เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เทเลกราฟ และแท็บลอยด์เดลี่ เมล์ ได้เผยรายละเอียดของชีวิตอันแสนสุขของครอบครัวของของโอซาม่า บิน ลาเดน ในบ้านหลังใหญ่ที่ถูกตั้งชื่อว่า ” วาซิริสถาน แมนชั่น “ตามชื่อของจังหวัดวาซิริสถาน ที่เขาเคยหนีไปกบดานตอนที่ถูกพลิกแผ่นดินไล่ล่า หลังเกิดเหตุวินาศกรรมโจมตีสหรัฐ เมื่อวันที่ 11 กันยายน
ครอบครัวบิน ลาเดน ได้อาศัยอยู่ใต้จมูกกองกำลังรักษาความมั่นคงปากีสถาน ภายใต้ชื่อ ” ข่าน “มานานถึง 5 ปี และ ” นายข่าน ” ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว ได้ให้ความไว้วางใจอย่างสูงสุดต่อนายอาบู อาห์เหม็ด อัล-คูเวตติ หนึ่งในคนถือสารของเขา ผู้อาศัยอยู่บ้านใกล้เรือนเคียง เพิ่งจะเข้าใจเมื่อวานนี้ว่า เหตุใดครอบครัวที่ทำตัวเป็นกันเอง ถึงได้ปกป้องความเป็นส่วนตัวอย่างมาก
เพื่อนบ้านคนหนึ่ง บอกว่า ไม่เคยเห็นมีคนไปมาหาสู่บ้านหลังนี้ ซึ่งอาศัยอยู่ด้วยกัน 2 ครอบครัวหัวหน้าครอบครัวชื่อ อาร์ชัด ข่าน อยู่ในวัย 40 กว่า และมีน้องชายชื่อ ทาริค นอกจากนี้ ยังมีเด็กอีก 8 หรือ 9 คน ผู้หญิง 2 หรือ 3 คน แต่ไม่แน่ใจว่า มีผู้หญิงจริง ๆ กี่คน เพราะพวกผู้หญิงมักจะแต่งชุดยาวกรอมเท้าและสวมผ้าคลุมหน้ามิดชิดเวลาออกไปข้างนอก คนที่บ้านนี้ รวมทั้งเด็ก ๆ พูดภาษาปาชตุน หรือ ปาทานได้อย่างชัดเจน
เพื่อนบ้านบอกด้วยว่า ทุกเช้า พวกผู้หญิงและเด็กจะออกจากบ้านด้วยแวน ซูซูกิ ปี 1987 สีแดงแต่ไม่แน่ใจว่า พวกเขาไปโรงเรียนหรือไปที่อื่น แต่ไม่เคยเห็นบิน ลาเดน และไม่อยากเชื่อว่า เขาอยู่ที่นั่น คนในบ้านข่าน ใช้ชีวิตกันอย่างสงบ ไม่มีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ มีแต่พืชผักสวนครัวเช่น มะเขือเทศ ,ข้าวสาลี , กระหล่ำปลี , กระหล่ำดอก และยังมีกัญชาป่าขึ้นอยู่ตามกำแพงสูง
คนในบ้านนี้ ได้ชื่อว่า จ่ายเงินตรงเวลาจนเป็นที่นิยมชมชอบของบรรดาเจ้าของร้านค้าใกล้เคียงพวกเขาบอกคนอื่นว่า มีรายได้จากการค้าทองคำ บ้านของพวกเขามีกำแพงสูงแน่นหนา ข้างบนมีลวดหนามกั้นอีกชั้นหนึ่ง ไม่เคยให้เบอร์โทรศัพท์ใคร และในบ้านก็ไม่มีโทรศัพท์ , อินเตอร์เน็ตหรือแม้แต่โทรทัศน์ ที่ดูขัดกับคนมีฐานะขั้นมหาเศรษฐี เพราะแม้แต่บ้านคนชั้นกลางก็ยังมี
เวลาเด็กนักเรียนเตะลูกบอลเข้าไปในบ้าน คนในบ้านจะไม่ยอมให้เข้าไปเก็บ แต่จะจ่ายค่าตอบลแทนให้ 100 รูปี เพื่อนบ้านไม่ได้สงสัยในความลึกลับของคนในบ้าน เพราะคิดว่า อาร์ช้าด ข่าน ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว คงเหมือนนักธุรกิจชาวปากีสถานคนอื่น ที่สร้างศัตรูเอาไว้ในเส้นทางสู่ความมั่งคั่ง
บ้านหลังนี้ จงใจสร้างเพื่อนซ่อนความเคลื่อนไหวภายในจากสายตาผู้คนและป้องกันผู้บุกรุก ไม่มีระเบียงเหมือนบ้านหลังอื่นในอั๊บบอตตาบัต และการล้อมรอบด้วยกำแพงสูง ทำให้มีสภาพเหมือนพวกสถาบันมากกว่าที่อยู่อาศัย เพื่อนบ้านคนหนึ่ง บอกว่า ดูเหมือนโกดังมากกว่าบ้านที่สร้างให้คนอยู่
นับเป็นเวลา 5 ปีแล้ว ที่อาร์ช้าด ข่าน ซื้อที่ดินที่โดดเดี่ยวห่างไกลแห่งนี้ เขาจ้างคนงานช่างในพื้นที่สร้างบ้านหลังนี้ โดยบอกว่า ย้ายมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองเปชวาร์ พวกเขาเผาขยะกันเองในบ้าน จนไม่เหลือร่องรอยให้เห็นว่า พวกเขากินอะไรกัน ขณะที่เพื่อนบ้านเอาไปทิ้งขยะนอกบ้านครอบครัวไม่ค่อยออกไปไหน และมักขับรถไปแม้จะเป็นระยะทางสั้น ๆ เด็กชายคนนหนึ่งที่เคยมีโอกาสเข้าไปในบ้าน บอกว่า เขาได้กระต่ายมา 2 ตัว
เด็กชายคนเดิม กล่าวว่า เขาเคยเข้าไปในบ้านหลังนี้ และเห็นกล้องวงจรปิดติดตั้งที่รั้ว ที่จะสามารถมองเห็นคนที่อยู่นอกรั้วได้ เจ้าของบ้านมีภรรยา 2 คน คนหนึ่งพูดภาษาอารบิค และอีกคนหนึ่งพูดภาษาอูรดูร์ มีลูก 3 คน เป็นผู้หญิง 1 คน และชาย 2 คน
หลังเสร็จสิ้นปฏิบัติการจู่โจม ทางการอเมริกัน ได้ทราบว่า แท้จริงแล้ว อาร์ชัด กับทาริค น้องชายเป็นแค่คนถือสารให้กับบิน ลาดิน ที่ทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาสอดส่องความเคลื่อนไหวในโลกภายนอกให้เขาได้รับรู้
ขณะเดียวกัน มีการวิเคราะห์กันถึงโลกหลังการจากไปของบินลาดิน ประการแรก หนังสือพิมพ์ไทยเกือบทั้งหมดให้ความสำคัญกับเรื่องของการตายของบิน ลาเดน ในแง่ของการถูกจัดการโดยสหรัฐ และในแง่ของการพูดถึงความหวาดกลัวในแง่ของการแก้แค้นกลับ
เรื่องนี้อาจจะแตกต่างจากการพาดหัวในเมืองนอกสักหน่อย โดยเฉพาะในอเมริกานั้น เรื่องใหญ่อยู่ที่การตาย การเฉลิมฉลองของชาวอเมริกา และก้าวต่อไปของการก่อการร้าย ซึ่งพวกเขาเห็นว่ายังไม่จบลงง่ายๆ และถ้ามีการลงข่าวในเชิงการเฉลิมฉลองมากเกินไป ก็อาจส่งผลด้านกลับให้เกิดการต่อต้านอเมริกาได้
ประการที่สอง คำถามที่ใหญ่ตามมาก็คือ บิน ลาดินนั้น มีความสำคัญแค่ไหนในขบวนการก่อการร้าย โดยเฉพาะอัล-กออิดะห์ เพราะโครงสร้างขบวนการก่อการร้ายนั้นมีลักษณะที่เป็นเครือข่าย และบิน ลาดิน อาจเป็นผู้นำเชิงอุดมการณ์มากกว่าผู้นำในการต่อสู้ในปฏิบัติการจริง
ประการที่สาม การจัดการ บิน ลาดินนั้น มีการตั้งคำถามว่า ทำไมจึงเกิดขึ้นในช่วงนี้ ก็มีการอ้างว่า ถ้าจัดการบิน ลาดิน ในช่วงก่อนหน้าการลุกฮือในประเทศตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ อันเนื่องมาจากถ้ามีการจัดการในช่วงนั้นคนรุ่นใหม่จำนวนมากในประเทศเหล่านั้น อาจจะหันมาโกรธแค้นและต่อต้านอเมริกาก็ได้ ดังนั้นอเมริกาจึง “เข้าเร็ว ออกเร็ว” ในการเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในตะวันออกกลาง และแอฟริกา
ประการที่สี่ การจัดการบิน ลาดิน นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นในอัฟกานิสถาน แต่เกิดในปากีสถาน ซึ่งทำให้ภาพของปากีสถานในฐานะศูนย์กลางของขบวนการก่อการร้ายมากขึ้น ไม่ว่าปากีสถานจะปฏิเสธแค่ไหน
นอกจากนี้ บริเวณที่จัดการบิน ลาดิน ได้นั้นเป็นแค่ย่านชานเมือง ห่างจากเมืองหลวงแค่ไม่เกินครึ่งชั่วโมง และว่ากันว่าสหรัฐนั้นไม่ได้แจ้งให้แก่หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ทราบมากนัก ซึ่งในอีกด้านหนึ่งปากีสถานเองก็จะต้องเจอคำถามในแง่ของเอกราชและอธิปไตยของประเทศ และความชอบธรรมของรัฐบาลในประเทศอิสลามเอง
ประการที่ห้า การจัดการ บิน ลาดิน เป็นตัวอย่างที่สำคัญของบทบาทของอเมริกาในการเมืองโลกที่มักจะชอบใช้วิธีในการว่าจ้างและจัดตั้งกองกำลังที่จัดการกับศัตรูของสหรัฐ ไม่ว่ากรณีของ บิน ลาดิน ที่ถูกสร้างขึ้นมาจัดการกับอัฟกานิสถานที่ถูกหนุนโดยรัสเซีย หรือซัดดัม ที่เป็นพันธมิตรกับอเมริกาช่วงสงครามอิหร่าน
ประการที่หก ความสูญเสียของชาวอเมริกัน และประเทศอื่นๆ จากการก่อการร้าย ก็ต้องถูกนำเสนอควบคู่ไปกับความสูญเสียจากการ “ต่อต้านการก่อการร้าย” ทั่วโลกเช่นกัน
ประการที่เจ็ด ผลพวงที่ย้อนกลับไม่ได้นับตั้งแต่มีการก่อการร้ายและการต่อต้านการก่อการร้ายก็คือกำเนิดของ “ระบบความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ” หรือการเมืองแห่งความมั่นคงภายใน ที่สหรัฐ ที่ทำให้เกิดการตั้งคำถามกับการละเมิดสิทธิเสรีภาพในนามของการปราบปรามการก่อการร้าย และนั่นหมายถึงการสร้างระบอบการเมืองแห่งความกลัว ที่ทำให้เกิดการ “บุกก่อนเพื่อไม่ให้ถูกบุก” การอ้างว่าเมื่อตนถูกกระทำก็สามารถจัดการอีกฝ่ายหนึ่งได้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อระบบการจัดการความจริงของหลายประเทศทั่วโลก
รวมทั้งบางประเทศที่มองคนในประเทศตัวเองว่าเป็นผู้ก่อการร้ายเช่นกัน
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1899 ครั้ง