แบบจำลองการลงทุนในรูปของการทำหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชนหรือ PPP (Public-Private Partnership) ซึ่งจะมีการทดลองนำไปใช้ทั่วภูมิภาคอ่าวจะช่วยขับเคลื่อนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในภูมิภาคมูลค่ากว่า 438,000 ล้านเดอร์แฮม (120,000 ล้านดอลลาร์) นำโดยโครงการขนส่งมวลชนและการขนส่งระบบราง
โครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคอ่าวได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและรายได้จากการส่งออกน้ำมัน ตราบใดที่ราคาน้ำทันยังสูงกว่า 75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ประเทศในภูมิภาคอ่าวส่วนใหญ่จะสามารถดึงเงินที่ได้จากการส่งออกน้ำมันมาเร่งการดำเนินงานในโครงการเหล่านี้ได้
“ภาคเอกชนสามารถมีบทบาทมากขึ้นไม่ใช่เฉพาะแต่ด้านเงินทุน แต่ยังรวมไปถึงด้านเทคโนโลยีและประสิทธิภาพซึ่ีงจะทำให้โครงการเสร็จสิ้นได้เร็วขึ้นและลดค่าบริการสำหรับผู้ใช้ปลายทางโดยผ่านการทำ PPP ” นายชาซาด ดาลัล ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Infrastructure Leasing and Financial Services (IL&FS) Investment Advisors บริษัทที่ปรึกษาด้านการเงิน กล่าวกับ Gulf News
จากรายงานการศึกษาล่าสุดของบริษัทวิจัย Business Monitor International (BMI) โครงการขนส่งระบบรางจะคิดเป็นมากกว่า 90% ของโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐา่นมูลค่า 120,000 ล้านดอลลาร์ ในภูมิภาคอ่าวในอีก 10 ปีข้างหน้า
UAE และ ซาอุดิอาระเบีย จะเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในการลงทุนด้านระบบราง ถนน และ โครงการขนส่งสาธารณะที่จะเริ่มใช้งานในปี 2020 อย่างไรก็ตาม ดูไบได้เป็นผู้นำในการลงทุนด้านนี้ด้วยการประกาศโครงการขนส่งระบบรางในเมืองเป็นแห่งแรกในภูมิภาค ซึ่งได้กระตุ้นให้ประเทศอื่นๆทำการลงทุนในโครงการเดียวกันนี้ อาบูดาบี กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และ คูเวต กำลังวางแผนเพื่อสร้างโครงข่ายการขนส่งระบบรางในเมือง ขณะที่การก่อสร้างระบบขนส่งทางราง Union Railway ซึ่งมีระยะทาง 1,500 กิโลเมตร จะเริ่มก่อสร้างในปีนี้ โดยใช้วงเงินประมาณ 30,000-40,000 ล้านเดอร์แฮม
“นโยบายของรัฐบาลภูมิภาคและการใช้จ่ายในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นตัวกำหนดระบบการขนส่งของภูมิภาคนี้ เงินลงทุนที่จัดสรรลงไปในโครงการขนส่งระบบรางได้ชี้ชัดถึงยุทธศาสตร์ระบบขนส่งมวลชนของภูมิภาค” นายริชาร์ด พาวิตต์ ผู้อำนวยการการจัดงาน Roadex-Railex ที่จะจัดขึ้นใน ศูนย์จัดแสดงนิทรรศการแห่งชาติอาบูดาบีหรือ ADNEC (Abu Dhabi National Exhibition Centre) ระหว่างวันที่ 28-30 พฤจิกายนนี้
เศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปัจจุบันได้กลายเป็นหลักประกันต่อการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในโครงการเล่านี้ อย่างไรก็ตาม การขาดกฎระเบียบและกรอบสำหรับ PPP อาจชะลอเรื่องนี้ได้
นายดาลัลกล่าวอีกว่า “PPP ได้สร้างแรงขับเคลื่อนในด้านโครงสร้างพื้นฐานในเศรษฐกิจเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแถบตะวันออกไกล และประเทศภูมิภาคอ่าวจะได้ประโยชน์จากการเรียนรู้สิ่งนี้”
UAE ได้อนุมัติการลงทุนในโครงการเมโทรของดูไบเป็นเงิน 7,600 ล้านดอลลาร์ (สายสีแดงและสายสีเขียว) และอีก 3,260 ล้านดอลลาร์ในโครงการตัดถนนอีกหลายโครงการซึ่งมีัการทำ PPP กับภาคเอกชนกับบริษัทก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐา่นจากอิตาลี ซาลานี่ คอสตรูตตอรี่ เพื่อทำการสร้างทางหลวงเชื่อมซาุอุ-UAE
โครงข่ายในซาอุ
อย่างไรก็ตาม ซาอุดิอาระเบียกลงัลงทุนในด้านโครงข่ายระบบบขนส่งทางรางเป็นเงินกว่า 25,000 ล้านดอลลาร์ เป็นระยะทางกว่า 3,900 กิโลเมตร เพื่อเพิ่มทางรถไฟภายใต้ 3 โครงการใหญ่ โครงการแรกคือ โครงการซาอุดิแลนด์บริดจ์ ระยะทาง 950 กิโลเมตร เชื่อมเมืองเจดด้าห์และดัมมัม โครงการที่ 2 ระยะทาง 450 กิโลเมตร คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงฮาราเมน เชื่อมนครเมกกาะห์และมาดิเนาะห์ โดยผ่านเจดด้าห์ และสุดท้ายคือ โครงการทางรถไฟเหนือ-ใต้ ซึ่งจะทำการเชื่อมเขตอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทางเหนือกับริยาดห์และจูเบล
นายพาวิตต์กล่าวอีกว่า “ในเมืองหลวง UAE มีการวางแผนโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลเป็นระยะทาง 131 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 7,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะทำเป็นรถใต้ดินเป็นหลัก งบประมาณอีกจำนวนหนึ่งจะใช้ในการสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมกับวงแหวนรถไฟเพื่อการขนส่ง (Frieght Rail Corridor) ของดูไบและโครงการถนนใหม่ซึ่งทั้งหมดคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 5 ปีข้างหน้า
– เงินลงทุน 120,000 ล้านดอลลาร์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่ม GCC ในอีก 10 ปีข้างหน้า
– โครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้วมูลค่า 60,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับโครงข่ายการขนส่งในกลุ่ม GCC
– โครงการรถไฟความเร็วสูงฮาราเมนระยะทาง 450 กิโลเมตร
ที่มา Gulf News