วันที่ 30 มีนาคม นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีว่าการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการ อำนวยการกำกับ ติดตาม การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) ให้สัมภาษณ์ในรายการห้องข่าวรับอรุณ ถึงสถานการณ์ภับพิบัติในภาคต่างๆของไทย ว่า ขณะนี้ภาคเหนือเป็นเรื่องของความหนาวเมื่อวานที่เชียงใหม่ มีวัวล้มตายหลายตัว ส่วนภาคอีสานเป็นเรื่องภัยแล้ง สำหรับภาคใต้ประกาศภัยพิบัติไปแล้ว 8 จังหวัด ขณะนี้เป็นการช่วยเหลือเร่งด่วนเบื้องต้นก่อน ช่วยเรื่องสาธารณูปโภค และหลังจากนี้คือดูแลการเยียวยาหลังน้ำลด ซ่อมแซมบ้าน และหลังจากน้ำลดก็คงต้องดูแลอาจจะมีการช่วยเหลือด้านมาตรการภาษี ยอมรับว่าพืชผลทางเกษตรเสียหายเยอะมาก และเรื่องประมงก็เสียหายเยอะเพราะมีปัญหาเรื่องคลื่นลมแรง ในการประชุมก็มีการพูดถึงเรื่องเงินช่วย 5,000 บาท และทางคชอ.จะคุยกัน 8 โมงเช้าวันนี้
ส่วนหลักเกณฑ์เรื่องความช่วยเหลือที่ต้องช่วยเฉพาะพื้นที่น้ำท่วม 7 วันขึ้นไปเป็นเรื่องของเที่ยวที่แล้ว ซึ่งภาคกลางท่วมเป็นเดือน แต่ในเที่ยวนี้เป็นเรื่องของน้ำป่าซัดบ้านพัง ก็ต้องดูหลักเกณฑ์กันใหม่ว่าจะช่วยเหลืออย่างไร คงต้องดูแผนที่ดาวเทียมเป็นหลักเพื่อดูพื้นที่ประสบภัยว่ามีตรงไหนบ้าง
“ตอนนี้ให้อำเภอละ 1 ล้านอยู่แล้ว จะทำยังไงให้ใช้เงินนี้ประสานทางจังหวัดก่อน นอกจากนี้ ส่วนกลางก็ส่งไปช่วยอีก เมื่อวานอนุมัติ 22 ล้าน 4 แสน เพื่อส่งถุงยังชีพไปช่วยเหลือ” นายสาทิตย์ กล่าว
นายสาทิตย์ ยังยอมรับว่า ภัยพิบัติที่เกิดภาคใต้ขณะนี้ ไม่เคยมี ขนาดตัวเองเกิดที่ตรังก็ไม่เคยเห็นแบบนี้ ต่อไปนี้จะใช้ประสบการณ์เดิมมาวางมาตรการป้องกันคงลำบาก เพราะฉะนั้นต้องป้องกัน โดยให้ชาวบ้านที่รู้เรื่องทางกายภาคดีอยู่แล้ว มาดูแลเรื่องน้ำ ซึ่งวันพรุ่งนี้จะมีการคุยเรื่องนี้กันที่สภา อาจต้องดูเรื่องผังเมือง การก่อสร้าง ซึ่งต่อไปนี้คงต้องดูเรื่องการก่อสร้างที่จะกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย
ด้านสถาการณ์น้ำท่วม หลายพื้นที่ยังวิกฤติ โดยเฉพาะที่แหลมตะลุมพุก นครศรีธรรมราช กำนัน ประยุทธ์ ฐานะวัฒนา กำนันต.แหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า เมื่อวานคลื่นมาเป็นกำแพงคลื่นสูงถึง 4-5 เมตร ซัดถนนคอนกรีตกัน หมู่2หมู่3ถนนพังหมดแล้ว และวันนี้ ราวๆ 10-11โมง คลื่นลมแรงอีกหรือไม่ ต้องเตรียมรับมือ ส่วน
“ชาวบ้านเตรียมตัวย้ายที่อยู่เพราะอยู่ติดทะเล กำลังขอย้ายทั้งตำบลห่างชายหาดออกมา150 เมตรให้ห่างจากชายทะเลเข้าไปอีก แต่เคยทำเรื่องขอไปแล้ว แต่ไม่ผ่านเพราะติดว่าเป็นพื้นที่ป่า วันนี้่นายกฯ จะเดินทางมาในพื้นที่จะเตรียมยื่น ขออีก เพราะเราเข้ามาในพื้นที่ 150ไร่ที่ต้องการให้คน 2 หมู่บ้าน ย้ายเข้าไปอยู่ในที่ปลอดภัย ผมอายุ51ปีแล้ว ไม่เคยพบเห็นแบบนี้มาก่อน ถาม คนเฒ่าคนแก่ ก็บอกว่าไม่เคยเจอ มรสุมฝนตกในหน้าร้อน แบบนี้ ” ชาวบ้านตะลุมพุกทำอาชีพประมง 2เดือนกว่าแล้ว ชาวบ้านตะลุมพุกไม่ได้ออกประมงประกอบอาชีพ ก็กินอาหารเท่าที่มี”
ขณะที่ชาวบ้านแหลมตะลุมพุก กล่าวว่า คนที่นี่ทำอาชีพประมงอาชีพเดียว ทำให้ตอนนี้ทำมาหากินไม่ได้เลย เป็นหนี้นอกระบบกันหมด เงินช่วยน้ำท่วมรอบที่แล้วตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้วก็ยังไม่ได้
ที่จังหวัดกระบี่ บ้านหน้าเขา อำเภอเขาพนม ฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก ทำให้ดินจากภูเขาสไลด์เข้าใส่หมู่บ้านเป็นวงกว้าง ชาวบ้าน 200-300 ครัว ยังไม่สามารถติดต่อได้ ซึ่งยังไม่ทราบชะตากรรว่า เป็นอย่างไรบ้าง เพราะไฟฟ้าถูกตัดขาด และเส้นทางไม่สามารถเข้าถึงได้
จักรีนฤเบศรช่วยนักท่องเที่ยวติดเกาะสมุย
น.อ.สุวิน แจ้งยอดสุข ผบ.เรือหลวงจักรีนฤเศร กล่าวถึงสถานการณ์การให้ความช่วยเลหือนักท่องเที่ยวบนเกาะเต่า จ.สุราษฎร์ธานีว่า ขณะนี้ได้เดินทางมาถึงที่เกาะเต่าแล้ว โดยสิ่งสำคัญก็คือต้องหาทางลำเลียงนักท่องเที่ยวจากเกาะเต่าขึ้นมาบนเรือ เนื่องจากมีอุปสรรคคือคลื่นลมยังแรงอยู่สูงประมาณ 3 เมตร และมีลม 50 กม./ชม. ขณะนี้เรือใหญ่ได้ทิ้งสมอห่างจากท่าเรือเกาะเต่าอยู่ 4 กม. ต้องใช้เรือเล็กขนคนเที่ยวละ 50 คนอาจต้องใช้เวลาเที่ยวละ30นาที-1ชม.จนครบพันคน และขณะนี้ได้ลองนำเรือ 2 ชั้นที่ชาวบ้านใช้นำนักท่องเที่ยวไปดำน้ำมาทดลองเทียบก่อนว่า จะเทียบเรือใหญ่ได้ไหม การขึ้นเรือใหญ่จะอันตรายไหม ถ้าทำได้ก็จะช่วยได้อีก หวังว่าช่วงสายฟ้าจะเปิด ความเร็วลมลดลงจะขนย้ายนักท่องเที่ยวได้
นอกจากนี้ ยังมีภารกิจนำเฮลิคอปเตอร์ไปช่วยเหลือขนย้ายนักท่องเที่ยวที่เกาะสมุยด้วย ซึ่งมีติดอยู่ประมาณ 80-100 คน โดยหากช่วยเหลือได้ทั้งหมดแล้วจากทั้ง 2 เกาะ จุดแรกที่จะนำส่งคือท่าเรือบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันท์ โดยใช้เวลาเดินทางจากจุดที่จอดทิ้งสมอ ขณะนี้ถึงบางสะพานประมาณ 4 ชม.
อุตุฯยังเตือนภาคใต้
ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัย”สภาวะน้ำท่วมในภาคใต้” ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2554 เมื่อเวลา 04.00 น.วันนี้ (30 มี.ค. 54) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงยังคงปกคลุมบริเวณชายฝั่งจังหวัดกระบี่ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ โดยในภาคใต้ฝั่งตะวันออกเริ่มจะมีปริมาณฝนลดลง จึงขอให้ประชาชนโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ยังคงต้องระวังอันตรายจากสภาวะ น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากต่อไปอีกในระยะนี้ ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทย และทะเลอันดามันสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะ 1-2 วันนี้ไว้ด้วย
สำหรับ บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานคร และ ภาคตะวันออกมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป และมีลมแรง
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1059 ครั้ง