นักวิชาการด้านประชากรศาสตร์ จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า สถานะประชากรไทยขณะนี้อยู่ในภาวะวิกฤต จากอัตราการเกิดที่ต่ำ ด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคม ทำให้การแต่งงานและมีบุตรของหญิงไทยช้าลง ประกอบกับผู้หญิงมีศักยภาพสูงขึ้น รัฐบาลจึงควรมีมาตรการวางแผน เน้นคุณภาพของประชากรมากกว่าปริมาณ เริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์ เพื่อให้ทารกที่เกิดมามีคุณภาพ
ทั้งนี้ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากร 63.6 ล้านคน อยู่ในวัยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี 13.2 ล้านคน หรือร้อยละ 20.7 ประชากรวัยแรงงาน อายุ 15-59 ปี มีอยู่ร้อยละ 67.4 หรือราว 42.9 ล้านคน และวัยผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป อยู่ที่ 7.5 ล้านคน หรือร้อยละ 11.9 สำหรับผลการศึกษาที่เสนอเปลี่ยนคำนิยามผู้สูงอายุไทยจาก 60 ปีขึ้นไป เป็น 65 ปี ขึ้นไป ทำให้ประเทศได้ประโยชน์ แต่หากรัฐบาลยืนยันว่า จ่ายสวัสดิการผู้สูงอายุได้ก็ไม่ขัดข้อง แต่ย้ำว่าอนาคตผู้สูงอายุไทยจะเพิ่มมากและเร็วขึ้น ปัจจุบันไทยมีผู้สูงอายุ 7.5 ล้านคน และจะเพิ่มเป็น 8.7 คน อีก 15 ปี หากใช้เกณฑ์ 60 ปี
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 2892 ครั้ง