รูปภาพ : กองทัพเรือไต้หวันยิงขีปนาวุธระหว่างซ้อมรบทางตะวันตกของเมืองหลวงไทเป กรกฎาคม 2006 จนถึงปัจจุบันทั้ง 2 ประเทศยังคงมีปฏิบัติการจารกรรมความลับอย่างต่อเนื่องและจีนยังขู่ไต้หวันตลอดเวลาว่าจะใช้กำลังทหารเข้าจัดการหากไต้หวันคิดประกาศตัวเป็นเอกราช
รัฐบาลไต้หวันได้จับกุมตั
วนายทหารชั้นผู้ใหญ่นายหนึ่
งโดยสงสัยว่าอาจเป็นสายลับให้
ทางการจีน ถือเป็นคดีที่มีการจับกุมผู้ต้
องหาที่มีตำแหน่งสูงที่สุดที่
อยู่ในปฏิบัติการจารกรรมความลั
บทางทหารของทั้ง 2 ประเทศในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่
านมา
หลอ เซียะเฉอ (Lo Hsieh-che) นายทหารยศพลตรีซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายสื่อสารของกองบัญชาการกองทัพบกไต้หวันถูกกล่าวหาว่าถูกทางการจีนว่าจ้างให้ทำงานจารกรรมความลับให้ตั้งแต่ปี 2004 ระหว่างที่เขาทำหน้าที่ทูตทหารในประเทศไทย
ก่อนหน้านี้ความสนใจในเรื่องของการจารกรรมความลับของจีนนั้นทุกคนมักจะให้ความสำคัญกับการจารกรรมความลับในภาคธุรกิจหรือสงครามไซเบอร์เป็นหลัก กรณีของนายหลอถือเป็นสิ่งเตือนใจว่า ยุทธวิธีในการจารกรรมความลับที่ใช้กันในสมัยสงครามเย็นนั้นยังคงมีบทบาทสำคัญในการสืบหาข่าวกรองของทางการจีน
นายหวาง หมิงหวอ (Wang Ming-wo) รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานสงครามการเมืองของกองทัพไต้หวันกล่าวกับไฟแนนเชียลไทม์ว่า การจับกุมตัวนายหลอในครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงความจริงที่ว่า “สงครามข่าวกรองระหว่างไต้หวันกับจีนยังคงมีอยู่และกำลังมีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ”
นายหวางกล่าวว่า จีน “กำลังใช้ทรัพยากรทุกอย่างเท่าที่มีเพื่อทำการแทรกซึมและเข้าทำการจารกรรมความลับในไต้หวัน ซึ่งรวมถึงการว่าจ้างนักธุรกิจชาวไต้หวันที่มาทำงานในประเทศจีนและบรรดานายทหารเกษียณอายุของไต้หวัน”
จีนและไต้หวันมีประวัติศาสตร์อันยาวนานของการจารกรรมความลับของกันและกัน ความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารระหว่างช่องแคบไต้หวันได้พุ่งสูงขึ้นเป็นเวลาเกือบ 6 ทศวรรษตั้งแต่ปี 1949 เมื่อรัฐบาลชาตินิยมของพรรคก๊กมินตั๋งต้องหนีไปเกาะไต้หวันหลังพ่ายแพ้สงครามกลางเมืองในจีน
ขณะที่ทั้ง 2 ฝ่ายต่างแยกกันปกครองตนเอง รัฐบาลจีนยังคงอ้างอธิปไตยเหนือเกาะไต้หวันและได้ข่มขู่ถึงการใช้กำลังทหารเข้าจัดการหากว่าไต้หวันตัดสินใจประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของทางการจีนในการจารกรรมความลับจากไต้วหวันกลับสวนทางกับพัฒนาการที่ดีขึ้นของความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 ฟากช่องแคบไต้หวันซึ่งประสบความสำเร็จมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
กระทรวงกลาโหมไต้หวันกล่าวว่า นายหลอถูกโยกไปเป็นทูตทหารในประเทศไทยระหว่างปี 2002-2005 นายทหารระดับสูงวัย 51 ปีท่านนี้ได้รับการเลื่อนขั้นเป็นนายพลในปี 2008 ทางกองทัพกล่าวว่า ได้รับข้อมูลว่าเขาอาจเป็นสายให้กับทางการจีนเมื่อช่วงตุลาคมปีที่แล้วและได้ทำการสอบสวนโดยทันที
ขณะที่นายหลอมีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านการสื่อสารของกองทัพบก นายหวางกล่าวว่า ความเสียหายที่เขาก่อขึ้นถือว่าจำกัดเพราะนายหลอมีหน้าที่รับผิดชอบในแง่ของ “ประเด็นด้านองค์กรและการบริหารจัดการไม่ใช่ด้านข้อมูลที่ต้องมีการกลั่นกรองในทางเทคนิค”
ที่มา Financial Times
แปลและเรียบเรียงโดย เบ๊นซ์ สุดตา ฝ่ายข่าวเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ Mtoday