นายพอล กริฟฟิธส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดูไบแอร์พอร์ตสออกมาเปิดเผยกับบลูมเบิร์กว่า บริษัทของเขาเตียมเสนอแผนขยายสนามบินเพิ่มเติมในอีก 2-3 เดือนข้างหน้านี้ อย่างไรก็ตามเขาปฏิเสธที่จะปืดเผยถึงงบลงทุนทั้งหมดตามแผน
รัฐดูไบแห่งประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE วางแผนที่จะขยายสนามบินเดิมพร้อมทั้งเตรียมสร้างสนามบินแห่งใหม่แม้ว่ายังต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐเพื่อนบ้านอย่างอาบู ดาบีก็ตาม ทั้งนี้นายกริฟฟิธส์กล่าว่าอุตสาหกรรมการบินของดูไบมีสัดส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 25 ของมูลค่าเศรษฐกิจโดยรวมของดูไบ เนื่องจากว่าดูไบเองมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐายทางการบินและในสายการบินเอมิเรตส์แอร์ไลน์อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างฐานเศรษฐกิจของตัวเองขึ้นมาภายใต้พื้นฐานของการแขดแคลนทรัพยากรน้ำมัน
“วิสัยทัศน์และทัศนคติของดูไบต่อโครงสร้างพื้นฐานของสนามบินมีอยู่ว่า หากคุณจำกัดการขยายสนามบิน การเติบโตจะวิ่งไปที่อื่น ดังนั้น เราจะไม่จำกัดการเติบโตของเราเอง” นายกริฟฟิธส์กล่าวกับบลูมเบิร์ก
ท่าอากศยานนานาชาติดูไบในปัจจุบันถือเป็นท่าอากศยานอันดับที่ 17 ของโลกในแง่ปริมาณผู้โดยสาร โดยในปี 2009 ที่ผ่านมา ท่าอากาศยานแห่งนี้รองรับผู้โดยสารจำนวน 40.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 จากปี 2008 ดูไบแอร์พอร์ตสคาดว่าในปี 2010 นี้ปริมาณผู้โดยสารที่มาใช้บริการจโตขึ้นร้อยละ 14 เป็น 46 ล้านคน
นายกริฟฟิธส์ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า สนามบินดูไบจะเพิ่มความสามารถในการรองรับผู้โดยสารไปเป็น 75 ล้านคนต่อปีภายในปี 2012 จากที่ปัจจุบันสนามบินแห่งนร้สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 60 ล้านคนต่อปี และหลังจากนั้นคาดว่าความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นไปที่ 97 ล้านคนต่อปี
สนามบินแห่งใหม่
ถัดไปอีก 40 กิโลเมตรจากสนามบินเดิม ขณะนี้ดูไบกำลังดำเนินการสร้างสนามบินแห่งใหม่ที่มีชื่อว่า ท่าอากศยานอัล มัคทูม (Al Maktoum Airport) ซึ่งจะมีศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารสูงถึง 120 ล้านคนต่อปี อย่างไรก็ตามดูไบต้องเลื่อนการเปิดแรกของสนามบินแห่งใหม่นี้ไปเป็นปีนี้เนื่องจากปัญหาของความล่าช้าในการก่อสร้าง สนามบินแห่งใหม่นี้ใช้เงินลงทุนสูงถึง 33,000 ล้านดอลลาร์ นายกริฟฟิธส์เผยกับบลูมเบิร์ก
“หากเรามองว่าสนามบินในดูไบคือส่วนสำคัญของระบบเศรษฐกิจที่นี่ ในสายตาผมก็ดูเหมือนว่าศักยภาพของสนามบินในปัจจุบันและการขยายงานเพิ่มเติมจะสนองความต้องการของเศรษฐกิจดูไบในอนาคตได้” นายนิโคลัส แม็คลีน กรรมการผู้จัดการบริษัทที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์ ซีบี ริชาร์ด เอลลิส ประจำภูมิภาคตะวันออกกลางให้ความเห็นต่อเรื่องนี้
“หากแผนนี้ปราศจากการเห็นหุ้นส่วนกับอาบู ดาบีแล้ว โครงการด้านท่าอากศยานของดูไบจะเป็นโครงการที่ทำได้ยากมาก และเราต้องดูรายละเอียดของโครงการเพิ่มเติมและทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนการระดมทุนของดูไบว่าจะออกมาเป็นอย่างไร” นายแม็คลีนกล่าวเพิ่มเติม
ตลอดหลายปีที่ผ่านมาจนกระทั่งปี 2008 รัฐดูไบและกิจการที่รัฐดูไบเป็นเจ้าของได้กู้หนี้จากต่างประเทศมากกว่า 80,000 ล้านดอลลาร์เพื่อเนรมิตให้ดูไบกลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินและการท่องเที่ยวของภูมิภาค การสะดุดตัวลงของตลาดสินเชื่ออันเนื่องมาจากวิกฤตการเงินในปี 2008 ส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในดูไบตกลงกว่าร้อยละ 50 ส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลงของบริษัทในดูไบจำนวนมาก
ดันภาคท่องเที่ยว
นอกจากแผนการขยายสนามบินครั้งใหญ่แล้ว ดูไบเองมีแผนที่จะผลักดันการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวโดยตั้งเป้าดึงนักท่องเที่ยวเข้าดูไบปีละ 15 ล้านคนภายในปี 2015 ดูไบได้สร้างทั้งเกาะปาล์ม ตึกที่สูงที่สุดในโลก และลานสกีในศูนย์การค้าโดยหวังที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก
เทศกาลช็อปปิ้งดูไบ (Dubai Shopping Festivsal) ซึ่งเริ่มงานแล้วในสัปดาห์นี้ จัดขึ้นเพื่อวางตำแหน่งให้ดูไบเป็นที่หมายในการจับจ่ายซื้อสินค้าชั้นนำของโลก ร้านค้าปลอดภาษีดูไบ (Dubai Duty Free) ได้แถลงเมื่อวันที่ 4 มกราคม ที่ผ่านมาว่า ร้านค้าปลอดภาษีของดูไบสามารถทำรายได้กว่า 1,100 ล้านดอลลาร์ในปี 2009 ที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5 ของยอดรายได้ในร้านค้าปฃอดภาษีตามสนามบินต่างๆทั่วโลก
ที่มา Bloomberg
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 3349 ครั้ง