อำนาจในการคุมทุนสำรองทั้งโลกของสหรัฐฯ
ในวงวิพากษ์วิจารณ์ในทางวิชาการและนโยบายทั้งในและนอกสหรัฐฯต่างพูดถึงปัญหาการขาดดุลแฝดคือ
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
และ การขาดดุลการคลัง
ซึ่งส่งผลให้เงินดอลลาร์รั่วไหลไปทั่วโลกและทำให้สหรัฐฯตกเป็นลูกหนี้ของทั่วโลกมากขึ้นๆ
และสิ่งที่เป็นความกังวลมากก็คือ
การที่สหรัฐฯกำลังตกเป็นลูกหนี้รัฐบาลต่างชาติ
และรัฐบาลเหล่านั้นล้วนเป็นประเทศเผด็จการและเป็นคู่แข่งและศัตรูทางอำนาจของสหรัฐฯทั้งสิ้นเช่น
จีน รัสเซีย หรือพวกชาติอาหรับ
ชาติเหล่านี้ล้วนกุมทุนสำรองในรูปของเงินดอลลาร์และเงินยูโรจำนวนมากนับเป็นเงินหลายล้านล้านดอลลาร์
ดังนั้นหลายฝ่ายจึงมองว่าประเทศเหล่านี้จะเป็นมหาอำนาจทางการเงินแข่งกับสหรัฐฯและหากสหรัฐฯมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับชาติเหล่านี้เข้า
รัฐบาลโดยธนาคารกลางของประเทศเหล่านี้อาจใช้ทุนสำรองดอลลาร์มหาศาลเป็นอาวุธตอบโต้ทางการเมือง
ซึ่งนั่นย่อมทำให้สหรัฐฯล้มทั้งยืนได้ในพริบตา
ตัวเลขล่าสุดของไตรมาสแรกปีนี้
จีนมีทุนสำรอง 2.45ล้านล้านดอลลาร์
และคาดว่ากว่า 2 ใน 3 หรือกว่า 1.7 ล้านล้านดอลลาร์เป็นเงินดอลลาร์และอยู่ในระบบตลาดทุนสหรัฐฯ
และปัจจุบันจีนคือ
เจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของรัฐบาลสหรัฐฯในฐานะที่เป็นผู้ถือครองตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯมากที่สุด
ซึ่งคาดว่าตัวเลขจะพุ่งต่อเนื่อง
และสิ้นปีนี้อาจเห็นตัวเลขทะลุ1.1 ล้านล้านดอลลาร์ได้
และหากรวมฮ่องกงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจีนด้วยแล้ว
พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่จีนถืออยู่ก็จะมากกว่า1.3 ล้านล้านดอลลาร์อย่างแน่นอนและสินทรัพย์ในรูปของเงินดอลลาร์ที่อยู่ในสหรัฐฯทั้งหมดเมื่อรวมกับฮ่องกงแล้ว
ในสิ้นปี 2010 นี้คาดว่าจีนกับฮ่องกงจะมีทุนสำรองในรูปดอลลาร์รวมกันมากกว่า2.2 ล้านล้านดอลลาร์แน่นอน
เพราะเงินทุนจากทั้งโลกไหลเข้าจีนและฮ่องกงมหาศาล
และจะไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง
เพราะในไม่ช้า อาจภายใน 5 ปี
ตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงจะมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
ดังนั้นในอนาคตด้วยเศรษฐกิจที่เติบโตและการรุกคืบทางการเงิน
เงินทุนนับแสนล้านหรือล้านล้านดอลลาร์จะต้องเข้ามาในทั้ง2 ที่นี้อย่างแน่นอน
ที่ผ่านมาประเทศใหญ่อย่างจีนและรัสเซียได้ส่งเสียงในเวทีโลกซึ่งมีผลเขย่าค่าเงินดอลลาร์อยู่เป็นระยะๆอยู่แล้ว
ขณะเดียวกันทั้ง 2 ประเทศพยายามที่จะดึงศูนย์กลางการตัดสินใจในระบบการเงินโลกมาอยู่ทางฝั่งตัวมากขึ้นจากที่ปัจจุบันอยู่ในมือประเทศตะวันตกทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องให้มีการควบคุมธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินขนาดใหญ่
การกดดันผู้ดำเนินนโยบายตะวันตกในเรื่องนโยบายเศรษฐกิจและการเงิน
และการผลักดันบทบาทของกลุ่มG20 ซึ่งประเทศเกิดใหม่ทางเศรษฐกิจที่กุมทุนสำรองและมูลค่าการค้าโลกมหาศาลพยายามดันมาเพื่อคานอำนาจประเทศตะวันตกเดิมอยู่
แต่เหนือสิ่งอื่นใด
ด้วยความที่ระบบการเงินครอบงำความเป็นของระบบเศรษฐกิจโลกทั้งหมดทั้งการค้า
การลงทุน การผลิต และรายได้
ใจกลางของอำนาจในเวทีโลกก็คือ
อำนาจในการควบคุมเงินทุนระหว่างประเทศ
ด้วยทรัพยากรทางการเงินมหาศาลทำให้ประเทศอย่างจีน
รัสเซีย อkหรับ
มีปากเสียงในเวทีการเงินโลกมาก
และยิ่งมากขึ้นหลังจากที่เงินทุนโลกในภาคเอกชนเหือดแห้ง
และมีเพียงกองทุนรัฐบาลเท่านั้นทีมีเงินทุนต่อสายไปยังตลาดเงินตลาดทุนให้ทำงานต่อไปได้ในช่วงวิกฤต
และด้วยการมีฐานะเป็นนักลงทุนรายใหญ่ในระบบการเงินทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศอย่างสหรัฐฯนั้น
หลายฝ่ายต่างมองว่าประเทศเหล่านี้มีแต้มต่อที่ได้เปรียบมากที่จะบีบคั้นรัฐบาลสหรัฐฯในด้านต่างๆทั้งทางเศรษฐกิจและการต่างประเทศ
แต่ในความเป็นจริงนั้น
ทุนสำรองจำนวนมากไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมโดยเบ็ดเสร็จของรัฐบาลประเทศต่างเลย
ทุนสำรองเหล่านี้เมื่อได้เป็นเงินตราต่างประเทศมาล้วนถูกโยกกลับไปไว้ที่นอกประเทศทั้งสิ้น
ไม่เช่นนั้นปริมาณเงินในประเทศจะสูงขึ้นมาก
และค่าเงินจะแข็งค่าด้วย
ประเทศต่างๆจึงต้องนำทุนสำรองไปลงทุนนอกประเทศเพื่อป้องกันค่าเงินแข็งและฟองสบู่ทางเศรษฐกิจ
เงินตราต่างประเทศเหล่านี้จะนำไปบริหารเพื่อรักษาสภาพคล่องให้กับการทำธุรกรรมระหว่างประเทศเพื่อไม่ให้สะดุดลง
ขณะเดียวกันเงินตราเหล่านี้ต้องอยู่ในที่ที่ความเสี่ยงต่ำจนแทบเป็นศูนย์ไปเลย
อีกทั้งมูลค่าไม่เสื่อมไปมาก
และเนื่องจากสกุลเงินที่ใช้ทำธุรกรรมในโลกการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศคือ
เงินดอลลาร์สหรัฐฯ
รองลงมาก็มีแต่เงินยูโร
ดังนั้นทุนสำรองเหล่านี้จึงต้องถูกหมุนกลับไปสู่ยุโรปและสหรัฐฯไปโดยปริยาย
โดยคนที่เป็นธุระช่วยเหลือธนาคารกลางทั้งโลกในการจัดหาแหล่งพักเงินก็คือ
บรรดาธนาคารยักษ์ใหญ่ในโลกซึ่งเราสามารถระบุชื่อได้ชัดเจนโดยฝั่งสหรัฐฯนั้นหลักๆก็คือJPMorgan
Chase, Citigroup, Bank of New York Mellon และ State
Street Corporation ขณะที่ฝั่งยุโรปจะมีUBS และ Credit
Suisse ของสวิส HSBC,
RBS และ Barclays ของอังกฤษ Deutsche
Bank ของเยอรมัน
ทั้งนี้เนื่องจากธนาคารเหล่านี้มีสาขาทั่วโลก
ถอนเงินง่าย มีระบบการเก็บรักษาบัญชีลูกค้า
การบริหารสภาพคล่อง และที่สำคัญคือ
เป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ธนาคารกลางทั้งโลกล้วนต้องมีบัญชีเปิดเป็นลูกค้าทั้งนำเงินไปฝากในระยะสั้นและเพื่อทำการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเพื่อนโยบายเสถียรภาพด้านอัตราแลกเปลี่ยน
นอกจากนั้นก็เป็นธนาคารพวกนี้เหมืทอนเดิมที่เป็นพวกเดียวที่มีศักยภาพในการช่วยทำธุรกรรมอนุพันธ์อย่างForwards และ Swaps ให้กับธนาคารกลางในตลาดเงินอีกเช่นกัน
นอกจากผลิตภัณฑ์ด้านเงินฝากแล้ว
เงินจำนวนมากหรือส่วนมากเลยก็ว่าได้จะนำไปลงทุนในตราสารหนี้เพื่อกินดอกเบี้ย
ขณะที่ความเสี่ยงต่ำและสภาพคล่องสูงมากๆ
เพื่อที่ว่าจะสามารถเข้าๆออกๆได้ง่ายเมื่อจำเป็น
และตราสารหนี้เหล่านี้ก็ไม่พ้นพันธบัตรรัฐบาล
โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
ซึ่งถือว่าเป็นตราสารการเงินที่มีสภาพคล่องสูงที่สุดในโลก
มีการซื้อขาย 24 ชั่วโมงเหมือนค่าเงิน
โดยในแต่ละวันมีการซื้อขายราวๆ500,000-600,000 ล้านดอลลาร์
แต่ด้วยปริมาณพันธบัตรที่มากขึ้นการซื้อขายต่อวันในอนาคตอาจสูงถึง800,000-900,000 ล้านดอลลาร์
หรือปีละมากกว่า 200 ล้านล้านดอลลาร์เลยทีเดียว
ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ
นอกจากธุรกรรมต่างๆจะต้องทำผ่านธนาคารอเมริกันและอังกฤษ
หรือสวิสแล้ว
สถานที่ที่จะทำธุรกรรมเหล่านี้นั้น
หลักๆแล้วก็มีแค่ 2 ที่ด้วยคือ ลอนดอน
และ นิวยอร์ค
ซึ่งมีการซื้อขายเงินตราต่างประเทศและตราสารหนี้กันที่นั่นทั้งนั้น
และที่สำคัญเมื่ออยู่ในทั้ง2 ที่นี้
อำนาจทางกฎหมายก็ต้องเป็นกฎหมายของสหรัฐฯและอังกฤษด้วย
ดังนั้นมันย่อมมีความเสี่ยงในระดับหนึ่งแน่นอนในการเสียการควบคุมกระแสเงินไปให้กฎหมายต่างชาติ
นอกเหนือจากธนาคารเอกชนของตะวันตกแล้ว
ยังมีสถาบันครอบโลกที่ยิ่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่ของตลาดเงินตลาดทุน
และทำหน้าที่คุมเกมการเงินในศูนย์กลางการเงินอย่างนิวยอร์คด้วย
นั่นก็คือ ธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟดสาขานิวยอร์ค(Federal
Reserve Bank of New York) ซึ่งข้อมูลล่าสุดของเดือนพฤษภาคม2010 ระบุว่าเฟดนิวยอร์คทำหน้าที่เป็นตัวแทนและให้บริการธนาคารกลางและหน่งยงานการเงินของรัฐบาลทั่วโลกกว่า250 แห่ง
โดยหน้าที่ของเฟดนิวยอร์คนั้นทั้งทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลรักษาบัญขีของรัฐบาลต่างประเทศ
รักษาทรัพย์สิน
ทำการส่งมอบและชำระราคาในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯทั้งหมดทั้งพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรของหน่วยงานที่รัฐบาลให้การสนับสนุนหรือGSEs
(Government-Sponsored Enterprises) ซึ่งมีสถานะเหมือนพันธบัตรรัฐบาลเหมือนกัน
ในตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ใหญ่โตมากนั้น
เฟดนิวยอร์คถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของเกมการเงินโลกนี้เพราะ
เฟดนิวยอร์คทำหน้าที่ดูแลระบบการชำระเงินและส่งมอบตราสารที่เรียกว่าFedwire ขณะเดียวกันจะทำหน้าที่จ่ายเงิเนต้นและดอกเบี้ยบนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
อีกทั้งที่น่าสนใจก็คือ
พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ธนาคารต่างประเทศถือเอาไว้นั้นจะต้องนำมาฝากไว้ที่เฟดนิวยอร์คซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลทรัพย์สินและเก็บรักษาข้อมูลผู้ถือพันธบัตรทั้งหมดเอาไว้
นอกจากเฟดนิวยอร์คจะทำหน้าที่เป็นธุระในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศและเป็นตัวกลางในการชำระราคาและรักษาบัญชีของผู้ถือรัฐบาลสหรัฐฯแล้ว
เฟดนิวยอร์คยังช่วยรับบริหารเงินระยะสั้นและชำระราคาและซื้อขายตราสารการเงินอื่นๆนอกเหนือจากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ
รวมถึงรับซื้อขายเงินตราต่างประเทศสกุลอื่นที่ไมใช่เงินดอลลาร์ด้วยซึ่งหลักๆคงเป็นเงินตราสกุลหลักของยุโรป
เงินเยนญี่ปุ่น ซึ่งใช้เป็นทุนสำรองด้วย
เฟดนิวยอร์คยังทำหน้าที่เป็นผู้เก็บรักษาทองคำให้รัฐบาลต่างประเทศด้วย
หน้าที่ต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นในการดูแลการซื้อขายและรับเป็นธุระในตลาดเงินและตลาดพันธบัตรรัฐบาล
รวมถึงเป็นนายธนาคารให้รัฐบาลทั่วโลกของเฟดนิวยอร์คนั้น
ธนาคารกลางอังกฤษก็มีการควบคุมและทำธุรกรรมและให้บริการในลักษณะคล้ายๆกับเฟดนิวยอร์คด้วย
ธนาคารกลางอังกฤษมีตู้เซฟเก็บทองคำและเป็นผู้ดูแลระบบการชำระราคาและการสว่งมอบพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษด้วย
และที่สำคัญลนดอนเป็นศูนย์กลางการค้าเงินของโลกเช่นเดียวกับนิวยอร์คด้วย
จะเห็นได้ว่านอกจากประเทศต่างจะเป็นเจ้าหนี้ของสหรัฐฯแล้ว
ประเทศเหล่านี้ทั้งจีน
รัสเซีย อาหรับ
และประเทศอื่นๆกลับต้องพึ่งรัฐบาลสหรัฐฯในการเป็นธุระในการจัดเก็บและส่งมอบทรัพย์สินอย่างพันธบัตรรัฐบาล
และต้องทำธุรกรรมในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนผ่านธนาคารกลางสหรัฐฯที่นิวยอร์ค
แถมธนาคารเอกชนที่ต้องไปใช้บริการทำธุรกรรมต่างๆก็เป็นธนาคารสหรัฐฯและรวมถึงอังกฤษทั้งสิ้น
และธนาคารเหล่านี้ซึ่งมีสาขาทั้งในลอนดอนและนิวยอร์คต่างต้องอบู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาลสหรัฐฯและอังกฤษทั้งสิ้น
และท้ายที่สุดธุรกรรมต่างๆต้องมาลงเอยที่ธนาคารกลางของทั้ง2 ประเทศอีกที
เมื่อการดำเนินนโยบายการเงินของทุกประเทศต้องมีเฟดนิวยอร์คและธนาคารกลางอังกฤษช่วยเป็นธุระให้ทั้งหมด
ก็มีคำถามที่น่าคิดว่าข้อมูลเหล่านี้จะไม่รั่วไปที่อื่นเลยหรือไม่
อีกทั้งประวัติศาสตร์ของธนาคารกลางของสหรัฐฯและอังกฤษและสภาพในปัจจุบันนั้นล้วนมีอิทธิพลของนายทุนการเงินทั้งธนาคารและกองทุนขนาดใหญ่ไปยุ่งเกี่ยวด้วยทั้งสิ้น
ซึ่งคนพวกนี้ก็คือ
คนที่อยู้เบื้องหลังหายนะทางการเงินและออกโรงโจมตีค่าเงินในช่วงปี1997 และกดดันให้รัฐบาลสหรัฐฯบีบให้จีนเปิดภาคการเงินให้เสรีด้วย
ในเมื่อเฟดนิวยอร์คมีข้อมูลและรับรู้ธุรกรรมต่างทั้งหมดของรัฐบาลต่างประเทศ
จะแน่ใจได้อย่างไรว่าข้อมูลเหล่านี้จะไม่ตกไปอยู่ในมือของทุนการเงินซึ่งล้วนแต่เป็นยิวทั้งสิ้นด้วย
นโยบายของสหรัฐฯที่ผ่านมาทั้งเฟดและกระทรวงการคลังก็ชัดเจนอยู้แล้วว่าภาคการเงินนั้นจะต้องถูกอุ้มชูช่วยเหลืออย่างดี
ยามวิกฤตจะอัดฉีดเงินช่วยเหลือซึ่งกรรโชกมาจากผู้เสียภาษีและบีบให้รัฐบาลต่างชาติมาซื้อพันธบัตรรัฐบาล
ขณะที่ช่วงที่ไม่มีปัญหา
ทำเรียบขาวจะใช้อำนาจล้นฟ้าบีบให้มีการเปิดเสรีทางการเงินทั่วโลก
และใช้นโยบายการต่างประเทศโจมตีทางเศรษฐกิจไปในตัว
กรณีค่าเงินหยวนนั้นชัดเจนมากในเรื่องนี้
นอกจากจะรู้ความเคลื่อนไหวและควบคุมกระบวนการในการดำเนินนโยบายการเงินของรัฐบาลต่างชาติได้แล้ว
สหรัฐฯยังมีไม้ตายพิเศษอีกอย่างซึ่งสามารถงัดมาใช้ได้หากเกิดเหตุจวนตัวจริงๆ
และเกรงว่าประเทศอย่างจีนหรือรัสเซียจะทำการถล่มค่าเงินดอลลาร์และตลาดทุนสหรัฐฯเพื่อเป็นการตอบโต้นโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ
นั่นคือ
กฎหมายว่าด้วยอำนาจทางเศรษฐกิจฉุกเฉินระหว่างประเทศ
หรือ IEEPA
(International Emergency Economic Powers Act) ซึ่งให้อำนาจประธานาธิบดีสหรัฐฯในการยึดทรัพย์สินของรัฐบาลต่างประเทศหลังจากประธานาธิบดีประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ
หากเกิดภัยคุกคามที่พิเศษและไม่ปกติต่อความมั่งคงของชาติ
นโยบายต่างประเทศ
และรวมถึงเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐฯด้วย
และประเทศสหรัฐฯนั้นมีตลาดทุนเป็นศูนย์กลางของระบบเศรษฐกิจ
การที่ตลาดทุนรวมถึงค่าเงินถูกโจมตีย่อมกระเทือนต่อระบบเศรษฐกิจจนอาจถึงขั้นล้มละลายกันได้
ดังนั้นประธานาธิบดีย่อมสามารถประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อจัดการกับภัยคุกคามนี้ได้
โดยจะมีสำนักงานควบคุมทรัพย์สินต่างประเทศหรือ
ๅOFAC
(Office of Foreign Assets Control)ซึ่งขึ้นกับกระทรวงการคลังสหรัฐฯในการยึดทรัพย์ทั้งเงินสดและตราสารการเงินและระงับธุรกรรมของรัฐบาลต่างชาติ
ตามคำสั่งประธานาธบดี
นั่นก็เท่ากับว่าแม้เป็นเจ้าหนี้
แต่การทำธุรกรรม ข้อมูล
แม้แต่เงินของรัฐบาลต่างประเทศกลับต้องฝากให้ประเทศลูกหนี้อย่างสหรัฐฯดูแล
และการคิดที่จะทำอะไรก็ตามย่อมไม่พ้นหูตาของสหรัฐฯอยู่แล้ว
ดังนั้นหากจีนขยับตัวแค่นิดเดียวและเทขายเงินดอลลาร์ปริมาณมากๆ
แม้จะขายที่ลอนดอน
แต่นั่นเป็นเงินดอลลาร์
และที่สำคัญอังกฤษเป็นพันธมิตรสหรัฐฯที่ใกล้ชิดที่สุด
จีนย่อมถูกอำนาจทางกฎหมายนี้ตามมายึดทรัพย์ที่สหรัฐฯและที่อังกฤษด้วย
ซึ่งนั่นย่อมทำให้จีนเองกลับกลายเป็นผู้ล้มละลาย
งานนี้ไม่ต้องพูดถึงประเทศผู้ค้าน้ำมันอาหรับที่นอกจากเงินจะฝากไว้ที่สหรัฐฯและอังกฤษแล้ว
ยังมีกองทัพสหรัฐฯเอาปืนไปจ่อหัวถึงบ้าน
ขณะที่สหรัฐฯคงอำนาจในการปกป้องความมั่นคงทางเศรษฐกิจของตัวเอง
กลับปล่อยปละละเลยหรือแม้แต่เป็นใจให้สถาบันการเงินตัวเองไปถล่มตลาดทุนและค่าเงินของประเทศต่างๆได้
แต่ทำไมเรากลับไม่มีสิทธิ์ยึดทรัพย์ของสถาบันการเงินเหล่านั้นได้เลย
โดยอ้างความมั่นคง
นั่นเพราะสหรัฐฯจะบอกว่านี่คือ
กลไกตลาด ไม่มีผิดอยู่แล้ว
นั่นเท่ากับว่าอาชญากรรมฐานความผิดเดียวกัน
แต่ผู้ทำผิดคนละคน
ความผิดจะกลายเป็นต่างกันทันที
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1835 ครั้ง