ประเทศไทยกับความพร้อมด้านการเงินอิสลาม
ระบบการเงินอิสลามมีพัฒนาการที่เป็นรูปธรรมและมีตัวตนแบบจริงๆจังขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่1970หลังจากที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างมากจากการใช้
“อาวุธน้ำมัน” ของกลุ่มโอเปก
ทำให้เกิดกระแสความมั่ง
คั่งเข้าสู่กลุ่มประเทศมุสลิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอาหรับผู้ผลิตน้ำมัน
อย่างไรก็ตามการพัฒนาด้านนี้ดูจะขาดช่วงไปนานพอสมควรหลังจากราคาน้ำมันเริ่มอ่อนตัวลงและนิ่งไปเป็นเวลานาน
อย่างไรก็ตามการพัฒนาการเงินอิสลามก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างจริงๆที่มาเลเซียซึ่งมียุทธศาสตร์มุ่งสู่ด้านนี้อย่างชัดเจน
โดยสิ่งที่ถือเป็นหลักชัยสำคัญหลักแรกของที่นี่คือ
การออกพันธบัตรอิสลามหรือsukukในมาเลซียของบริษัทเชลล์ประเทศในปี1990ซึ่งถือเป็นการขายรายแรกในประเทศมาเลเซีย
และนับแต่นั้นมาประเทศมาเลเซียก็มีตลาดการเงินิสบามที่โตขึ้นเป็นลำดับ
มีความพร้อมของอุตสาหกรรมธนาคารและการบริหารสินทรัพย์
โดยในปัจจุบัน
ประเทศมาเลเซียมีส่วนแบ่งในตลาดพันธบัตรอิสลามมากกว่า60%ของพันธบัตรอิสลามที่มีการซื้อขายทั่วโลก
ณ เดือนกรกฎาคม 2010
สำหรับประเทศไทยเองถือได้ว่าเพิ่งเริ่มต้นและคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่ายังห่างไกลจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียมาก
แต่การประกาศที่จะออกพันธบัตรอิสลามมูลค่า5,000ล้านบาทของรัฐบาลอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะโดยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยถือเป็นสัญญาณที่ดีในการพัฒนาด้านนี้
ขณะเดียวกันก็ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีในแวดวงอุตสาหกรรมการเงินและการลงทุนของประเทศ
แต่การที่ไทยจะพัฒนาไปสู่เส้นทางการเงินอิสลามนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายๆด้าน
เพื่อให้อุตสาหกรรมการเงินอิสลามของประเทศไทยมีความก้าวหน้า
แข่งขันกับประเทศอื่นๆได้
และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ
โดยประเทศไทยควรเตรียมความพร้อมด้านต่างๆดังนี้
1.ความพร้อมด้านบุคลากรรัฐบาลควรริเริ่มการพัฒนาบุคลากรด้านนี้อย่างจริงจังเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมในอนาคต
ปัจจุบันบุคลากรทางการเงินของไทยทั้งหมดยังคงจำกัดอยู่แค่ระบบการเงินแบบดั้งเดิมของตะวันตก(Conventional
Finance)โดยรัฐบาลควรร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสำนักงานก.ล.ต.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา
และคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้เพื่อทำการวางโครงสร้างหลักสูตรการอบรมบุคลากรและทำความเข้าใจกับความต้องการของตลาด
ทั้งนี้สิ่งที่น่าสนใจก็คือ
ควรใช้โรงเรียนปอเนาะมาต่อยอดเรื่องการอบรมบุคลากรการเงินอิสลาม
เพราะในปัจจุบัน
ยังคงมีปัญหาอยู่พอสมควรในเรื่องการตีความสินค้าการเงินอิสลามว่าเข้าข่ายผิดหลักชารีอาะห์หรือไม่
การที่บุคลากรของไทยมีความรู้ด้านศาสนาที่เคร่งครัดและเข้มข้นน่าจะสร้างจุดแข็งให้กับบุคลากรไทยได้ดีทีเดียว
และยังเป็นการลดปัญหาผู้หลงผิดใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้
ด้วยการเสนอโอกาสการทำงานด้านการเงินอิสลาม
2.ความพร้อมด้านกฎระเบียบในเรื่องนี้สำนักงานก.ล.ต.เริ่มมีความชัดเจนในด้านกฎระเบียบที่จะออกมารองรับตลาดพันธบัตรอิสลามแล้ว
โดยในไตรมาสที่ 3ของปี2010ก.ล.ต.จะประกาศใช้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการออกพันธบัตรอิสลามอย่างเป็นทางการ
แต่อย่างไรก็ตาม
ประเทศไทยควรมีการศึกษาชุดของโครงสร้างกฎระเบียบในประเทศต่างๆเอาไว้
เพราะในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่าจะการเกิดขึ้นของกฎระเบียบที่เป็นมาตรฐานสากลอย่างเป็นทางการ
ซึ่งการเตรียมกฎระเบียบที่ไม่สอดคล้องกับแนวโน้มในอนาคตจะทำให้ภาคการเงินอิสลามไทยเสียเปรียบในเวทีโลกได้
ทั้งนี้กฎระเบียบต้องสอดคล้องกับโครงสร้างบุคลากรและต้องมีความครอบคลุมในทุกๆธุรกิจและสินค้าการเงินอิสลาม
ขณะเดียวกันประเทศไทยควรมีการเคร่งครัดเรื่องระบบบริหารความเสี่ยงในระบบการเงินอิสลามด้วย
เพราะในอนาคตด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของการเงินอิสลามและการเริ่มมีสัญญาณของทุนการเงินตะวันตกที่เตรียมเทเงินเข้าระบบการเงินอิสลามอย่างเต็มที่
การพัฒนาที่รวดเร็วของการเงินอิสลามและการเปลี่ยนขั้วศูนย์กลางโลกอาจก่อให้เกิดฟองสบู่ทางการเงินระดับโลกครั้งใหม่ก็เป็นได้
และนั่นย่อมหมายถึงหายนะทางการเงินที่ใหญ่และน่ากลัวไม่น้อยไปกว่าวิกฤตการเงินของโลกตะวันตก
3.ความพร้อมด้านผลิตภัณฑ์ทั้งนี้แม้การเงินอิสลามจะเริ่มมีที่ทางในระบบการเงินโลกได้ไม่นาน
แต่ก็นับว่ามีพัฒนาการที่รุดหน้าไปมากและมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆมาจูงใจนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง
โดยประเทศไทยจะต้องมีการสร้างความพร้อมในการออกผลิตภัณฑ์และตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ด้วย
ทั้งนี้โจทย์ที่พึงต้องคิดก็คือ
จะทำอย่างไรให้ผลิตภัณฑ์การเงินอิสลามเป็นที่ยอมรับกับประชาชนทั่วไปเช่นเดียวกับชาวมุสลิม
ทั้งนี้เรื่องความรู้ความเข้าใจของประชาชนทั่วไปและนักลงทุนที่ไม่ใช่มุสลิมเป็นเรื่องสำคัญ
นอกจากนั้นแล้วผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจะต้องตอบสนองความต้องการของคนในประเทศในภาคส่วนต่างๆไม่ว่าจะเป็นผู้ออกทั้งภาครัฐและเอกชน
นักลงทุนรายย่อย นักลงทุนสถาบัน
ชุมชน และประชาชนผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง
การออกผลิตภัณฑ์ที่ง่ายต่อการเข้าใจ
ถูกหลักอิสลาม
และตอบสนองโจทย์ของคนบางกลุ่มจึงเป็นสิ่งที่ควรนำไปพิจารณาต่อไป
หากประเทศไทยต้องการที่จะยืนหยัดในเวทีการเงินอิสลามโลกในอนาคต
ประเทศไทยควรชูจุดเด่นในบางด้านที่ชัดเจนและแข่งขันได้
โดยการพ่วงแนวโน้มใหญ่อีกอย่างคือ
เรื่องอาหารและการเกษตรเข้ากับการเงินอิสลามถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
และประเทศไทยเองก็ต้องการเงินลงทุนมาพัฒนาด้านการเกษตรในประเทศด้วย
การที่ปลอดดอกเบี้ยย่อมทำให้เกษตรกรมีความยืดหยุ่นในการชำระหนี้ได้
ขณะเดียวกันกองทุนการเงินทั่วโลกและประเทศอาหรับที่ส่งออกน้ำมันก็กำลังมองหาการลงทุนด้านการเกษตรทั่วโลก
การชูภาคการเกษตรเป็นธงนำพร้อมกับการแก้ปัญหาเรื่องกฎระเบียบด้านการลงทุนและประเด็นที่หมิ่นเหม่ต่อการครอบงำภาคเกษตรไทยย่อมทำให้เม็ดเงินจากต่างประเทศไหลเข้าภาคการเงินอิสลามไทยมหาศาลในอนาคตได้
และนั่นย่อมส่งผลดีต่อประเทศไทยในการออกสู่เวทีการแข่งทั้งด้านการเงินอิสลามและการเกษตรในระดับโลกต่อไป
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1882 ครั้ง