แถลงการณ์ด่วน
วันที่ 16 กรกฎาคม 2553
ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ได้มีมติชี้มูลความผิด กรณีที่กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของพ.ต.ท.
การกระทำดังกล่าวของหน่วยงานรัฐและรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ทำให้กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของทีพีไอได้รับความเสียหายจำนวนมหาศาล ตลอดระยะเวลา 13 ปีของการปรับโครงสร้างหนี้ ทำให้ขณะนี้หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงการคลังได้เข้าไปถือครองหุ้นในทีพีไอหรือไออาร์พีซีในปัจจุบันกว่า 60 เปอร์เซ็นต์
ดังนั้น กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของทีพีไอ จึงเชื่อมั่นว่ากระทรวงการคลังและรัฐบาลชุดปัจจุบัน จะพิจารณาให้การเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม เพราะเมื่อป.ป.ช.ได้มีการชี้ชัดถึงการกระทำความผิดของกระทรวงการคลังและรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณแล้ว รัฐบาลชุดปัจจุบันมีความชอบธรรมที่จะเยียวยาความเสียหายที่เกิดกับกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมทีพีไออย่างเร่งด่วน ควบคู่ไปกับการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมของคณะกรรมการป.ป.ช.
ทั้งนี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. มีมติ 6:2 ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังผู้ล่วงลับ ปรึกษาหารือเรื่องที่จะให้กระทรวงการคลังเข้าไปเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (ทีพีไอ) พ.ต.ท.ทักษิณเห็นชอบและเสนอคณะผู้บริหารแผน และภายหลังกระทรวงการคลังได้ยินยอมเข้าไปเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ สำหรับ ร.อ.สุชาติมีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่ร.อ.สุชาติ เสียชีวิต จึงให้จำหน่ายคดี
สำหรับกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมทีพีไอ มีนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ภายหลังการเข้าไปบริหารแผนฟื้นฟูของกระทรวงการคลัง ตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ เหลือหุ้นไมถึง 10% โดยหน่วยของรัฐ ประกอบด้วย บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กองทุนวายุภักดิ์ กองทุนกบข. และธนาคารออมสิน เข้าไปถือหุ้นกว่า 60%
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 2497 ครั้ง