สถานการณ์อาหารโลกเข้าขั้นวิกฤต หลายฝ่ายเริ่มกังวลเหตุจลาจลลุกลามทั่วโลกซ้ำรอยวิกฤตอาหารโลกช่วงปี 2007-2008 ส่งผลจลาจลกว่า 30 ประเทศ ทั้งทวีปอเมริกา แอฟริกา จนถึงเอเชีย หลังความกังวลด้านผลผลิตเพิ่มขึ้นและเริ่มเกิดเหตุประชาชนก่อจลาจลในทวีปแอฟริกา
รัฐบาลรัสเซียตัดสินใจประกาศขยายมาตรการห้ามการส่งออกสินค้าเกษตรจำพวกธัญญพืชต่างๆออกไปอีก 12 เดือน จนถึงสิ้นปี 2011 วานนี้ (2 กันยายน 2010) เพิ่มความวิตกต่อการกลับมาของสถานการณ์การขาดแคลนอาหารที่รุนแรงและเหตุจลาจลทั่วโลกในปี 2007-2008
การประกาศของนายวลาดิเมียร์ ปูติน นายกรัฐมนตรีรัสเซีย เ้กิดขึ้นเนื่องจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ FAO เรียกประชุมด่วนเพื่อหารือถึงสถานการณ์การขาดแคลนข้าวสาลีและเหตุจลาจลในโมซัมบิกส่งผลให้มีผู้เสียชีสิตแล้ว 7 ศพ
เหตุจลาจลในกรุงมาปูโต้ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 280 คน เสียชีวิตไปแล้ว 7 คน ในจำนวนนี้มีเด็ก 2 คนถูกยิงศรีษะเสียชีวิตคาที่จากคำแถลงการณ์การของตำรวจ “เรามีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก เด็ก 2 คนถูกยิงเสียชีวิตที่เขตชานเมืองมาฟาลาล่า ขณะนี้มีความไม่สงบและความสับสนกระจายไปทั่วเมือง” โฆษกกรมตำรวจโมซัมบิกอาร์โนลด์ เชโฟ กล่าวกับรอยเตอร์ เหตุจลาจลเกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลตัดสินใจขึ้นราคาขนมปัง 30% เจ้าหน้าที่ตำรวจเปิดฉากยิงใส่ผู้ก่อจลาจลซึ่งไม่พอใจการขึ้นราคาอาหารซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ผู้ก่อจลาจลทำการเผายางและปล้นอาหารในคลังสินค้า ขณะที่ล่าสุดรัฐบาลโมซัมบิกได้เรียกประชุมฉุกเฉินคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ และได้ส่งกำลังทหารเข้าควบคุมสถานการณ์แล้ว ซึ่งยังคงตึงเตรียดและไม่มีแนวโน้มที่จะคลี่คลาย
“ขนมปังถือเป็นอาหารหลักของประชาชนทั่วไป” นายอาเดรียโน่ นูวุงก้า นักวิเคราะห์การเมืองในกรุงมาปูโต้กล่าวกับไฟแนนเชียลไทม์ “ผู้คนกังวลมากถึงราคาอาหารที่พุ่งขึ้นซึ่งอาจถึงจุดที่ไม่อาจกลับคืนมาเหมืิอนเดิม”
เขายังกล่าวอีกว่า เป็นไปได้ที่อาจมีความรุนแรงมากกว่าเดิม
ล่าสุดดัชนีราคาอาหารของ FAO พุ่งถึงจุดสูงสุดในรอบ 2 ปีเมื่อเดือนที่แล้วหลังจากราคาธัญญพืช น้ำตาล เนื้อสัตว์พุ่งขึ้นเกือบ 16% ตั้งแต่ปีที่แล้ว
ทั่วทั้งทวีปแอฟริกาหนังสือพิมพ์หลายฉบับได้รายงานความไม่พอใจที่เพิ่มขึ้นของประชาชนที่มีต่อราคาอาหารที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันแอฟริกาเหนือต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวสาลีจากรัสเซียอย่างมาก การประท้วงที่โมซัมบิกถูกยกระดับให้รุนแรงขึ้นจากปัจจัยอื่นๆด้วยทั้งการพุ่งขึ้นมากกว่า 10% ของค่าน้ำประปาและไฟฟ้า นอกจากนั้นแล้วในหลายๆประเทศในทวีปแอฟริกา ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงพุ่งขึ้นกว่า 3 เท่าตัวในเวลาเพียงแค่ 2 เดือน ส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
กราฟราคาอาหารโดยเฉลี่ยวัดจากดัชนีราคาอาหาร FAO ที่มา Financial Times
อย่างไรก็ตามแม้บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงานต่้างๆและนักค้าสินค้าเกษตรจะต่างยืนยันว่า ตอนนี้ทั่วโลกจะมีข้าวสาลีและพืชอื่นๆในปริมาณสูงที่ขึ้นกว่าตอนปี 2007-2008 เจ้าหน้าที่ระดับสูงจำนวนมากต่างวิตกว่า เหตุจลาจลในโมซัมบิกจะถูกเลียนแบบในที่อื่นๆ
FAO แถลงว่า ความกังวลถึงเหตุการณ์ที่อาจซ้ำรอยเหมือนเมื่อปี 2007-2008 ก่อให้เกิดการสอบถามมาอย่างมากมายในหมู่ประเทศสมาชิก “จุดประสงค์ของการจัดประชุมในครั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมกันทั้งจากประเทศผู้ส่งออกและนำเข้าอาหาร”
การที่รัสเซียซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่อันดับที่ 4 ของโลกห้ามการส่งออกข้าวสาลีส่งผลให้ผู้นำเข้าในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือต้องหันไปหาข้าวสาลีจากยุโรปและสหรัฐฯแทน
นายปูตินกล่าวว่า “รัฐบาลจะพิจารณายกเลิกมาตรการห้ามการส่งออกหลังจากมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตในปีหน้าและเราต้องแน่ใจว่าต้องมีความชัดเจนในเรื่องสมดุลเมล็ดพืช” เขายังกล่าวอีกว่า การตัดสินใจขยายมาตรการในครั้งนี้ก็เพื่อ “ยุติความวิตกกังวลโดยไม่จำเป็นและเพื่อให้เกิดความแน่ใจถึงภาวะแวดล้มทางธุรกิจที่มีเสถียรภาพและคาดการณ์ได้สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาด”
“เรื้องนี้ร้ายแรงมาก” นายแอบโดลเรซ่้า อับบัสเชี่ยนจาก FAO กล่าวกับไฟแนนเชียลไทม์ “2 ปีในสภาพที่ปราศจากการส่งออกจากรัสเซียก่อให้เกิดความวุ่นวายมาก” นายแดน แมนเทอร์นัก หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ข้าวสาลีจากบริษัท Doane Agricultural Services ในเซนต์หลุยส์ให้สัมภาษณ์กับไฟแนนเชียลไทม์ และกล่าวอีกว่า “นี่ถือเป็นสัญญาณเตือนไปยังประเทศผู้นำเข้าถึงความน่าเชื่อถือของรัสเซีย
ที่มา Financial Times และ ข่าว Real Time จากโปรแกรม Reuters 3000 Xtra
ไอดีข่าว Reuters nWEB5291 และ nLDE68118G