รัฐบาลคูเวตลงนามในข้อตกลงแบ่งปันน้ำมันจากบ่อน้ำมันที่คร่อมเขตแดนระหว่างประเทศคูเวตและอิรักและกำลังรอการตอบกลับจากประเทศอิรักอยู่ รัฐมนตรีน้ำมันคูเวจเปิดเผย
ข้อตกลงนี้จะช่วยยกระดับความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีเหตุผิดใจกันในสมัยที่ซัดดัมบุกยึดคูเวตเมื่อ 20 ปีที่แล้ว และการบุกคูเวตครั้งนั้นนำปสู่สงครามอ่าวครั้งแรก
คณะผู้แทนจากทั้งสองรัฐบาลได้พบปะกันในเดือนนี้ รัฐมนตรีน้ำมันคูเวต ชีคอาห์เหม็ด อับดุลเลาะห์ อัลซาเบาะห์ กล่าวเมื่อวันพุธที่้แล้ว
“ตอนนี้ฝั่งคูเวตลงนามในคำประกาศนี้แล้วและเราได้ส่งมันไปที่อิรักเพื่อลงนามแล้ว” เขากล่าว
ข้อตกลงนี้ได้กำหนดเงื่อนไขว่า จะมีการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อทำงานในเขตแดนของทั้ง 2 ประเทศ “ดังนั้นจะำไม่มีฝ่ายใดสามารถอ้า่งได้ว่าอีกฝ่ายได้น้ำมันไปมากกว่าฝ่ายตน” รัฐมนตรีน้ำมันคูเวตกล่าว
“ที่ปรึกษาระหว่างประเทศจะมาที่นี่และตรวจดูบ่อน้ำมันและบอกกับเราว่าจะมีน้ำมันให้แต่ละฝั่งมากน้อยเพียงใด และต้นทุนการขุดเจาะจะถูกหารเท่าๆกัน” ชีคอาห์เหม็ด รัฐมนตรีน้ำมันคูเวตกล่าว
การผลิตน้ำมันจากบ่อน้ำมันที่คาบเกี่ยวพรมแดนเป็นปัญหาของทั้ง 2 ประเทศเรื่อยมา ในการบุกคูเวตเมื่อปี 1990 อิรักกล่าวหาคูเวตว่าได้ขโมยน้ำมันของอิรักไปโดยการขุดน้ำมันเฉียงลงไปถึงฝั่งประเทศอิรักในบ่อรูไมล่าซึ่งทางฝั่งคูเวตเรียกบ่อนี้ว่าบ่อรัตก้าเพื่อขโมยน้ำมัน ขณะที่ฝั่งคูเวตปฏิเสธข้อกล่าวงหานี้
ไม่ว่าข้อกล่้าวหาของซัดดัมจะเป็นจริงหรือไม่ ซัดดัมได้ใช้เรื่องนี้เป็นเหตุผลในการบุกคูเวต
หลังจากสงคราม 8 ปีกับอิหร่าน อิรักเป็นหนี้กับคูเวตและซาอุดิอาระเบียมหาศาล
อิรักยังคงกล่าวหาคูเวตว่าผลิตน้ำมันเกินกว่าโควตาที่กำหหนดโดยโอเปก ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกตกลงและมีผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจอิรัก นายมาโนเชอร์ ทากิ้น (Manouchehr Takin) นักวิเคราะห์จากศูนย์ศึกษาพลังงานโลกหรือ Centre for Global Energy Studies ในกรุงลอนดอนเขียนในรายงานในปี 2008 ที่ชื่อ “ขโมยน้ำมันอิรัก : สื่ออิรักพูดถูกหรือไม่” โดยกล่าวว่า บ่อน้ำมันรูไมล่าคือบ่อน้ำมันที่มีปัญหาโต้เถียงกันมากที่สุดในบรรดาบ่อน้ำมันที่อยู่ตามชายแดน
อัตราการผลิตน้ำมันที่สูงของฝั่งหนึ่งมักจะ “ดูดน้ำมันจากอีกฝั่งหนึ่งได้” นายทากิ้นกล่าว
“ท้ายที่สุด ทั้ง 2 ฝ่ายจะเสียผลประโยชน์เพราะจะมีน้ำมันผลิตออกมาน้อยกว่าที่คาด”
นายทากิ้นยังกล่าวในรายงานอีกว่า เขาเสนอให้มีการทำข้อตกลงกัน 2 ฝ่าย
“ควรทำการพัฒนาร่วมกัน นี่คือมาตรฐานการปฏิบัติทั่วโลก” เขากล่าว “นี่คือหนทางที่เหมาะสมที่จะพัฒนาบ่อน้ำมันเพื่อให้ได้ประโยชน์กันทั้ง 2 ฝ่าย”
เขตแดนที่ตกลงกันโดยสหประชาชาติในปี 1993 และยอมรับจากฝั่งอิรักเป็นทางการในปีั 1994 ยังคงเป็นสาเหตุของความไม่ลงรอยกับนักการเมืองอิรัก และประเด็นนี้จะทำให้การทำงานของบรรดาที่ปรึกษาระหว่างประเทศในการเกลี่ยทรัพยากรให้ทั้ง 2 ฝั่งเป็นไปด้วยความยากลำบากมากขึ้น
ประเด็นอื่นๆที่ก่อให้เกิดความตึงเครียดระหว่างทั้ง 2 ประเทศยังคงมีเรื่องของเงินกู้มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์และค่าเสียหายจากการบุกคูเวตที่ทางฝั่งอิรักยังติดอยู่ การระบุตัวตนและการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ประชาชนคูเวตซึ่งตายในช่วงการยึดครอง และการส่งคืนเอกสารที่ถูกขโมย
แม้ทางการอิรักจะไม่ลงนามในข้อตกลง คูเวตก็กำลังผลักดันแผนในการพัฒนาบ่อน้ำมันทางใต้รวมถึงบ่อราไมล่าของอิรัก ซึ่งเป็นบ่อน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของอิรักและคาดว่ามีน้ำมันกว่า 17,000 ล้านบาร์เรล
อิรักได้แสดงถึงความต้องการที่จะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันภายใน 6 ปีเป็น 12 ล้านบาร์เรลต่อวัน จาก 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวันในปัจจุบัน
บีพีของอังกฤษ บริษัทน้ำมันแห่งชาติจีน (CNPC) และ รัฐวิสาหกิจน้ำมันของอิรัก South Oil Company ได้ประกาศไม่นานมานี้ว่า ทั้ง 3 บริษัทจะทำการขุดเจาะน้ำมัน 100 บ่อ ภายในสิ้นปีหน้าเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตจากราไมล่าอีก 10% เป็น 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ข้อตกลงอื่นๆคาดว่าจะมีการเพิ่มการผลิตในบ่อเคอร์ม่าตะวันตกและซูแบร์ซึ่งทั้ง 2 อยุ่ทางตอนใต้ของประเทศเช่นกัน
นายทากิ้นยังกล่าวอีกว่า ข้อตกลงที่อธิบายโดยรัฐมนตรีน้ำมันคูเวตดูจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับ 2 ฝ่าย
“หากทั้ง 2 ประเทศทำตามแนวทางนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายจะเป็นผู้ชนะ” เขากล่าว “นั่นจะทำให้มีการผลิตน้ำมันในระดับสูงสุดที่ 2 ประเทศสามรถนำออกไปได้”
ที่มา The National