จากAl
Jazeera ถึงCNC
: พัฒนาการสงครามสื่อครอบโลกระหว่างตะวันออกกับตะวันตก
ในระบบทุนนิยมนั้น
ทุนสื่อถือเป็นทุนที่มีลักษณะที่พิเศษกว่าทุนอื่นๆ
เพราะนอกจากลักษณะทั่วๆไปของทุนที่มุ่งเน้นการทำกำไรสูงสุดตามแบบแผนของธุรกิจทั่วๆไปในระบบทุนนิยมแล้ว
ทุนสื่อยังมีลักษณะของการทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการครอบงำในเชิงสัญลักษณ์
การสร้างอัตลักษณ์ทางความคิดทั้งในทางวัฒนธรรมและการเมืองด้วย
ทุนสื่อถือเป็นทุนที่มีบทบาทในทางความคิดไม่ต่างจากสถาบันทางสังคมอื่นๆอย่างระบบการศึกษาหรือแม้กระทั่งศาสนา
ด้วยอานุภาพที่มหาศาลของอำนาจสื่อนี่เองที่ส่งผลให้ประเทศมหาอำนาจต้องการที่จะมีอำนาจในวงการสื่อเพื่อครอบโลกโดยเฉพาะโลกทางความคิดของคน
การที่มหาอำนาจอย่างสหรัฐฯหรืออังกฤษเป็นเจ้าของสื่อครอบโลกได้นั้นส่งผลต่อการชี้นำเรื่องของอุดมการณ์ทางการเมือง
ลักษณะการใช้ชีวิต
และความชอบธรรมในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ
เมื่อมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯและอังกฤษเป็นเจ้าของสื่อครอบโลกได้
ก็ทำให้ปริมณฑลทางอำนาจทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมืองแผ่ขยายไปทั่วโลก
และหยั่งรากลึกไปในความคิดจิตใจของทุกๆคน
ทำหน้าที่ผลิตซ้ำอุดมการณ์ทางการเมือง
เป็นเครื่องมือในการยึดครองตลาดผ่านการยึดครองความคิดจิตใจผู้บริโภคให้จดจำ
ศรทัธา หรือแม้แต่คลั่งและภักดีในตราสินค้าต่างๆ
บทบาทในทางการเมืองของสื่อนั้นถือว่าเข้มข้นมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็นแล้วที่สหรัฐฯและโซเวียตต่างใช้การโฆษณาชวนเชื่อใส่ร้ายฝ่ายตรงข้าม
การต่อสู้ทางสื่อดูจะเข้มข้นอย่างมากและบทบาทของสื่อครอบโลกก็ทำหน้าที่อีกครั้งหนึ่งในฐานะผู้มีบทบาทสำคัญต่อชัยชนะของกองทัพและนโยบายการต่างประเทศสหรัฐฯหลังเหตุการณ์11กันยายน2001ภายใต้การสร้างวาทกรรมผู้ก่อการร้ายและมีกระบวนการเชื่อมโยงผู้ก่อการร้าย
อิสลาม และ คนตะวันออกกลาง/อาหรับ
ให้เสมือนหนึ่งเป็นสิ่งเดียวกัน
จนกระทั่งเกิดกระแสหวาดกลัวและเกลียดชังคนมุสลิมและชาวอาหรับอย่างรุนแรงไปทั่วสหรัฐฯและในส่วนอื่นๆของโลก
ขณะเดียวกันก็ได้ทำให้สหรัฐฯมีความชอบธรรมในการยกกำลังทหารนับแสนนายพร้อมแสนยานุภาพของกองทัพเรือและกองทัพอากาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกยกพวกถล่มทั้งอัฟกานิสถานและอิรักแบบไม่มีใครกล้าขัดขืน
ทั้งๆที่สหรัฐฯเคยสนับสนุนทั้งตาลีบันและซัดดัมมาก่อน
แต่สื่อครอบโลกของสหรัฐฯก็ปิดหูปิดตาประชาคมโลกและบิดเบือนเรื่องนี้อย่างชัดเจน
แต่11กันยายน2001ก็กลายเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามสื่อครอบโลกเช่นกัน
ครั้งหนึ่งสื่อของสหรัฐฯและอังกฤษภายใต้เครืออภิมหาบริษัทสื่อโลกอย่างNews
Corp, Walt Disney, Time Warner, New York Times,Viacom, Financial
Times, Reutersซึ่งครอบครองทุกปริมณฑลข่าวไปทั่วโลกก็มีคู่แข่งใหม่ที่พุ่งขึ้นมาตอบโต้กระแสข่าวที่โหมกระหน่ำมาจากศูนย์กลางอำนาจโลกนั่นก็คือAl
Jazeera สถานีโทรทัศน์ของกาตาร์ที่รายงานข่าวตอบโต้กับCNNและFox
News อย่างดุเดือดช่วง11กันยายน2001และสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในอัฟกานิสถานและอิรัก
และทำให้ผู้คนทั่วโลกรู้จักและหันมาสนใจการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อกระแสทางเลือกจากคนตะวันออกมากขึ้น
โดยความนิยมในตัว Al
Jazeera สามารถวัดได้จากการค้นหาชื่อสถานีในgoogleที่พุ่งพรวดเป็นหนึ่งในคำที่มีการค้นหาสูงที่สุดในโลกในช่วงสงครามอิรัก
นั่นถือเป็นครั้งแรกของสหรัฐฯที่พ่ายแพ้เกมสื่ออย่างยับเยินในยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งน่าจะยิ่งสร้างอำนาจในการใช้สื่อครอบโลกให้กับสหรัฐฯและพรรคพวกได้มากขึ้น
แต่ขณะเดียวกันปัจจัยโลกาภิวัตน์นั้นกลับเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้คนทั่วโลกสามารถมองหาและสัมผัสเนื้อหาสื่อทางเลือกอื่นๆนอกเหนือจากสื่อกระแสหลักได้
นี่เองจึงเป็นจุดเปลี่ยนที่Al
Jazeeraฉวยโอกาสและลุกขึ้นมาพลิกกระแสต่อต้านสงครามและสามารถทำให้ประชาคมโลกรับฟังและทำความเข้าใจโลกมุสลิมมากขึ้น
หลังจากสหรัฐฯพังยับในเชิงของภาพลักษณ์จากการที่รัฐบาลบุชตัดสินใจถล่มอิรักในปี2003สหรัฐฯก็กลับมาเปิดเกมสื่อใหม่อีกครั้งหลังจากระบบเศรษฐกิจโลกเกิดการพลิกผันครั้งใหญ่จากการพุ่งทะยานของจีนและประเทศเกิดใหม่ทางเศรษฐกิจทั้งกลุ่มBRICเอเชีย
และทุนอาหรับ หากดูหน้าข่าวในช่วง5-6ปีที่ผ่านมาจะพบว่า
สหรัฐฯและตะวันตกใช้สงครามโฆษณาชวนเชื่อไม่ต่างจากยุคสงครามเย็นในการบ่อนทำลายภาพลักษณ์ของจีนในแง่ของประเทศที่พยายามครอบงำและกำจัดคู่แข่งในระบบเศรษฐกิจโลก
แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่จากอินเตอร์เน็ตหรือสื่อพวกSocial
Networking ทำให้สหรัฐฯเปิดฉากโจมตีในวงกว้างกว่าเดิม
สหรัฐฯพยายามปัดสวะของปัญหาในระบบเศรษฐกิจของตัวเองโดยการอ้างว่าจีนมีการบริโภคต่ำเกินไปและตรึงค่าเงินอ่อนเกินจริง
ขณะเดียวกันในทางการเมืองสหรัฐฯใช้การโฆษณาชวนเชื่อของตัวเองผ่านการระดมผู้เชี่ยวชาญและการออกมาให้ความเห็นของนักการเมืองมาพูดในทำนองว่า
จีนพยายามจะกลืนทรัพยากรทั้งโลก
จีนเป็นต้นเหตุของราคาน้ำมันที่แพง
มีการสร้างภาพหลอนของการแผ่ขยายอำนาจทางทหารของจีนที่พยายามจะครอบงำภูมิภาคเอเชียและเป็นภัยความมั่นคง
ทั้งๆที่สหรัฐฯคือ
ประเทศที่มีงบประมาณทหารและกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในทุกๆภูมิภาคของโลกรวมถึงเอเชีย
ไม่เพียงเท่านั้นสหรัฐฯยังโหมกระแสถล่มจีนในการเข้าไปลงทุนในแหล่งทรัพยากรในแอฟริกา
ว่าจีนละเมิดสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมผู้นำเผด็จการและการคอรัปชั่น
การโจมตีจีนในช่วงก่อนโอลิมปิกทั้งเรื่องคุณภาพสินค้าและทิเบต
แต่ด้วยอินเตอร์เน็ตนี่เองที่คนจีนและสื่ออย่างChina
Daily ออกมาแฉว่าสถานีCNNจงใจตัดต่อภาพในทิเบตว่าประชาชนถูกเจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนทำร้าย
ทั้งๆที่ในความเป็นจริงคนในทิเบตกำลังก่อจลาจลอย่างหนักและรัฐต้องเข้าไปปรามตามหน้าที่
สร้างกระแสความโกรธแค้นและไม่พอใจต่อชาวจีนกว่าพันล้านคนอย่างรุนแรง
ปัจจุบันแนวรบสงครามสื่อของสหรัฐฯและตะวันตกได้ผันเกมเข้าสู่ส่วนหนึ่งของสงครามเศรษฐกิจและการเงินอย่างเต็มตัวหลังเกิดวิกฤตการเงินตั้งแต่ปี2007โดยสื่อของสหรัฐฯและตะวันตกได้ใช้การโฆษณาชวนเชื่อโจมตีการเข้ามาไล่ซื้อกิจการสถาบันการเงิน
บริการ
ธุรกิจโทรคมนาคมและทรัพยากรของกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของจีนและอาหรับว่า
กองทุนเหล่านี้คิดจะเข้ามายึดระบบเศรษฐกิจและเป็น
“ภัยต่อความมั่นคงของชาติ”
จนเกิดกระแสต่อต้านกองทุนรัฐบาลเหล่านี้ไปทั่ว
ต่อมาสหรัฐฯใช้สงครามข่าวสารเล่นงานจีนอย่างหนักอีกครั้งในเรื่องเงินหยวน
และคราวนี้เล่นแรงถึงขั้นที่ว่า
จีนคิดจะทุ่มเงินดอลลาร์ทิ้ง
เมื่อจีนและประเทศอื่นๆที่สหรัฐฯมองว่าเป็นคู่แข่งทางการเมืองและเศรษฐกิถูกจถล่มอย่างหนักในช่วง5-6ปีที่ผ่านมาหลังสหรัฐฯพ่ายแพ้เกมสื่อยับเยินหลังสงครามอิรัก
ประเทศเหล่านี้จึงเล็งเห็นความจำเป็นในการหาช่องทางในการคานอำนาจสื่อตะวันตกในการสื่อสารกับคนทั้งโลก
ซึ่งปรากฏการณ์ของ Al
Jazeera ได้จุดประกายเรื่องนี้
และจีนเองก็ดูจะมุ่งมั่นในการทำสงครามสื่อกับสหรัฐฯอย่างมาก
ปัจจุบันจีนมีกระบอกเสียงหลักใน4กลุ่มธุรกิจสื่อที่รัฐเป็นเจ้าของโดยศูนย์กลางของแนวรบสื่อจีนก็คือ
สำนักข่าวซินหัว
นอกจากนั้นยังมีพันธมิตรอย่างหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษChina
Daily และPeople’s
Dailyและสถานีโทรทัศน์CCTVในการผลิตรายการและความเห็นของจีนที่มีต่อจีนเองและต่อสถานการณ์ทั่วโลกในปัจจุบันด้วย
จีนแสดงความชัดเจนในการตอบโต้การโหมกระแสของสื่อครอบโลกตะวันตกด้วยการอนุมัติเงิน45,000ล้านหยวนให้กับCCTVซินหัว
และ People’s
Daily คนละ15,000ล้านหยวนเมื่อช่วงมกราคม2009ในการเสนอโครงการสื่อเพื่อแผ่อิทธิพลในเวทีโลก
ขณะเดียวกันในวันที่ 23กุมภาพันธ์2009จีนได้สร้างความฮือฮาจากการที่รองหัวน้าบรรธิการของหนังสือพิมพ์China
Daily ไปสั่นระฆังในตลาดหุ้นNasdaqของสหรัฐฯ
และประกาศวางจำหน่ายหนังสือพิมพ์China
Daily ฉบับสำหรับคนสหรัฐฯโดยเฉพาะ
โดยเริ่มที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจในนิวยอร์กเพื่อให้คนสหรัฐฯรับรู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำธุรกิจในจีน
ซึ่งจุดนี้จีนได้ใช้อำนาจทางเศรษฐกิจที่คนยุคนี้ต่างต้องมาลงทุนในจีนในการขยายอิทธิพลของสื่อจีน
โดยพ่วงไปกับการขยายตัวของเศรษฐกิจด้วย
และล่าสุด1กรกฎาคม2010จีนได้ทำการเปิดสถานีโทรทัศน์ช่องใหม่ของโลกใต้ร่มเงาของซินหัวภายใต้ชื่อCNC
World โดยออกอากาศเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน
เพื่อนำเสนอข่าวในมุมมองของจีนทั้งข่าวจีนและข่าวต่างประเทศ
โดย CNC
World มีโครงการจะออกอากาศเป็นภาษาฝรั่งเศส
สเปน โปรตุเกส รัสเซีย อาหรับ
และญี่ปุ่นในอนาคตด้วย
ทั้งนี้ซินหัวซึ่งเป็นบริษัทแม่ของCNCจะมีการปรับธุรกิจการนำเสนอข่าวของCNCและซินหัวอย่างครบวงจรทั้งโทรทัศน์
เคเบิ้ล อินเตอร์เน็ต
และในมือถือด้วย
รวมถึงบริการข้อมูลทางการเงินซึ่งในทุกวันนี้BloombergและReutersกำลังครอบครองตลาดโลกในด้านนี้
ปัจจัยทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเคลื่อนแนวรบสื่อครอบโลกในปัจจุบัน
ตอนนี้หากสังเกตดีๆจะเห็นได้ว่าประเทศอย่างจีน
รัสเซีย และอาหรับ
กำลังตอบโต้สหรัฐฯและตะวันตกด้วยการโจมตีระบบทุนนิยมเสรีและความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ
และมีแนวโน้มว่ามหาอำนาจเศรษฐกิจอื่นๆในอนาคตเช่น
บราซิล อินเดีย
จะพยายามหาพื้นทีของตัวเองในสงครามสื่อโลกมากขึ้น
โดยในปัจจุบันนอกจากจีนและอาหรับจะเป็นสื่อโลกตะวันออกที่โดดเด่นแล้ว
สื่อจากรัฐบาลรัสเซียก็ถือว่ากำลังมาแรงเช่นกัน
โดยขณะนี้หัวหอกของสื่อรัสเซียที่เป็นกระบอกเสียงของประเทศและโจมตีสหรัฐฯทุกด้านก็คือ
สถานีโทรทัศน์ Russia
Today หรือ
ช่อง RTซึ่งกำลังได้รับความนิยมในหมู่ผู้ชมทั่วโลก
และเมื่อโลกมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้นและสื่อตะวันตกกำลังมีปัญหาในการสื่อสารมากขึ้น
ขณะที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจเข้ามามีบทบาทในสงครามสื่อมากขึ้น
แนวโน้มอีกอย่างจึงเกิดขึ้นนั่นคือ
สื่อตะวันตกพยายามเสนอข่าวเป็นภาษาท้องถิ่นโดยเฉพาะภาษาจีนมากขึ้น
เพื่อช่วงชิงพื้นที่ข่าวสาร
ขณะเดียวกันก็เป็นตลาดใหญ่โตที่น่าสนใจด้วย
ดังนั้นในอนาคตสงครามสื่อคงยกระดับความเข้มข้นและรุนแรงมากขึ้นจากพลวัตทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจที่มีความผันแปรอย่างรวดเร็ว
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 2789 ครั้ง