รายงานการสำรวจความสามารถในการแข่งขันของศูนย์กลางการเงินทั่วโลกจัดทำโดยอิงดัชนีการพัฒนาศูนย์กลางการเงินระหว่างประเทศของซินหัว-ดาวโจนส์หรือดัชนี IFCD (Xinhua-Dow Jones International Financial Centers Development Index) ระบุว่า มหานครเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางการเงินที่มีความสามารถในการแข่งขันดีที่สุดอันดับที่ 8 ของโลก
รายงานยังระบุอีกว่า นิวยอร์กคือ ศูนย์กลางการเงินอันดับ 1 ของโลก ขณะที่ลอนดอนและโตเกียวตามมาเป็นอันดับที่ 2 และ 3 ส่วนเซี่ยงไฮ้ซึ่งหวังเป็นศูนย์กลางการเงินและการขนส่งทางเรือของโลกอยู่ในอันดับที่ 8 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตและการพัฒนาที่รวดเร็วของมหานครแห่งนี้
ดัชนี IFCD ได้นำเอาขีดความสามารถในการพัฒนา (Development Capability) มาใช้เป็นตัวชี้วัดเป็นครั้งแรกในการวัดความสามารถในการแข่งขันของเมืองที่เป็นศูนย์กลางการเงินที่ผ่านเกณฑ์ในการพิจารณาจัดอันดับ
รายงานฉบับนี้ได้รวมเอา 45 เมืองทั่วโลกมาทำการพิจารณาจัดอันดับโดยเมืองที่ได้อันดับศูนย์กลางการเงินโลก 10 อันดับแรกได้แก่
อันดับที่ 1 นิวยอร์ก
อันดับที่ 2 ลอนดอน
อันดับที่ 3 โตเกียว
อันดับที่ 4 ฮ่องกง
อันดับที่ 5 ปารีส
อันดับที่ 6 สิงคโปร์
อันดับที่ 7 แฟรงก์เฟิร์ต
อันดับที่ 8 เซี่ยงไฮ้
อันดับที่ 9 วอชิงตัน ดีซี
อันดับที่ 10 ซิดนี่ย์
ด้วยการรวมเอาตัวชี้วัดในด้านต่า่งๆ 66 ตัวชี้วัด และ ทำการสำรวจกับผู้ตอบคำถามกว่า 2,386 ราย ดัชนี IFCD ได้คัดเลือกเอาเมือง 45 เมืองเป็นกลุ่มตัวอย่างในแบบสอบถาม และได้สร้างระบบการประเมินผลแบบรอบด้านขึ้น ระบบดัชนีตัวชี้วัดที่อิงกับความเป็นจริง (Objective Indicator System) ได้ประเมินศูนย์กลางการเงินโลกบนพื้นฐานของตัวชี้วัดใน 5 ด้านด้วยกันได้แก่ ตลาดการเงิน การเติบโตและการพัฒนา การสนบัสนุนอุตสาหกรรม บริการ และ สิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป
ตามรายงานฉบับนี้ เมืองที่เป็นกลุ่มตัวอย่างล้วนเป็นศูนย์กลางการเงินที่ได้รับการยมอรับไปทั่วโลกและมีอิทธิพลในระดับสูง
โดยยุโรปมีศูนย์กลางการเงินมากที่สุดคือ 21 เมือง ตามมาด้วยเอเชียและแอฟริกาแห่งละ 14 เมือง ทวีปอเมริกา 10 เมือง โดย 8 เมืองมาจากอเมริกาเหนือ
3 เมืองจากจีนที่ติดมาในโผได้แก่ เซี่ยงไฮ้ในอันดับที่ 8 ปักกิ่งในอันดับที่ 13 และเซินเจิ้นในอันดับที่ 22
“ลักษณะพิเศษที่ทำให้ดัชนี IFCD แตกต่างจากดัชนีอื่นๆก็คือ การออกแบบระบบการการประเมินซึ่งให้น้ำหนักในเรื่องของพัฒนาการของตลาดการเงินและสิ่งแวดล้อมทางนิเวศน์ทางการเงิน มีการพิจารณาสิ่งแวดล้อมอันซับซ้อนของเมือง ประเทศ และภูมิภาค และยังให้ความสำคัญกับการเติบโตของศูนย์กลางการเงินแต่ละแห่งเช่นเดียวกับระดับขั้นของการพัฒนา (maturity)” นายหลู่ เว่ย (Lu Wei) รองกรรมการผู้จัดการ (vice-president) ของสำนักข่าวซินหัวกล่าว
ดัชนี IFCD ได้ให้ข้อแนะนำแก่เซี่ยงไฮ้และเมืองอื่นๆของจีนที่ต้องการสร้างตัวเองเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจที่ทรงอิทธิพลในระดับโลก นายเฉิน เต้าฝู (Chen Daofu) ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยการพัฒนาแห่งคณะรัฐมนตรีของจีน
นายหลิว เซินจวิ้น (Liu Shenjun) รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเงินระหว่างประเทศลู่้เจียจุยจากวิทยาลัยธุรกิจระหว่างประเทศจีนยุโรป (China Europe International Business School Lujiazui International Financial Research Center) กล่าวว่า อันดับของเซี่ยงไฮ้นั้นสูงกว่าความเป็นจริง
“ศูนย์กลางการเงินระหว่างประเทศที่แท้จริงต้องเปิดกว้างมากกว่้านี้ด้วยสภาพคล่องของเงินทุนที่มากขึ้น และมันควรจะเป็นสถานที่สำหรับนักลงทุนระหว่่างประเทศสามารถลงทุนได้อย่างเสรี ในความหมายเช่นนั้น เซี่ยงไฮ้ไม่สามารถเป็นได้แม้กระทั่งศูนย์กลางการเงินของเอเชียในตอนนี้” นายหลิวกล่าว
“มันเป็นสิ่งที่ดีที่จะมีการสนับสนุนจากรัฐบาล แต่ความพยายามของภาครัฐจะมีผลในระยะสั้นเท่านั้น ในแง่ของการดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกเพิ่มเติมนั้น เซี่บงไฮ้จะต้องเรียนรู้จากหลายๆเมืองอย่างนิวยอร์กและโตเกียว” นายหลิวกล่าว
ดัชนี IFCD ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกหลังจากการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง China Finance Corporation (CNC) Holding Ltd ซึ่งเป็นบริษัทลูกของสำนักข่าวซินหัว กับ Chicago Mercantile Exchange (CME) Group Index Services LLC หรือ ดัชนีดาวโจนส์ (Dow Jones Index) เมื่อวันพุธที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา
ที่มา สำนักข่าวซินหัว