รัฐบาลดูไบให้ปนำ้หนักกับทางเลือกทางพลังงานจากถ่านหินและนิวเคลียร์เนื่องจากดูไบต้องการกระจายแหล่งพลังงานเพื่อตอบสนองความต้องการในอนาคต เจ้าหน้าที่ระดับสูงระบุ
ภาคเอกชนจะได้รับอนุญาตให้ลงทุนในโครงการด้านพลังงานในอนาคตในฐานะส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์พลังงาน 2030 แหล่งข่าวกล่าว
“เรากลังมองหาการเป็นหุ้นส่วนของภาครัฐและเอกชนและสิ่งนี้ก็เกิดขึ้นแล้วในโครงการเฮสเซียน อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนจะไม่เกิน 40%” นายซาอีด โมฮัมหมัด อัลทาเยอร์ รองประธานกรรมการสภาสูงสุดด้านพลังงาน และกรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของการไฟฟ้าและประปาดูไบหรือ DEWA (Dubai Electricity and Water Authority) กล่าวกับ Gulf News
สภาสูงสุดด้านพลังงานจะทำการส่าจ้างบริษัทแมคคินซี่ แอนด์ คัมพานี บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลก ในการช่วยพัฒนากลุยุทธ์พลังงาน 2030 ให้รัฐบาลดูไบ ซึ่งจะช่วยให้ดูไบสำรวจแหล่งพลังงานทางเลือกอื่นๆเพื่อใช้ในภาคสาธารณูปโภคและตอบสนองความต้องการในอนาคต
การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งได้ดันให้ความต้องการใช้พลังงานทั่วภูมิภาค GCC สูงขึ้นซึ่งรัฐบาลต่างๆก็กำลังมองหาการใช้พลังงานนิวเคลียร์และพลังงานทางเลือกอื่นๆเพื่อรักษาการเติบโต ก่อนหน้านี้ UAE ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างกลุ่มบริษัทเกาหลีในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
สภากำลังศึกาาการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ในภาคพลังงานในระยะสั้น กลาง และยา่ว “การศึกษาในขั้นนี้จะเสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม ความต้องการพลังงานในดูไบกำลังเพิ่มขึ้น” นายอัลทาเยอร์กล่าว
“อย่างไรก็ตาม ทางเลือกจากพลังงานถ่านหินและนิวเคลียร์มีการใช้มากในในหลายประเทศอุตสาหกรรม ทั้งสหรัฐฯ จีน เกาหลี ซึ่งเราหวังว่าเราจะสามารถนำมาปรับใช้ได้ดี นี่จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการกระจายแหล่งพลังงานในดุไบซึ่งรวมถึงพลังงานทางเลือกและพลังงานนิวเคลียร์ และสร้างแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนเพื่อตอบสนองความต้องการทางการพัฒนาในอนาคต
บทบาทที่โดดเด่น
รายงานนี้คาดว่าจะทำการคาดการณ์ความต้องการใช้พลังงานและสาธารณูปโภคสำหรับดูไบและเสนอโรดแมปสำหรับดูไบโดยมีภาคเอกชนซึ่งคาดว่าจะมีบทบาทที่โดดเด่นในการผลิตพลังงาน
ความต้องการพลังงานในดูไบสูงมาก นายอลัทาเยอร์กล่าว แต่ไม่สามารถคาดได้ว่าในปี 2030 มันจะสูงขนาดไหน “ความต้องการใช้ไฟฟ้าในดูไบได้พุ่งถึงจุดสูงสุดในเดือนมิถุนายน มันสูงขึ้น 5.6% เมื่อเทียบกับระดับก่อนหน้าและน่าจะสูงขึ้นไปอีก” เขากล่าว
การเติบโตแบบก้าวกระโดดในความต้องการพลังงานและความจำเป็นในการหาแหล่งเชื้อเพลิงได้ทำให้รัฐบาลมองหาการกระจายแหล่งพลังงานเพื่อตอบสนองความต้องการในอนาคตเขากล่าว
“เราคุยกันเรื่องการพัฒนากลยุทธ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยคาร์บอน การใช้พลังงานที่ยั่งยืนในหลายๆภาคส่วนเช่นเดียวกับการใช้พลังงานหมุนเวียน” เขากล่าว แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเรื่องงบลงทุนโดยประมาณของแผนยุทธศาสตร์พลังงาน
“เราไม่สามารถให้ตัวเลขได้เนื่องจากเรากำลังมองหาตัวชี้วัดและกำลังคำนวณต้นทุนต่อกิโลวัตต์ สำหรับพลังงานนิวเคลียร์ เราไจะไม่ใช้มากกว่า 1,000 เมกะวัตต์”
รัฐบาลดูไบได้ออกกฎหมายข้อที่ 19 ของปี 2009 จัดตั้งสภาสูงสุดด้านพลังงานในฐานะหน่ยงานอิสระตามกฎหมาย
ที่มา Gulf News