สิ่งที่ไม่มีวันพูดถึงในที่ประชุมดาวอส
โดย
เบ๊นซ์ สุดตา
เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งสำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำเศรษฐกิจโลกหรือWorld
Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้น
ณ
รีสอร์ทในเมืองดาวอสสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องบรรยากาศในการเล่นสกี
โดยการประชุมครั้งแรกจัดขึ้นในเดือนมกราคม1971นับว่าการประชุมนี้ก็เวียนมาบรรจบครบวาระได้40ปีแล้ว
โดยในการประชุมแต่ละครั้งก็จะจัดในช่วงสัปดาห์ท้ายๆของเดือนมกราคมเป็นประจำทุกปี
โดยแขกเหรื่อที่มาร่วมงานก็จะมีแต่ระดับผู้บริหารระดับสูงของอค์กรธุรกิจระดับโลก
นักเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการชั้นนำระดับโลก
ผู้ดำเนินนโยบายและผู้นำประเทศต่างๆ
รวมถึงผู้จัดการกองทุนที่กุมเงินเป็นหมื่นๆแสนๆล้านดอลลาร์ด้วย
สิ่งที่ดูแล้วเหมือนจะเป็นที่ชื่นชมยินดีในหมู่ผู้เข้าร่วมประชุมแต่ไม่เคยและไม่มีวันเป็นสาระหรือเป็นประโยชน์กับประชากรส่วนใหญ่ของโลกเลยก็คือ
การพูดถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกในช่วงอีก20-30ปีข้างหน้า
โดยก่อนการประชุมจะเริ่มขึ้นนั้น
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg)ของอเมริกาได้มีการสัมภาษณ์ขอความเห็นนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสกลุ่มหนึ่งทั้งที่ทำงานในสถาบันการเงินใหญ่ๆและนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลบางคน
โดยหลักใหญ่ใจความแล้ว
คนกลุ่มนี้ซึ่งวุ่นอยู่กับตัวเลขการวิเคราะห์ในห้องแอร์และต้องยุ่งอยู่กับการบริหารเงินลูกค้าเป็นแสนๆล้านดอลลาร์ให้ข้อสรุปตรงกันว่า
เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู้ยุคของ
“ความรุ่งเรืองครั้งใหญ่”
หรือ “Growth
Super-Cycle” อีกครั้งหนึ่ง
โดยแนวคิดเรื่องวัฏจักรใหญ่ครั้งใหม่ถูกหยิบยกขึ้นมาโดยนายเจอร์ราด
ลีออนส์
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์โดยเขาได้อ้างถึงการวิเคราะห์เชิงปริมาณและข้อมูลประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลกในช่วงกว่า150ปีที่ผ่านมา
โดยนายลีออนส์ทำนายเลยว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายขนาดจาก62ล้านดอลลาร์ในปี2010มาเป็น143ล้านล้านดอลลาร์ในปี2030
ขณะที่สิ่งที่น่าตื่นเต้นกว่านั้นถูกกล่าวออกโดยนายเอดเวิร์ด
เพรสค็อตอดีตนักเศรษฐศาสตร์การเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯสาขามิเนอาโปลิสและเคยได้รับรางวัลโนเบลร่วมในปี2004ด้วยถึงกับพูดกับบลูมเบิร์กเลยว่า
“โลกทั้งใบจะร่ำรวยภายในสิ้นศตวรรษนี้”
ซึ่งฟังแล้วดูทำให้มนุษยชาติมีความหวังขึ้นมาในบัดดล
แต่ทุกๆครั้งที่มีการประชุมWEFทุกคนมักจะจับตาไปที่คำพูดของผู้ทรงอิทธิพลไม่กี่กลุ่มไม่กี่คนเท่านั้น
แต่ที่แน่ๆบุคคลที่มีเสียงดังตลอดเลยคือบรรดาผู้บริหารสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ต่างๆและผู้จัดการกองทุนชื่อก้องโลก
ซึ่งคนกลุ่มนี้ดูจะมีภาษีดีกว่านักการเมืองตรงที่ว่า
การดำรงตำแหน่งไม่มีวาระที่จำกัดและไม่ต้องเสี่ยงกับการหลุดเก้าอี้กลางคันหากผลประกอบการไม่ถึงที่สุดจริงๆ
ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างของบุคคลในแวดวงการเงินการลงทุนซึ่งมักจะได้รับความสำคัญและที่ทางในสื่อเป็นพวกแรกๆ
คนเหล่านี้หากมาดูประวัติการทำงานจะพบว่าเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่นๆที่ได้กันในแต่ละปีนั้นสูงลิ่วยิ่งนัก
แม้แต่บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่อย่างGeneral
Motors ในช่วงที่ยังไม่ล้มละลายในปี2009แต่ก็มีผลขาดทุนไม่ต่ำกว่า300,000-400,000ล้านบาทต่อปีต่อเนื่องกัน
ก็ให้ค่าตอบแทนคนระดับ CEOถึง300-400ล้านบาทได้(ด้วยข้ออ้างที่ว่าช่วยบริษัทขาดทุนน้อยลง!)ยิ่งไม่ต้องพูดถึงบริษัทอื่นๆที่มีกำไรมหาศาลโดยเฉพาะพวกสถาบันการเงินและกองทุนเฮดจ์ฟันด์ต่างๆที่นั่งหากินสบายๆจากการโยกเงินไปๆมาๆแต่ทำให้คนทั้งโลกเดือดร้อนจากความผันผวนของตลาดการเงินโลก
หากเป็รผู้บริหารระดับสูงของธนาคารใหญ่ๆในสหรัฐฯหรือยุโรปหากผลงานเข้าเป้า
กำไรและราคาหุ้นพุ่งขึ้นก็จะมีการผันงบมาตอบแทนกันเป็นเงินหลายสิบล้านดอลลาร์คือ
ไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000ล้านบาทแน่ๆ
ขณะที่หากเป็นเฮดจ์ฟันด์แล้วนั้น
ในปีที่ผลตอบแทนดีมากๆเจ้าของเฮดจ์ฟันด์ซึ่งทำหน้าที่บริหารกองทุนไปด้วยจะได้ผลตอบแทนเป็นค่าเหนื่อยสูงเป็นหลักพันล้านดอลลาร์หรือไม่ต่ำกว่า30,000-40,000ล้านบาทกันเลยทีเดียว
ดังนั้นในหัวสมองของคนที่มาประชุมดาวอสทั้งหลายส่วนใหญ่จะจับจดกับวาระการทำมาหากินของตัวเองเป็นหลักเสียมากโดยเฉพาะพวกที่เป็นนายทุนการเงิน
คำพูดของคนที่มาประชุมดาวอสจะมีประโยชน์บ้างหากเป็นกลุ่มผู้ดำเนินนโยบายที่อาจจะพูดเปิดเผยถึงทิศทางบางอย่าง
หรือนักวิชาการที่พูดตรงไปตรงมา
นอกนั้นจะพูดเรื่องของตัวเองเสียมาก
ผู้บริหารระดับ CEOใหญ่ๆก็จะมาให้ข่าวทิศทางบริษัทและแสวงหาพันธมิตรใหม่ๆ
ยิ่งพวกนายทุนการเงินแล้วในหัวของคนพวกนี้จะมีแค่เรื่องเดียวคือ
ทิศทางของราคาสินทรัพย์
การที่คนพวกออกมาพูดทั้งเรื่องโอกาสทางเศรษฐกิจโลกหรือแม้แต่วิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี2008สุดท้ายแล้วมักจะพูดเพื่อมองถึงทิศทางของราคาสินทรัพย์ต่างๆทั้งหุ้น
ค่าเงิน โภคภัณฑ์ เป็นหลัก
การพูดเรื่องวัฏจักรการเติบโตครั้งใหญ่ของนายลีออนส์แห่งสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ก็เป็นการพูดเพื่อชี้ถึงทิศทางของราคาในอนาคตเช่นกัน
สังเกตว่าการพูดถึงราคาสินทรัพย์พวกนี้ด้านหนึ่งชัดเจนว่ามันคือกำไรมากมายมหาศาลที่คนพวกนี้หรือใครก็ตามที่เห็นโอกาสสามารถกอบโกยได้ไม่รู้จบในอนาคต
แต่อีกด้านหนึ่งหากคนเหล่านี้มีจิตสำนึกในฐานะเพื่อนร่วมโลกคนหนึ่งที่มองถึงการอยู่ร่วมกันในระยะยาวเป็นหลักแล้วนั้นสมควรที่จะตระหนักว่า
หากโลกเกิดปัญหาจากความปั่นป่วนของราคาสินทรัพย์โดยเฉพาะค่าเงินและราคาโภคภัณฑ์ซึ่งกระทบวิถีชีวิตคนทุกระดับแล้ว
บรรดาผู้มาประชุมที่เมืองดาวอสคงจะเปลี่ยนทัศนคติใหม่ทั้งหมดและมาหารือกันถึงการสร้างความสมดุลและความยั่งยืนให้กับโลกและคนทุกกลุ่มกันแทน
ด้านหนึ่งการพูดถึงราคาสินทรัพย์โดยเฉพาะในเรื่องโภคภัณฑ์นั้นหากแปลความหมายตรงตัวในทางเศรษฐศาสตร์ก็หมายความว่า
บรรดานายทุนการเงินที่มาเจอกันที่ดาวอสนั้นกำลังเร่งปัญหา
“เงินเฟ้อ” ให้หนักหน่วงเข้าไปอีก
และไม่ว่าการประชุมดาวอสจะผ่านไปนานขนาดไหนนั้นโลกทั้งโลกก็ไม่ได้มีอะไรดีขึ้นมากมายเลย
ขณะที่ทุนนิยมพัฒนาไปนั้นกลับมีผู้อดอยากมากกว่า1,000ล้านคนอยู่ทั่วโลก
แม้แต่คนอเมริกันเองก็ยังต่อคิวรับสแตมป์อาหารกันมากกว่า40ล้านคน
ยุโรปเองก็มีปัญหาการว่างงานสูง
คนพวกนี้แม้จะมีการพูดถึงปัญหาเหล่านี้อยู่พอสมควร
แต่ก็พูดถึงในเชิงความเสี่ยงต่อตลาดและก็มองหากลยุทธ์ในการทำกำไรจากทุกวิกฤตที่เห็น
หากฟังเผินๆจากบทววิเคราะห์คนพวกทุนการเงินเช่นนายลีออนส์ที่ให้ตัวเลขชัดเจนถึงความมั่งคั่งที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคตของโลก
แต่อีกสิ่งหนึ่งที่คนในดาวอสไม่เคยมาเหลียวแลหรือคิดวิเคราะห์ถึงก็คือ
ต้นทุนในด้านอื่นๆที่ต้องแลกมากับการเพิ่มขนาดเศรษฐกิจโลกมากมายมหาศาลขนาดนั้น
ทั้งในแง่ของสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้คน
หากพูดในแง่ของเศรษฐศาสตร์หรือการเงินเพิ่มเติมในมุมกลับก็เห็นชัดแล้วว่า
แม้โอกาสที่ขนาดเศรษฐกิจในระดับนั้นจะมีความเป็นไปได้สูง
แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงและปัญหาอื่นๆเพิ่มเติมทั้งเงินเฟ้อที่รุนแรงขึ้นจากการขยายตัวของปริมาณเงิน
ขณะเดียวกันหากต้องสนองความโลภไม่มีสิ้นสุดของนักการเงินที่วันๆจะนั่งคุยแต่เรื่องแนวโน้มราคาสินทรัพย์ในห้องทำงาน
กินอาหารมื้อเที่ยงที่โรงแรมระดับโลกทุกวัน(มื้อละเป็นแสนๆบาท!)ทรัพยากรของโลกคงต้องถูกผลาญไปอีกมหาศาลเพื่อดันมูลค่าเศรษฐกิจและสินทรัพย์ทั้งโลกให้พุ่งทะยานเข้าไปอีก
ซึ่งเรื่องพวกนี้ล้วนมีต้นทุน
ที่ขนาดเศรษฐกิจปัจจุบันคือ62ล้านล้านดอลลาร์
โลกก็ต้องเผชิญความเสี่ยงมหาศาลจากความไม่สมดุลของทรัพยากรและระบบนิวเศน์มากมายอยู่แล้ว
ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการถลุงทรัพยากรเพื่อให้โลกมีขนาดเศรษฐกิจ143ล้านล้านดอลลาร์
ซึ่งถึงตอนนั้นก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า
โลกจะมีสภาพแบบที่พออยู่ได้เพียงไร
ดังนั้นตราบใดที่จิตสำนึกของนายทุนการเงินที่ไปประชุมที่ดาวอสยังคงสำราญอยู่กับการนั่งวิเคราะห์ทิศทางราคาสินทรัพย์
สิ่งที่ประชาชนธรรมดาจะต้องทำใจเตรียมรับมือก็คือ
ปัญหามากมายที่จะตามมาจากการเคลื่อนทุนขนาดมหึมาของคนกลุ่มนี้ซึ่งจะมีขอบข่ายของปัญหากว้างไกลกว่าเรื่องเศรษฐกิจอีกมาก
เพราะการเคลื่อนย้านฃยเงินทุนของคนพวกนี้หมายถึงคนพวกนี้คือคนที่อยู่บนจุดสูงสุดในการกำหนดวาระการพัฒนาของโลกทั้งด้านธุรกิจ
การเลือกสรรเทคโนโลยี
การปันส่วนทรัพยากร และวิถีชีวิต
ซึ่งท้ายที่สุดก็เพื่อสนองความโลภของคนเพียงหยิบมือท่ามกลางความอดอยากแร้นแค้นของคนค่อนโลก