นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์ลงความเห็นประเทศไทยยังไร้ผลกระทบจากเหตุกัมมันตรังสีรั่วไหลจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น
โดย…ทีมข่าวในประเทศ
การระเบิดอย่างต่อเนื่องถึง 3 ครั้งในช่วงเวลา 3 วันติดของอาคารเตาปฏิกรณ์ภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกุชิมา ไดอิชิ ในจังหวัดฟูกุชิมา ของประเทศญี่ปุ่นอันเป็นผลกระทบมาจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ
ประกอบกับการยอมรับของทางการญี่ปุ่นที่ระบุว่า ปริมาณกัมมันตรังสีที่รั่วไหลออกมาจากโรงไฟฟ้านั้นเกินขีดมาตรฐานความปลอดภัยและอาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ที่ได้รับรังสีได้ก็ทำให้เกิดอาการหวาดหวั่นขึ้นในหลายประเทศที่อยู่รายรอบญี่ปุ่น ที่ต่างกลัวว่าจะได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลดังกล่าว
โพสต์ทูเดย์จึงรวบรวมความเห็นจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์มาร่วมชี้ชัดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยจากเหตุการณ์ดังกล่าว
ยืนยันกัมมันตรังสียังไม่กระทบประเทศไทย
นางสุชิน อุดมสมพร นักฟิสิกส์รังสี ชำนาญการพิเศษ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เปิดเผยว่า การรั่วไหลของรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่น จะอยู่ในระดับที่สร้างผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ ในเอเชียได้นั้น สามารถแบ่งได้ ในสองระดับ คือระดับเฉียบพลัน หรือ กระทบในทันที และระดับเรื้อรัง หรือผลกระทบที่ต้องอาศัยระยะเวลายาวนาน
ทั้งนี้ระดับเฉียบพลันนั้น แม้การระเบิดจะรุนแรงขั้นสูงสุดจนไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เช่นที่เคยเกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชอร์โนบิลในประเทศยูเครน ก็จะส่งผลกระทบต่อประเทศที่มีชายแดนติดกับญี่ปุ่นเท่านั้น โดยจะไม่ส่งผลกระทบอย่างเฉียบพลันต่อประเทศไทย
ทั้งนี้ สำหรับผลกระทบในระยะยาว กรณีที่เกิดการระเบิดรุนแรง ระดับเดียวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือการปนเปื้อนและสะสมรังสี ในสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะต้องมีมาตรการในการควบคุมอาหาร ซึ่งแต่ละประเทศ จะมีมาตรการในการควบคุมการนำเข้าอาหารในกรณีดังกล่าว เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากลในการควบคุม
นอกจากนี้ การสะสมรังสีในสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะสัตว์และพืชในทะเล ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน โดยการสะสมอาจจะเป็นการสะสมอยู่ในห่วงโซ่ อาหาร เช่นมีรังสีละลายอยู่ในน้ำทะเล สะสมอยู่ในแพลงตอนซึ่งเป็นอาหารปลา อย่างไรก็ตาม รูปแบบของการสะสมดังกล่าว อาจจะต้องใช้เวลาในการตรวจพบ และอาจจะต้องใช้ระยะเวลาการวิจัย หาค่าการปนเปื้อนในระยะยาว
“สำหรับผลกระทบในระยะยาวนั้น แม้แต่กรณีเชอร์โนบิล ก็สามารถ ระบุความเสียหาย หรือผลกระทบโดยตรง ได้เพียงกับชาวยูเครน ที่พบว่ามีการเกิดมะเร็งในต่อมไทรอยด์ ขณะที่ในประเทศใกล้เคียง นักวิจัย ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าปลอดภัยหรืออันตรายแค่ไหนเพียงไร โดยคาดกันว่า อาจจะต้องใช้เวลาถึง 30 ปี นอกจากนี้ รังสี แต่ละชนิดที่ถูกปล่อยออกมาจากระเบิด มีหลายชนิด และมีระดับการสลายตัวไม่เท่ากันมีตั้งแต่ระดับวินาที จนถึงใช้เวลานับปี”นางสุชินกล่าว
ด้าน นายชนาธิป ทิพยกุล วิศวกรนิวเคลียร์ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวว่า สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มีสถานีตรวจวัดรังสี กระจายอยู่ทั่วประเทศ 8 สถานี ซึ่งหากพบว่ามีระดับรังสี ที่เป็นอันตราย ตามที่ได้มีการตั้งค่ามาตรฐานไว้ ระบบการเตือนภัยก็ส่งสัญญาณเตือนในทันที อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ได้มีการประเมินสถานการณ์ว่า โอกาสที่จะส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยโดยตรงนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้
“โดยทั่วไปแล้ว การแพร่รังสี จะอาศัยทิศทางลมเป็นหลัก ซึ่งขณะนี้ หน่วยงานที่ดูแลด้านความปลอดภัย ได้กำหนดมาตรการการแพร่กระจายกรณีที่เกิดการรั่วไหลขั้นสูงสุดแล้ว โดยใช้โปรแกรมคำนวณการแพร่กระจาย ที่สัมพันธ์กับข้อมูลการพยากรณ์อากาศ ซึ่งพบว่า ลมส่วนใหญ่จะพัดรังสี ออกไปทางมหาสมุทรแปซิฟิก”นายชนาธิป กล่าว
ชี้สัตว์น้ำอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าอาจมีการปนเปื้อน
ขณะที่ นายบุรินทร์ อัศวพิภพ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า หากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกิดการระเบิดจะทำให้สารกัมมันตรังสีรั่วไหลได้ โดยสารกัมมันตรังสีเหล่านี้มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจวัดเท่านั้น
“หลักการสากลในการป้องกันตัวคือ อยู่ให้ห่างจากที่เกิดเหตุระเบิด ชำระร่างกาย เสื้อผ้า รวมทั้งสิ่งของเครื่อใช้ต่างๆ ให้สะอาด เพื่อไม่ให้มีการปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย”นายบุรินทร์ กล่าว
นายบุรินทร์ กล่าวว่า กัมมันตรังสีมีสารประกอบหลักที่สำคัญคือ รังสีอัลฟ่า บีต้า และแกมม่า สามารถล่องลอยอยู่ในอากาศและปนเปื้อนมากับน้ำทะเลได้ ซึ่งรังสีแต่ละชนิดมีพลังงานและอำนาจทะลุทะลวงแตกต่างกัน โดยรังสีอัลฟ่ามีพลังงานอ่อนที่สุด สามารถสลายตัวได้ในโมเลกุลฝุ่นโดยรอบ ส่วนรังสีบีต้าสามารถป้องกันได้ด้วยแผ่นกระดาษหรือแผ่นอะลูมิเนียม ขณะที่รังสีแกมม่าสามารถกั้นได้ด้วยคอนกรีตและตะกั่ว
“แม้รังสีอัลฟ่าจะมีพลังงานอ่อนที่สุด แต่หากปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์จะทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงที่สุด อาการที่สังเกตได้เบื้องต้นคือ วิงเวียน อาเจียน โดยรังสีจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้เซลล์เกิดการแตกตัวหรือกลายพันธุ์ ซึ่งในระยะยาวอาจมีผลทำให้เกิดเซลล์มะเร็งได้”นายบุรินทร์ กล่าว
นายบุรินทร์ กล่าวว่า สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ใกล้จุดเกิดเหตุอาจได้รับผลกระทบจากรังสีแบบเฉียบพลันถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่หากได้รับรังสีในปริมาณไม่มากนักและถูกมนุษย์จับมาประกอบอาหารก็อาจมีการถ่ายทอดรังสีเข้าสู่ร่างกายและเกิดการสะสมได้
อย่างไรก็ตาม นายบุรินทร์ กล่าวว่า โอกาสที่สารกัมมันตรังสีจะแพร่กระจายมาถึงประเทศไทยมีความเป็นไปได้ หากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์มีการระเบิดขึ้นจริงและมีปริมาณการรั่วไหลที่เข้มข้น แต่สถานการณ์ขณะนี้ยังไม่น่าวิตกกังวลสำหรับประเทศไทย
ยังต้องจับตาอาหาร-สินค้าแปรรูปจากญี่ปุ่น
นายรุจพร ชนะชัย หัวหน้าสาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เปิดเผยว่า เหตุโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศญี่ปุ่นระเบิดจะไม่กระทบต่อประเทศไทย เพราะรังสีที่แพร่มาทางอากาศและน้ำมีปริมาณน้อยและลดจำนวนลงตามระยะทาง โดยการระเบิดครั้งนี้ปลดปล่อยรังสี 8 มิลลิลิตรซีเวิร์ต ขณะที่ค่ามาตรฐานของประชาชนควรได้รับไม่เกิน 1 มิลลิลิตรซีเวิร์ต และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับไม่เกิน 20 มิลลิลิตรซีเวิร์ต
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือการนำเข้าอาหารและสินค้าแปรรูป รวมถึงรังสี 2 ชนิด คือซีเซียม 137 ซึ่งทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนแต่ร่างกายสามารถขับออกมาได้เอง และไอโอดีน 131 ที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งต่อไทรอยด์หากได้รับในปริมาณมาก
“แม้รังสีที่ปล่อยมาจะมีปริมาณน้อยซึ่งไม่น่าเป็นห่วง แต่ก็จำเป็นต้องเฝ้าระวัง”นายรุจพร กล่าว
การระเบิดอย่างต่อเนื่องถึง 3 ครั้งในช่วงเวลา 3 วันติดของอาคารเตาปฏิกรณ์ภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกุชิมา ไดอิชิ ในจังหวัดฟูกุชิมา ของประเทศญี่ปุ่นอันเป็นผลกระทบมาจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ
การระเบิดอย่างต่อเนื่องถึง 3 ครั้งในช่วงเวลา 3 วันติดของอาคารเตาปฏิกรณ์ภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกุชิมา ไดอิชิ ในจังหวัดฟูกุชิมา ของประเทศญี่ปุ่นอันเป็นผลกระทบมาจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิประกอบกับการยอมรับของทางการญี่ปุ่นที่ระบุว่า ปริมาณกัมมันตรังสีที่รั่วไหลออกมาจากโรงไฟฟ้านั้นเกินขีดมาตรฐานความปลอดภัยและอาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ที่ได้รับรังสีได้ก็ทำให้เกิดอาการหวาดหวั่นขึ้นในหลายประเทศที่อยู่รายรอบญี่ปุ่น ที่ต่างกลัวว่าจะได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลดังกล่าว
โพสต์ทูเดย์จึงรวบรวมความเห็นจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์มาร่วมชี้ชัดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยจากเหตุการณ์ดังกล่าว
ยืนยันกัมมันตรังสียังไม่กระทบประเทศไทย
นางสุชิน อุดมสมพร นักฟิสิกส์รังสี ชำนาญการพิเศษ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เปิดเผยว่า การรั่วไหลของรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่น จะอยู่ในระดับที่สร้างผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ ในเอเชียได้นั้น สามารถแบ่งได้ ในสองระดับ คือระดับเฉียบพลัน หรือ กระทบในทันที และระดับเรื้อรัง หรือผลกระทบที่ต้องอาศัยระยะเวลายาวนาน
ทั้งนี้ระดับเฉียบพลันนั้น แม้การระเบิดจะรุนแรงขั้นสูงสุดจนไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เช่นที่เคยเกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชอร์โนบิลในประเทศยูเครน ก็จะส่งผลกระทบต่อประเทศที่มีชายแดนติดกับญี่ปุ่นเท่านั้น โดยจะไม่ส่งผลกระทบอย่างเฉียบพลันต่อประเทศไทย
ทั้งนี้ สำหรับผลกระทบในระยะยาว กรณีที่เกิดการระเบิดรุนแรง ระดับเดียวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือการปนเปื้อนและสะสมรังสี ในสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะต้องมีมาตรการในการควบคุมอาหาร ซึ่งแต่ละประเทศ จะมีมาตรการในการควบคุมการนำเข้าอาหารในกรณีดังกล่าว เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากลในการควบคุม
นอกจากนี้ การสะสมรังสีในสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะสัตว์และพืชในทะเล ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน โดยการสะสมอาจจะเป็นการสะสมอยู่ในห่วงโซ่ อาหาร เช่นมีรังสีละลายอยู่ในน้ำทะเล สะสมอยู่ในแพลงตอนซึ่งเป็นอาหารปลา อย่างไรก็ตาม รูปแบบของการสะสมดังกล่าว อาจจะต้องใช้เวลาในการตรวจพบ และอาจจะต้องใช้ระยะเวลาการวิจัย หาค่าการปนเปื้อนในระยะยาว
“สำหรับผลกระทบในระยะยาวนั้น แม้แต่กรณีเชอร์โนบิล ก็สามารถ ระบุความเสียหาย หรือผลกระทบโดยตรง ได้เพียงกับชาวยูเครน ที่พบว่ามีการเกิดมะเร็งในต่อมไทรอยด์ ขณะที่ในประเทศใกล้เคียง นักวิจัย ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าปลอดภัยหรืออันตรายแค่ไหนเพียงไร โดยคาดกันว่า อาจจะต้องใช้เวลาถึง 30 ปี นอกจากนี้ รังสี แต่ละชนิดที่ถูกปล่อยออกมาจากระเบิด มีหลายชนิด และมีระดับการสลายตัวไม่เท่ากันมีตั้งแต่ระดับวินาที จนถึงใช้เวลานับปี”นางสุชินกล่าว
ด้าน นายชนาธิป ทิพยกุล วิศวกรนิวเคลียร์ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวว่า สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มีสถานีตรวจวัดรังสี กระจายอยู่ทั่วประเทศ 8 สถานี ซึ่งหากพบว่ามีระดับรังสี ที่เป็นอันตราย ตามที่ได้มีการตั้งค่ามาตรฐานไว้ ระบบการเตือนภัยก็ส่งสัญญาณเตือนในทันที อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ได้มีการประเมินสถานการณ์ว่า โอกาสที่จะส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทยโดยตรงนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้
“โดยทั่วไปแล้ว การแพร่รังสี จะอาศัยทิศทางลมเป็นหลัก ซึ่งขณะนี้ หน่วยงานที่ดูแลด้านความปลอดภัย ได้กำหนดมาตรการการแพร่กระจายกรณีที่เกิดการรั่วไหลขั้นสูงสุดแล้ว โดยใช้โปรแกรมคำนวณการแพร่กระจาย ที่สัมพันธ์กับข้อมูลการพยากรณ์อากาศ ซึ่งพบว่า ลมส่วนใหญ่จะพัดรังสี ออกไปทางมหาสมุทรแปซิฟิก”นายชนาธิป กล่าว
ชี้สัตว์น้ำอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าอาจมีการปนเปื้อน
ขณะที่ นายบุรินทร์ อัศวพิภพ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า หากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกิดการระเบิดจะทำให้สารกัมมันตรังสีรั่วไหลได้ โดยสารกัมมันตรังสีเหล่านี้มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจวัดเท่านั้น
“หลักการสากลในการป้องกันตัวคือ อยู่ให้ห่างจากที่เกิดเหตุระเบิด ชำระร่างกาย เสื้อผ้า รวมทั้งสิ่งของเครื่อใช้ต่างๆ ให้สะอาด เพื่อไม่ให้มีการปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย”นายบุรินทร์ กล่าว
นายบุรินทร์ กล่าวว่า กัมมันตรังสีมีสารประกอบหลักที่สำคัญคือ รังสีอัลฟ่า บีต้า และแกมม่า สามารถล่องลอยอยู่ในอากาศและปนเปื้อนมากับน้ำทะเลได้ ซึ่งรังสีแต่ละชนิดมีพลังงานและอำนาจทะลุทะลวงแตกต่างกัน โดยรังสีอัลฟ่ามีพลังงานอ่อนที่สุด สามารถสลายตัวได้ในโมเลกุลฝุ่นโดยรอบ ส่วนรังสีบีต้าสามารถป้องกันได้ด้วยแผ่นกระดาษหรือแผ่นอะลูมิเนียม ขณะที่รังสีแกมม่าสามารถกั้นได้ด้วยคอนกรีตและตะกั่ว
“แม้รังสีอัลฟ่าจะมีพลังงานอ่อนที่สุด แต่หากปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์จะทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงที่สุด อาการที่สังเกตได้เบื้องต้นคือ วิงเวียน อาเจียน โดยรังสีจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้เซลล์เกิดการแตกตัวหรือกลายพันธุ์ ซึ่งในระยะยาวอาจมีผลทำให้เกิดเซลล์มะเร็งได้”นายบุรินทร์ กล่าว
นายบุรินทร์ กล่าวว่า สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ใกล้จุดเกิดเหตุอาจได้รับผลกระทบจากรังสีแบบเฉียบพลันถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่หากได้รับรังสีในปริมาณไม่มากนักและถูกมนุษย์จับมาประกอบอาหารก็อาจมีการถ่ายทอดรังสีเข้าสู่ร่างกายและเกิดการสะสมได้
อย่างไรก็ตาม นายบุรินทร์ กล่าวว่า โอกาสที่สารกัมมันตรังสีจะแพร่กระจายมาถึงประเทศไทยมีความเป็นไปได้ หากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์มีการระเบิดขึ้นจริงและมีปริมาณการรั่วไหลที่เข้มข้น แต่สถานการณ์ขณะนี้ยังไม่น่าวิตกกังวลสำหรับประเทศไทย
ยังต้องจับตาอาหาร-สินค้าแปรรูปจากญี่ปุ่น
นายรุจพร ชนะชัย หัวหน้าสาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เปิดเผยว่า เหตุโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศญี่ปุ่นระเบิดจะไม่กระทบต่อประเทศไทย เพราะรังสีที่แพร่มาทางอากาศและน้ำมีปริมาณน้อยและลดจำนวนลงตามระยะทาง โดยการระเบิดครั้งนี้ปลดปล่อยรังสี 8 มิลลิลิตรซีเวิร์ต ขณะที่ค่ามาตรฐานของประชาชนควรได้รับไม่เกิน 1 มิลลิลิตรซีเวิร์ต และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับไม่เกิน 20 มิลลิลิตรซีเวิร์ต
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือการนำเข้าอาหารและสินค้าแปรรูป รวมถึงรังสี 2 ชนิด คือซีเซียม 137 ซึ่งทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนแต่ร่างกายสามารถขับออกมาได้เอง และไอโอดีน 131 ที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งต่อไทรอยด์หากได้รับในปริมาณมาก
“แม้รังสีที่ปล่อยมาจะมีปริมาณน้อยซึ่งไม่น่าเป็นห่วง แต่ก็จำเป็นต้องเฝ้าระวัง”นายรุจพร กล่าว
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1085 ครั้ง