ทนาย“ทักษิณ-13แกนนำนปช.”บี้รัฐบาลไทยหนัก ร่อนหนังสือผ่ายเวบไซด์ ให้แจงเหตุการณ์สลายการชุมนุม ด้าน“สุเทพเทือก”โยน “บัวแก้ว” ตัดสินใจจ้างล็อบบี้ยิสต์ช่วยทำหน้าที่ชี้แจงแทนในต่างประเทศ
วันที่ 1 ก.ค.สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟ ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้ว่าจ้างเพื่อต่อสู้คดีตามข้อกล่าวหาผู้ก่อการร้าย ได้เผยแพร่จดหมายผ่านทางเว็บไซต์ www.robertamsterdam.com โดยจดหมายฉบับดังกล่าวเป็นการแปลจากภาษาอังกฤษซึ่งได้ถูกเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์เดียวกันเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.ที่ผ่านมา
จดหมายดังกล่าวระบุ ส่งถึงบุคคล ซึ่งประกอบด้วย นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความ ปรองดองแหงชาติ ,ดร. กิติพงษ์ กิติยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขานุการคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ, นายธาริต เพ็งดิษ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ, นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีกรรมการ ศอฉ. ,นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เรื่อง การดําเนินการสอบสวนกรณีที่มีผู้เสียชีวิตระหว่างการชุมนุม ของกลุ่มคนเสื้อแดง (เดือนเม.ย.-พ.ค. 2010)
โดยเนื้อหาระบุว่า “ท่านสุภาพบุรุษ สํานักงานกฎหมายแห่งนี้ เป็นทนายความของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และเป็นที่ปรึกษาของทีมทนายความไทยของสมาชิกของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการหรือ นปช. ที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่ากระทําความผิดกฎหมายอาญาเกี่ยวกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในกรุงเทพฯ ในเดือนเม.ย.และเดือนพ.ค. 2010 สํานักงานฯ เข้าใจว่าแต่ละท่านที่ระบุชื่อไว้ข้างต้นมีฐานะเป็นผู้แทนหน่วยงานของรัฐบาลไทยแห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการดําเนินการสอบสวนคดีอาญาที่มีการกล่าวหาต่อลูกความของสํานักงานฯ วัตถุประสงค์ของหนังสือฉบับนี้ก็เพื่อเป็นการย้ำถึงสิทธิของลูกความของสํานักงานฯ ในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
ในการที่รัฐบาลทําการสอบสวนและดําเนินคดีอาญาเนื่องจากความเกี่ยวข้องกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายระหว่างประเทศรวมถึง ไม่จํากัดเพียงการดําเนินการตรวจสอบบรรดาข้อเท็จจริงทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาในคดีอาญาที่มีต่อลูกความของสํานักงานฯ อย่างเต็มที่ เป็นธรรมและสมบูรณ์ซึ่งย่อมรวมถึงการตรวจสอบและวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงความเหมาะสมและความสมควรแก่เหตุของการใช้กําลังของหน่วยงานของรัฐบาลไทยที่กระทําต่อการชุมนุม สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิของพลเรือน (International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) ซึ่งประเทศไทยก็เป็นประเทศตกลงเข้าผูกพันมีข้อกําหนดให้หลักประกันแก่ลูกความของสํานักงานฯ
ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการได้รับสิทธิที่จะต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรม (fair treatment in the conduct of their defense) นอกจากนี้ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ICCPR ยังรับรองสิทธิที่จะได้รับคําแนะนํา คําปรึกษาทางกฎหมายจากทนายความ ที่ลูกความของสํานักงานฯ ต้องการอย่างมีอิสระและยังรับรองสิทธิผ่านทางทนายความและผู้เชี่ยวชาญอิสระที่จะตรวจสอบและทําการทดสอบบรรดาพยานหลักฐานทั้งปวงที่รัฐใช้อ้างในการกล่าวหาและดําเนินคดีลูกความของสํานักงานฯสําหรับกรณีของลูกความบางรายของสํานักงานฯ สิทธิที่จะทําการตรวจสอบพยานหลักฐานยอมเกี่ยวพันไปถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเสียชีวิตของบุคคลจํานวน 90 รายที่เกิดขึ้นในระหว่างที่มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ลูกความของสํานักงานฯ จํานวน 13 ราย
ถูกตั้งข้อกล่าวหาในคดีอาญาว่าเป็นผู้เกี่ยวพันหรือก่อให้เกิดการใช้กําลังและความรุนแรง ดังนั้นข้อเท็จจริง ข้อมูล และพยานที่เกี่ยวข้องโดยตรง และโดยพฤติเหตุแวดล้อมกับการเสียชีวิตของพลเรือนและทหารในช่วงเวลาดังกล่าว จึงเกี่ยวพันโดยตรงกับการตั้งข้อกล่าวหาของรัฐบาลไทย
นอกจากนี้แล้ว พยานหลักฐานจะเป็นตัวพิสูจน์ว่ารัฐบาลไทยได้ปฏิบัติต่อประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงอย่างเหมาะสมและโดยสมควรแก่เหตุหรือไม่ และยังเป็นสิ่งที่จะพิสูจน์ว่าการใช้กําลังเข้าสังหารพลเรือนโดยรัฐบาลไทย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่และการใช้กําลังของรัฐบาลไทยดังกล่าวเป็นเหตุชนวนที่ก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรงหรือไม่ ข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นสิ่งที่จําเป็นและเกี่ยวข้องโดยตรงในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของลูกความของสํานักงานฯ อย่างน้อย 13 คน ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดอาญาอย่างร้ายแรงซึ่งมีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต
นอกจากนี้ เป็นสิ่งที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าประเทศไทยมีภาระหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จะต้องทําการสอบสวนการกระทําความผิดกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ และหากพบว่ามีการกระทําความผิด ประเทศไทยก็มีภาระหน้าที่ที่จะต้องดําเนินการตามกฎหมายอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ระบุไว้โดยชัดแจ้งในสนธิสัญญาแห่งกรุงเจนีวาปี 1949 (the Geneva Convention of 1979) ในสนธิสัญญาสหภาพยุโรปว่าด้วยการก่อการร้ายปี 1977 (European Terrorism Convention of 1977) ในสนธิสัญญาว่าด้วยตัวประกัน (Hostages Convention of 1979) ในสนธิสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการประทุษร้ายปี 1984 (Anti-Torture Convention of 1987) และสนธิสัญญา แห่งนครนิวยอร์ค ว่าด้วยอาชญากรรมต่อบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศปี 1973 (the New York Convention of Crime against Internationally Protected Person of 1973)
การดําเนินการของรัฐบาลไทยที่เป็นการละเมิดหลักประกันต่อพลเรือนว่าจะไมถูกกระทําวิสามัญฆาตกรรมและการกักขังหน่วงเหนี่ยวไว้ตามอําเภอใจ อาจเป็นการกระทําที่เป็นอาชญากรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศ แม้ว่าการกระทําต่างๆ ของรัฐบาลจะอ้างว่าเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมายหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเหตุกรณีพิเศษ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลไทยจึงมีภาระหน้าที่ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่จะทําการสืบสวนสอบสวนอย่างเต็มที่ ครบถ้วน และเป็น ธรรม สําหรับเหตุการณ์ที่มีการสังหารพลเรือนมากกว่า 80 ราย โดยหน่วยงานของรัฐบาลไทยในระหว่างที่มีการใช้อํานาจตามกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินต่อประชาชนผู้เข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง และมีหน้าที่ต้องดําเนินคดีต่อบุคคลใดๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบสั่งการให้มีการดําเนินการจนเป็นเหตุให้มีการเสียชีวิตของพลเรือนดังกล่าว
นอกจากนี้ ในสภาวการณ์เช่นนี้รัฐบาลไทยจะต้องให้องค์กรที่เป็นอิสระและมีความเป็นกลางทําการสอบสวนข้อเท็จจริงเพราะ จะต้องมีการใช้กลไกของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะเจาะจง เพื่อให้เกิดหน้าที่โดยทั่วไปในการตรวจสอบข้อกล่าวหาถึงการละเมิดกฎหมายโดยทันที โดยละเอียดรอบครอบและอย่างมีประสิทธิภาพผ่านทางองค์กรที่เป็นอิสระและมีความเป็นกลางและเป็นหน้าที่ที่ชัดเจนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศว่า หากการสอบสวนแสดงว่ามีการละเมิดสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองตามสนธิสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ รัฐมีหน้าที่ต้องดําเนินคดีเพื่อทําให้เกิดความยุติธรรม การที่รัฐบาลล้มเหลวในการดําเนินการเช่นนี้ อาจถือเป็นการกระทําละเมิดต่อภาระหน้าที่ ต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
ภาระหน้าที่ของรัฐมีอย่างชัดเจน โดยเฉพาะต่อการละเมิดกฎหมายที่ถือว่าเป็นอาชญากรรมทั้งภายใต้กฎหมายภายในประเทศและภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ เช่น ในเรื่องการประทุษร้ายและการปฏิบัติต่อพลเรือนด้วยความทารุณโหดร้าย ไมเคารพสิทธิมนุษยชน (มาตรา 7) และ การฆาตกรรมตามอําเภอใจและเลือกปฏิบัติ (มาตรา 6)”
นอกจากนี้ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (the Human Rights Committee of the United Nations) ได้กําหนด “อาจมีสถานการณ์ที่หากรัฐไม่ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ตามมาตรา 2 ของสนธิสัญญาจะนําไปสู่การกระทําอันถือว่าเป็นการละเมิดสนธิสัญญาโดยรัฐ เนื่องจากการที่รัฐปล่อยหรือละเลยที่ใช้มาตรการที่ปฏิบัติภาระหน้าที่ด้วยความระมัดระวังในการป้องกัน ลงโทษตรวจสอบหรือเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทําผิดเหล่านั้น” ภายใต้หลักการของกฎหมายระหว่างประเทศดังกล่าว ลูกความของสํานักงานฯ และคณะทนายความที่ดําเนินการสู้คดีแก่ลูกความเหล่านี้จึงมีสิทธิที่จะร้องขอ และโดยหนังสือฉบับนี้ถือเป็นร้องขอต่อรัฐบาลไทยและท่านให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
1.ให้ท่านดําเนินการผ่านทางองค์กรที่มีความอิสระและเป็นกลาง สืบสวนสอบสวนถึงการใช้กําลังอาวุธโดยหน่วยงานของรัฐบาลไทยที่กระทําต่อประชาชนผู้ร่วมการชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงในระหว่างเดือนเม.ย.และพ.ค. 2010 ในกรุงเทพฯ (“การชุมนุม”) อย่างเต็มที่ เป็นธรรมและโดยสมบูรณ์
2.ให้ท่านเก็บรักษาพยานหลักฐานต่างๆ ทั้งวัตถุพยาน พยานในทางนิติเวช เอกสาร เทปบันทึกภาพและเสียงที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานราชการของไทยที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุม คําร้องขอนี้รวมไปถึงบรรดาพยานหลักฐานของหน่วยงานของรัฐบาลเกี่ยวข้องกับการชุมนุม รวมถึงพยานหลักฐานที่อาจบ่งชี้ถึงการกระทําที่อาจเป็นการผิดกฎหมายอาญาของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร หรือบรรดาแกนนํา นปช. ในส่วนที่เกี่ยวกับการชุมนุม
3.ขอให้ท่านเปิดเผยรายละเอียดของพยานหลักฐานต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในวรรค 2 ต่อคณะทนายความของลูกความของสํานักงานฯ โดยละเอียดและในทันที คําร้องขอให้เปิดเผยพยานหลักฐานนี้รวมถึงแถลงการณ์จากตํารวจ และ/หรือทหาร รวมทั้งแถลงการณ์จากเจ้าหน้าที่ของรัฐตามลําดับชั้นของการสั่งการของเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทยที่เกี่ยวข้องหรือโต้ตอบต่อการชุมนุม
4.ขอให้ท่านได้อนุญาตและเปิดโอกาสให้ลูกความของสํานักงานฯ การดําเนินการแทนโดยคณะทนายความในการที่จะตรวจสอบ ก.บรรดาวัตถุพยานต่างๆ และทําการชันสูตรและวิเคราะห์หลักฐานในทางนิติเวชโดยอิสระ ซึ่งรวมถึงการชันสูตรศพ การทดสอบการใช้ยุทธภัณฑ์ทหาร และการวิเคราะห์วิถีกระสุนที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นในระหว่างการชุมนุม ข.บรรดาพยานหลักฐานทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับการกล่าวหาลูกความของสํานักงานฯ รวมถึงการสอบปากคํา การไต่สวน คําให้การของพยาน รายงานการชันสูตรและรายงานวิถีกระสุน รายงานของผู้เชี่ยวชาญ และพยานหลักฐานอื่นๆ ที่อยูในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ รวมถึงแถลงการณ์โดย ตํารวจ ทหาร และ/หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวกับการสั่งการในเรื่องการใช้กําลังในการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ค.บรรดาพยานผู้เชี่ยวชาญและบรรดาพยานอื่นๆ ซึ่งหน่วยงานของรัฐบาลไทยใช้เป็นหลักฐานในการตั้งข้อกล่าวหา และงานการสอบสวนอื่นๆ ที่หน่วยงานของรัฐบาลไทย จัดเตรียมขึ้นมาเพื่อใช้กับการชุมนุมของคนเสื้อแดง
5.ให้ท่านอนุญาตให้คณะทนายความผู้ดําเนินการแทนลูกความของสํานักงานฯ เข้าร่วมในการสัมภาษณ์ การสอบปากคําพยาน หรือการสอบสวนบุคคลใดๆ โดยหน่วยงานของรัฐบาลไทยในการดําเนินการสอบสวน ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ รวมถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ ศอฉ. คณะกรรมการฯ หรือคณะทํางานด้านการสืบสวนสอบสวนใดๆของทางการในส่วนที่เกี่ยวกับการชุมนุม6.ให้ท่านดําเนินการเปิดโอกาสให้คณะทนายความของลูกความของสํานักงานฯ เข้าถึงเพื่อการตรวจสอบเอกสารหลักฐานดังรายการที่ระบุไว้ข้างท้ายนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับการดําเนินการต่อการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ก.บรรดาเอกสารของหน่วยงานราชการหรือทหารเกี่ยวกับเป็น “แผนการหลัก” จนนําไปสู่เหตุวุ่นวาย ข.บรรดาเอกสารของหน่วยงานราชการหรือทางทหารเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทางการทหารในการจัดการสลายการชุมนุมตามแผนการหลักข้างต้น ค.บรรดาเอกสารของหน่วยงานราชการหรือทางทหารเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การปฏิบัติการของทหารในการจัดการสลายการชุมนุมตามยุทธศาสตร์ทางการทหารเป็นฐานในการออกคําสั่งในทางปฏิบัติ เพื่อทําการสลายการชุมนุม
รวมถึงรายงานข่าวกรองและการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่างๆ ฉ.บรรดาคําสั่งปฏิบัติการณ์ของหน่วยงานต่างๆ ของกองทัพที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุม ช.บรรดาข้อมูลที่เกี่ยวกับคําสั่งทั้งด้วยวาจาและที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่สั่งต่อหน่วยงานต่างๆของกองทัพเกี่ยวกับการใช้กําลังเพื่อการสลายการชุมนุมการบังคับบัญชาภายในกองทัพไทยในส่วนที่เกี่ยวกับการสลายการชุมนุม
ฌ.บรรดาเอกสารทางการหรือทางทหาร ซึ่งระบุการบรรยายสรุปที่จัดต่อหน่วยงานต่างๆ ของกองทัพ รวมถึงหน่วยหน้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมในกองทัพที่มีส่วนเกี่ยวพันโดยเฉพาะเจาะจงในการสลายการชุมนุม รวมถึงการอธิบายถึงบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าว ฎ.บรรดาเอกสารทางการเมืองหรือทางทหารที่แสดงถึงขั้นตอนการปฏิบัติการที่เป็นมาตรฐานของกองทัพหรือกองกําลังของไทยในการจัดการกับการชุมนุมทางการเมือง รวมถึงรายงานสถานการณ์เบื้องต้น (rst impression report) หรือรายงานหลังเกิดเหตุการณ์ (after action report) ที่มีการจัดทําขึ้นและ ฏ.บรรดาเอกสารทางการหรือทางทหารที่อยู่ภายใน ประเภทที่ระบุไว้ในวรรค 6 (ก) – (ฎ) ข้างต้น ซึ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์อื่นๆที่มีลักษณะทํานองเดียวกันกับการชุมนุม
7.ให้ท่านให้คณะทนายความของลูกความของสํานักงานฯ มีโอกาสที่จะเข้าถึงวัตถุพยานและรายงานทางนิติเวชดังต่อไปนี้ ก.บรรดาข้อมูลทางการแพทย์ของการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของทหาร ข.บรรดาข้อมูลทางการแพทย์ของการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของพลเรือน ค.การศึกษาและทดสอบวิถีกระสุน ง.บันทึกภาพและบันทึกเสียงที่เกี่ยวกับการชุมนุม
รวมถึงบันทึกภาพและเสียงของหน่วยงานรัฐบาลไทยในการสลายการชุมนุม จ.บรรดาข้อมูลที่เกี่ยวกับคําสั่งที่มีต่อหน่วยงานของกองทัพเรื่องการเข้าถึงความช่วยเหลือทางการแพทย์แก่พลเรือนในระหว่างการชุมนุม ฉ.รายงานการชันสูตรศพ ซึ่งออกโดยหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการชุมนุม รวมถึงรายงานการชันสูตรศพที่ทําโดยแพทย์ทางด้านนิติเวชและ
ช.บรรดาแถลงการณ์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ศอฉ. คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือคณะกรรมการชุดอื่นๆ ที่ตั้งขึ้นโดยรัฐที่เกี่ยวกับการชุมนุม
8.ให้ท่านดําเนินการให้ความสะดวกแก่คณะทนายความของลูกความของสํานักงานฯ ในการสัมภาษณ์บุคคลดังต่อไปนี้ ก.บรรดาผู้บัญชาการผู้บังคับการของหน่วยงานของกองทัพที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการที่เกี่ยวกับการชุมนุม
ข.บรรดาผู้นําทางการเมืองที่มีอํานาจสั่งการกองทัพในการเข้าสลายการชุมนุม และ ค.บรรดาพยานผู้เชี่ยวชาญที่หน่วยงานของรัฐบาลไทยเชื่อถือ โดยรวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ ทั้งนี้จดหมายได้ระบุทิ้งท้ายว่า สํานักงานฯ หวังว่ารัฐบาลไทยจะปฏิบัติหน้าที่ตามภาระหน้าที่ที่มีและผูกพันไว้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ และด้วยเหตุนี้ เราจะรอฟังคําตอบจากท่านภายใน 10 วันข้างหน้า ขอแสดงความนับถือ
พร้อมกันนี้สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัม ยังได้แนบสําเนาจดหมายที่ส่งถึง มาดาม นาวิ พิเลย์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง สหประชาชาติ เจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ศาสตราจารย์ เนื้อหาว่า ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิของพลเรือนICCPR เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 1996 สนธิสัญญา ICCPR กําหนดโดยชัดเจนว่ารัฐต้องให้หลักประกันแก่พลเรือนภายใต้สนธิสัญญานี้ ในกรณีที่เกิดความไม่สงบทางการเมือง หรือเหตุฉุกเฉินสาธารณะอื่นๆ โปรดดูมาตรา 6 ของสนธิสัญญา ICCPR และกฎขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยหลักขั้นพื้นฐานในการใช้กําลังและอาวุธโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะหลักในการปฏิบัติข้อที่ 7 และข้อที่ 8 (U.N. Basic Principles on the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Oficials of 1990, Principle 7 and 8) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ, ข้อสังเกตทั่วไปที่ 31, ลักษณะของหน้าที่ตามกฎหมายทั่วไปต่อรัฐที่เป็นภาคีของสนธิสัญญาความเห็นที่ 31 วรรค
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายด้านความมั่นคง กล่าวถึงความเคลื่อนไหวของนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ปรึกษาเศรษฐกิจรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งหลายฝ่ายเป็นห่วงกันว่า กระทรวงการต่างประเทศกระทรวงฝ่ายเดียวอาจจะเอาไม่อยู่ว่า เอาอยู่หรือไม่พูดยาก แต่กระทรวงการต่างประเทศก็ต้องทำหน้าที่ของเขา
“ผมเชื่อว่าด้วยฐานะของการเป็นกระทรวงการต่างประเทศ การไปพูดจาต่อมิตรประเทศทั้งหลาย ต้องมีน้ำหนักกว่าคำพูดของคุณนพดล ที่ใครก็จะต้องเข้าใจเจตนาชัดว่าเป็นลูกน้องและเป็นบริวารคุณทักษิณ เพราะฉะนั้นน้ำหนักการพูดจาก็จะแตกต่างกัน ยิ่งกระทรวงการต่างประเทศได้พูดเรื่องที่เป็นความจริง มีเหตุมีผลชัดเจนก็จะยิ่งได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้น” นายสุเทพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประเทศไทยควรมีการจ้างบริษัทล็อบบี้ยิสต์ในต่างประเทศ เพื่อชี้แจงกับต่างประเทศได้ง่ายขึ้นหรือไม่ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า เป็นส่วนของผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบทางด้านนี้ ถ้าเห็นว่ามีความจำเป็น ตนไม่สามารถให้ความเห็นได้
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1207 ครั้ง