ทำไมญี่ปุ่นสนใจการเงินอิสลาม
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เคยมีอดีตที่รุ่งโรจน์ในทางเศรษฐกิจและการเมืองในระดับโลกในทศรววรษที่1980และได้รับการจับตามองอย่างมากว่าจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่จะแซงหน้าสหรัฐฯหรือแม้กระทั่งเป็นภัยคุกคามด้วยซ้ำเพราะญี่ปุ่นในยุคนั้นส่งสินค้าตีตลาดไปทั่วโลก
นักลงทุนญี่ปุ่นแทบจะซื้อโลกทั้งโลกได้ด้วยพลังของทรัพยากรทางการเงินที่แทบจะมากที่สุดในโลก
แต่ท้ายที่สุด
ด้วยข้อจำกัดและจุดอ่อนของระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่นผนวกกับความพลิกผันของพลวัตระบบเศรษฐกิจโลก
ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ในภาวะตกต่ำตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจในปี1990 เป็นต้นมา
และถูกซ้ำเติมอย่างหนักอีกครั้งหลังจากวิกฤตการเงินโลกในช่วงปี2007-2008เศรษฐกิจญี่ปุ่นแม้จะมีพื้นฐานที่ดีแต่ก็ยังไปไหนไม่ได้ไกล
การบริโภคและการลงทุนตกต่ำอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ในด้านภาคการเงินนั้นก็ประสบกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นจากศูนย์กลางการเงินที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั้งเซี่ยงไฮ้
ฮ่องกง สิงคโปร์
ดูไบ ซิดนี่ย์
ยังไม่นับแชมป์เก่าอย่างลอนดอนและนิวยอร์กซึ่งยังคงยืนหยัดเป็นผู้นำในระบบการเงินโลกอยู่ได้
แม้จะโดนกระแทกอย่างรุนแรงจากคลื่นสึนามิทำลายล้างทางเศรษฐกิจและการเงินในช่วงปี2007-2008
แต่ในช่วง1สัปดาห์ทั้งก่อนและหลังการแข่งขันฟุตบอลโลก2010รอบชิงชนะเลิศที่แอฟริกาใต้นั้น
ญี่ปุ่นกลับมีความเคลื่อนไหวที่ไม่ธรรมดาในด้านการเงินอิสลาม
โดยบริษัทโนมูระ โฮลดิ้งก์ส
อิ้งค์ (Nomura
Holdings Inc.) บริษัทหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น(และเคยเป็นถึงบริษัทหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย!!ก่อนญี่ปุ่นจะเกิดฟองสบู่แตกในปี1990)ได้สร้างความฮือฮาด้วยการออกพันธบัตรอิสลามถึง2ครั้งในเวลาไล่เลี่ยกันอย่างที่กล่าวมาแล้วในสถานที่ที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของระบบการเงินอิสลามของโลกทั้งคู่
นั่นคือ ในวันที่ 6กรกฎาคม2010โนมูระได้ออกพันธบัตรอิสลามในรูปของพันธบัตรอิจาเราะห์(Ijarah Note)มูลค่า100 ล้านดอลลาร์
ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
ประเทศมาเลเซียซึ่งตอนนี้เป็นศูนย์กลางของระบบการเงินอิสลามของโลก
และประเทศมาเลเซียเองมีปริมาณพันธบัตรอิสลามหรือsukukที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดถึง60% หรือกว่า78,000 ล้านดอลลาร์
จากปริมาณพันธบัตรอิสลามที่มีการออกและซื้อขายกันทั่วโลกกว่า130,000ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน(ข้อมูลล่าสุด
ณ วันที่ 16กรกฎาคม2010)
อีกครั้งหนึ่งก็คือ
การออกพันธบัตรอิสลามในรูปของสัญญามูราบาฮาที่อิงกับสินค้าโภคภัณฑ์
โดยโนมูระได้ออกขายพันธบัตรในวันที่15 กรกฎาคม2010 หรือแค่9วันหลังจากการขายที่มาเลเซีย
โดยการระดมเงินครั้งนี้โนมูระตั้งเป้าการขายเดิมไว้ที่50ล้านดอลลาร์กับบรรดานักลงทุนในตะวันออกกลาง
แต่เนื่องจากยอดจองที่สูงมาก
ทำให้โนมูระขยายเพดานการขายไปอยู่ที่70 ล้านดอลลาร์
เพิ่มจากเดิมอีก 20ล้านดอลลาร์
ถือเป็นความสำเร็จที่งดงามในฐานะบริษัทและสถาบันการเงินญี่ปุ่นรายแรกที่เข้าสู่ตลาดพันธบัตรอิสลามในเวลาที่ไล่เลี่ยกันในศูนย์กลางการเงินอิสลามทั้ง2 แห่งของโลกคือ
มาเลเซีย และ ตะวันออกกลาง
การลุยเข้าสู่ตลาดการเงินอิสลามของญี่ปุ่นไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจเช่นดียวกับการวิ่งเข้าสู่พรมแดนใหม่ทางการเงินนี้ของทั้งฮ่องกง
สิงคโปร์ หรือบรรดาศูนย์กลางการเงินทั้งหลายในยุโรป
ซึ่งไม่ได้มีประชากรมุสลิมมากมายเท่าไรและไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ
แต่หากพูดถึงอนาคตในด้านของการเงินอิสลามแล้วก็ต้องบอกว่าไปได้อีกไกล
โดยการคาดการณ์จากคณะกรรมการบริการการเงินอิสลามของมาเลเซีย(Islamic Financial
Services Board) ระบุว่าภายในปี2015สินทรัพย์รวมของทั้งระบบการเงินอิสลามจะไปอยู่ที่2.8 ล้านล้านดอลลาร์
ขณะที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างมูดี้ส์ระบุว่า
สินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการของอุตสาหกรรมการเงินอิสลามทั่วโลกอยู่ที่950,000ล้านดอลลาร์ในปี2009และคาดการณ์อีกเช่นกันว่า
สินทรัพย์ทั้งระบบจะพุ่งทะลุ5ล้านล้านดอลลาร์
แต่ไม่ได้ระบุช่วงเวลาเอาไว้
แต่หากเอาตัวเลขการคาดการณ์ของมูดี้ส์และทางการมาเลเซียมาเชื่อมกันจะพบว่า
อุตสาหกรรมนี้จะโตเกือบ40% ต่อปีในช่วงปี2010 ถึงปี2015และด้วยอัตราการเติบโตในระดับนี้คาดว่าภายในปี2017 ตัวเลขน่าจะถึง5ล้านล้านดอลลาร์อย่างที่มูดี้ส์คาดไว้
นั่นคือเม็ดเงินมหาศาลของตลาดการเงินอิสลามที่โลกตะวันตกรู้เท่าทันและอยากเข้ามาเล่นมาก
หากดูบริบทโดยรวมของโลกจะพบว่า
ระบบการเงินในตะวันตกและญี่ปุ่นเองอยู่ในภาวะที่ถดถอยอย่างมาก
ความล้มเหลวและถูกห้ามในเรื่องของการใช้ตราสารการเงินที่ซับซ้อนและการเก็งกำไรอย่างไร้ขอบเขตย่อมส่งผลต่อการเติบโตและความอยู่รอดของทุนการเงินในตะวันตกและญี่ปุ่นภายใต้ภาวะเศรษฐกิจในบ้านตัวเองที่ตกสะเก็ดและมีวิกฤตหนี้สาธารณะ
อีกทั้งตลาดการเงินขนาดมหึมาอย่างในจีนหรืออินเดียก็ถูกทางการของทั้ง2ประเทศคุมอย่างเข้มงวดและโดนสารพัดนโยบายที่ออกาเพื่อกีดกันการเข้ามาแข่งขันในตลาดของบรรดาสถาบันการเงินจากต่างประเทศ
ดังนั้นการเงินอิสลามที่มีลักษณะไร้พรมแดน
เป็นตลาดใหม่ที่เพิ่งเกิดแต่มีศักยภาพและล้วนแล้วแต่มีศูนย์กลางในประเทศที่เป็นเสรีนิยมและการควบคุมไม่เข้มข้นมากไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย
ฮ่องกง สิงคโปร์ ดูไบ
หรือแม้แต่ลอนดอน
ย่อมทำให้ตลาดนี้น่าสนใจและเป็นทางเลือกในยามที่ตลาดการเงินดั้งเดิมมีปัญหาและคนมุสลิมทั่วโลกมากกว่า1,000ล้านคนส่วนใหญ่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน
นอกจากเหตุผลในเชิงเศรษฐกิจและโอกาสทางธุรกิจแล้ว
ต้องไม่ลืมว่าประเทศญี่ปุ่นมีควาสัมพันธ์ทางการเมืองที่ไม่ธรรมดากับประเทศผู้ส่งออกน้ำมันในตะวันออกกลาง
เพราะ
ญี่ปุ่นยังคงเป็นลูกค้ารายใหญ่และได้ส่งรายได้ค่าน้ำมันเป็นเงินหลายหมื่นล้านดอลลาร์ต่อปีเข้ากระเป๋าบรรดาเศรษฐีน้ำมันเหล่านี้โดยเฉพาะประเทศซาอุดิอาระเบียและUAEซึ่งเป็นพี่เบิ้มในภูมิภาค
และกำลังสานสัมพันธ์กับประเทศในตะวันออกกลางทั้งในด้านการเมือง
เศรษฐกิจ และพลังงาน
ทั้งนี้แม้ญี่ปุ่นจะมีเศรษฐกิจที่ตกต่ำและภาคอุตสาหกรรมต้องเผชิญการแข่งขันสูง
แต่ญี่ปุ่นก็ยังต้องนำเข้าน้ำมันทั้งหมดจากต่างประเทศและปี2009ญี่ปุ่นยังบริโคภน้ำมันสูงเป็นอันดับที่2 ของเอเชียที่ระดับ4.4ล้านบาร์เรลต่อวัน
ซึ่งหากราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่70ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ญี่ปุ่นก็ต้องจ่ายเงินนำเข้าน้ำมันมูลค่ากว่า110,000ล้านดอลลาร์ในการนำเข้าน้ำมันซึ่งทั้งหมดมาจากตะวันออกกลาง
นั่นทำให้ญี่ปุ่นอยู่ในฐานะที่จะพูดคุยในเรื่องโอกาสทางธุรกิจในด้านการเงินอิสลามกับตะวันออกกลาง
เรื่องญี่ปุ่นกับน้ำมันในตะวันออกกลางได้รับการตอกย้ำเมื่อรัฐมนตรีน้ำมันอิรักเดินทางมาเยือนญี่ปุ่นเองเมื่อต้นเดิอนกรกฎาคมปี2009เพื่อหาเงินลงทุนในด้านกิจการน้ำมันจากญี่ปุ่น
ขณะที่ยักษ์ใหญ่ซาอุดิอาระเบียเองก็ประกาศที่จะเช่าคลังน้ำมันในเกาะโอกินาว่าหลังจากที่คลังน้ำมันที่เช่าในทะเลแคริเบียนกำลังทะยอยหมดสัญญาลงไป
เป็นสัญญาณตอกย้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับเศรษฐีน้ำมันอาหรับ
ดังนั้นในอนาคตธนาคาร
บริษัทหลักทรัพย์
และธุรกิจการเงินญี่ปุ่นคงเข้าสู่ปริมณฑลทางการเงินใหม่นี้มากขึ้นและด้วยระดับที่เข้มข้นอย่างแน่นอน
ภายใต้ความได้เปรียบของทรัพยากรทางการเงินมหาศาลและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีน้ำมันคอยยึดโยงญี่ปุ่นกับประเทศผู้ลิตน้ำมันในตะวันออกกลางโดยเป้าหมายหลักน่าจะอยู่ในตะวันออกกลางและเอเชียอาคเนย์ที่ญี่ปุ่นมีความคุ้นเคยอยู่แล้วในฐานะผู้ลงทุนรายใหญ่ของภูมิภาคมาอย่างยาวนาน
นอกจากนั้นการที่ญี่ปุ่นยังคงมีปัญหาหนี้สาธารณะจนรัฐบาลต้องกู้เงินมหาศาลจนแทบจะสูบเอาเงินออมในระบบเศรษฐกิจมากองไว้ที่ภาครัฐเอง
ย่อมทำให้บริษัทญี่ปุ่นโดยเฉพาะะธุรกิจขนาดกลางและย่อมต้องมองหาทางเลือกทางการเงินในการระดมเงินทุน
และบริษัทญี่ปุนเองนับว่ามีความน่าสนใจเพราะศักยภาพในการแข่งขัน
เทคโนโลยี
และตรงกับความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจด้านการผลิตและเทคโนโลยีของตะวันออกกลางที่ต้องการหนีออกจากภาคน้ำมัน
ดังนั้นตลาดพันธบัตรอิสลามและอาจรวมถึงธนาคารอิสลามด้วยในประเทศญี่ปุ่นจึงน่าสนใจ
ด้วยธุรกิจคุณภาพทั้งบริษัทขนาดใหญ่ที่อาหรับลงทุนซื้อหุ้นในตลาดโตเกียวเป็นเจ้าของบางส่วนแล้ว
และธุรกิจขนาดไม่ใหญ่ทั้งหลายย่อมเป็นเป้าหมายที่นักลงทุนตะวันออกกลางโดยเฉพาะกองทุนรัฐบาลสนใจอย่างแน่นอน
เพราะในตะวันออกกลางมีการตั้งกองทุนที่มีลักษณะที่จะลงทุนในบางอุตสากรรมเท่านั้นเพื่อรับใช้เป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจนอกภาคน้ำมันในระยะยาว
ดังนั้นภาพในอนาคตของการเงินอิสลามญี่ปุ่นจึงเป็นการวิ่งไปแบบสองทางหรือTwo-way capital
flow ที่ด้านหนึ่งญี่ปุ่นขนเงินไปหาโอกาสในตลาดการเงินอิสลามที่เติบโต
ขณะที่อีกด้านหนึ่งบริษัทญี่ปุ่นเองจะมีการระดมเงินผ่านตลาดการเงินอิสลามมากขึ้น