ
ร่างของแผน 5 ปีฉบับที่ 12 ระบุว่า ภายในสิ้นปี 2015 รายได้จากการส่งออกในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์จะต้องเพิ่มเท่าตัวจากระดับในช่วงแผน 5 ปีฉบับที่ 11 (2006-2010)
รายได้จากการส่งออกสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิตอลและบริการที่เกี่ยวข้องจะทะลุ 1,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2015 เป็นการกระตุ้นให้บริษัทสื่อสิ่งพิมพ์ในประเทศร่วมมือกับบริษัทในต่างประเทศมากขึ้น มูลค่าการส่งออกหนังสือในรูปแบบดั้งเดิม (ฉบับพิมพ์ล้วนๆ) จะวิ่งไปอยู่ที่ 42 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2015 ร่างของแผน 12 ระบุ
“จีนจะสร้างอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์และตรายี่ห้อที่โดดเด่นซึ่งสะท้อนถึงวัฒนธรรมของประเทศและแสดงถึงอิทธิพลของเราในเวทีระหว่างประเทศ” นายหลิว ปินเจี่ย ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารสื่อและสิ่งพิมพ์หรือ GAPP (General Administration of Press and Publication) กล่าวในการประชุมสื่อและงานสิ่งพิมพ์แห่งชาติในกรุงปักกิ่งวานนี้ (11 มกราคม 2011)
“แผนระยะกลางและระยะยาวสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ของประเทศจะถูกกำหนดขึ้น โดยมีเป้าหมายที่ตลาดสื่อกระแสหลักในประเทศตะวันตกและขยายตลาดในแถบเอเชียให้มากขึ้น” นายหลิวกล่าว
ร่างของแผน 12 กล่าวอีกว่า ศูนย์แสดงหนังสือนานาชาติจะถูกสร้างขึ้นในกรุงปักกิ่งเพื่อให้บริการที่ดีขึ้นและเพิ่มโอกาสให้กับผู้ขายหนังสือและสำนักพิมพ์ทั่วโลก ทำให้ปักกิ่งกลายเป็นเวทีแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมขนาดใหญ่ที่มีความครอบคลุมพร้อมสรรพในระดับโลก
ความร่วมมือกับเครือข่ายร้านขายหนังสือในต่างประเทศจะถูกยกระดับขึ้น และช่องทางการขายหนังสือจากจีนผ่านองค์กรสิ่งพิมพ์ระหว่างประเทศจะได้รับการปรับปรุง ร่างแผน 12 ระบุ
ตอลดระยะเวลาที่ผ่านมา สิ่งพิมพ์ของจีนได้มีวางอยู่ในร้านหนังสือมากกว่า 3,100 แห่ง และห้องสมุดในกว่า 193 ประเทศและภูมิภาคในต่างประเทศ ดดยหนังสือพิมพ์และนิตยสารครอบคลุมมากกว่า 80 ประเทศและภูมิภาคในต่างประเทศ จากสถิติของ GAPP
“ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์จีนจะถูกยกขึ้นสู่ระดับใหม่” นายหลิวกล่าว
รายได้รวมจากอุตสาหกรรมสื่อและสิ่งพิมพ์คาดว่าจะอยู่ที่ 130,000 ล้านหยวน (19,600 ล้านดอลลาร์) ในปี 2010 ซึ่งจะมีมูลค่ามากกว่า 60% ของมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมวัฒนธรรมของประเทศ
หลิวกล่้าวอีกว่า เทียบกับในช่วงของแผน 10 (2001-2005) รายได้รวมของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์พุ่งขึ้นกว่าเท่าตัวระหว่างปี 2006-2010
ในช่วงนั้น จีนพิทพ์หนังสือ 20 ล้านเล่ม มากกว่าประเทศใดๆในโลก จากสถิติของ GAPP พบว่า จีนยังเป็นผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ในรูปดิจิตอลมากเป็นอันดับ 2 ของโลกด้วย
ยุทธศาสตร์ใหญ่สำหรับสื่อจีน
เพื่อความสามารถในการแข่งขันของสื่อจีน รัฐบาลได้มองหาลู่ทงในการสร้างสื่อระดับโลกผ่านการกระตุ้นแผนการขยายธุรกิจในต่างประเทศของบริษัทสิ่งพิมพ์ชั้นนำ เจ้าหน้าที่ระดับสูงระบุ
“เราจะเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสถานีโทรทัศน์ของเราและยกระดับอิทธิพลของประเทศในเวทีสากล” นายหลิว ปินเจี่ย ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารสื่อและสิ่งพิมพ์หรือ GAPP (General Administration of Press and Publication) กล่าวในที่ประชุม ณ กรุงปักกิ่งวานนี้ (11 มกราคม 2011)
เขาเสริมอีกว่า การดำเนินงานในปัจจุบันของธุรกิจสิ่งพิมพ์ควรจะถูกปรับโครงสร้างใหม่เพื่อสร้างบริษัทชั้นนำขนาดใหญ่เพียงไม่กี่รายซึ่งจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและอิทธิพลให้มากยิ่งขึ้น
“เราจะสนับุสนุนและกระตุ้นให้บริษัทสื่อและสิ่งพิมพ์พัฒนาแผนการขยายธุรกิจในต่างประเทศ” นายหลิวกล่าว ร่างของแผนพัฒนา 5 ปีฉบับที่ 12 (2011-2015) กล่าวว่า บริษัทสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิตอลหลัก 10 บริษัทซึ่งมีรายได้มากกว่า 10,000 ล้านหยวนขึ้นไป จะถูกตั้งขึ้นก่อนปี 2015
ในร่างแผน 12 ยังเพิ่มอีกว่า ขณะที่องค์กรสิ่งพิมพ์หลัก 20 แห่งจะได้รับสนับสนุนให้ตั้งบริษัทลูก สาขา หรือ ร้านในต่างประเทศและเพิ่มการลงทุนในต่างประเทศด้วย
“ตอนนี้จีนได้กลายเป็นมหาอำนาจที่พุ่งแรงในอุตสาหกรรมสื่อและสิ่งพิมพ์ทั่วโลกแล้ว” นายหลิวกล่าว
ที่มา China Daily
แปลและเรียบเรียงโดย เบ๊นซ์ สุดตา ฝ่ายข่าวเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ Mtoday