คาซัคสถานประเทศอดีตสหภาพโซเวียตซึ่งเคยขายพันธบัตรในต่างประเทศครั้งล่าสุดเมื่อปี 2000 กำลังวางแผนเตรียมการออกพันธบัตรอิสลามเพื่อกระจายฐานนักลงทุนหลังจากยกเลิกแผนการออกพันธบัตรยูโร (Eurobond) เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
รัฐบาลจะขายพันธบัตรอิสลามในช่วงครึ่งหลังของปีนี้และกำลังเร่งรัดเรื่องการแก้กฎหมายซึ่งจะช่วยให้บริษัทต่างๆนอกเหนือจากรัฐวิสาหกิจและธนาคารอิสลามสามารถออกขายพันธบัตรอิสลามหรือ sukuk ได้ด้วย นายอิเบ็ก เบ็กซานอฟ หัวหน้าตราสารการเงินอิสลามจากศูนย์กลางการเงินภูมิภาคแห่งอัลมาตี้ (Regional Financial Center of Almaty) หน่วยงานของรัฐบาลที่ตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาตลาดทุนของประเ้ทศ
“เป้าหมายของเราคือการทำตลาดมุ่งไปที่ความต้องการภายในประเทศซึ่งจะช่วยพัฒนาตลาด” นายเบ็กซานอฟกล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่กรุงอัลมาตี้ “เรายังมีแผนการระดมทุนในต่างประเทศผ่านการเงินอิสลามเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระชับความสัมพันธ์ในต่า่งประเทศกับเอเชียและตะวันออกกลาง”
กระทรวงการคลังกล่าวเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า รัฐบาลได้บกเลิกแผนการออกพันธบัตรระหว่างประเทศมูลค่า 750 ล้านดอลลาร์ในปีนี้โดยอ้างเหตุผลจากการที่ได้ลงนามในข้อตกลงเงินกู้มูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์เมื่อเดือนพฤษภาคมกับธนาคารโลกหลังจากที่มีธนนาคารท้องถิ่น 4 แห่งผิดนัดชำระหนี้เมื่อปีที่แล้วและทางการได้เข้าไปควบคุมกิจการหนึ่งแห่งคือ ธนาคารบีทีเอ
วิกฤตการเงินได้ส่งผลให้ค่าประกันความเสี่ยงจากการถือพันธบัตรรัฐบาลคาซัคสถานพุ่งไปถึง 1,650 เบสิสพอยต์หรือ 16.5% เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2009 ข้อมูลจากซีเอ็มเอดาต้าวิชั่นระบุ สัญญาประกันความเสี่ยงในรูปของ CDS หรือ Credit Default Swaps จะจ่ายเงินต้นเต็มจำนวนตามมูลค่าหน้าตั๋วของตราสารหนี้ให้กับผู้ถือหากรัฐบาลหรือบริษัทผู้ออกผิดนัดชำระหนี้ โดยหลังจากวิกฤตการเงินค่าประกันความเสี่ยงหรือพรีเมี่ยมที่ต้องจ่ายให้กับ CDS ของคาซัคสถานได้ร่วงลงมาอยู่แค่ 2%
ขายได้ลำบาก
“มันสมเหตุสมผลสำหรับคาซัคสถานที่จะเริ่มสร้างโครงสร้างหนี้สินด้วยฐานนักลงทุนที่หลากหลาย” นายริชาร์ด ซีกั้ล ผู้อำนวยการฝ่ายตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่ในลอนดอนจากบริษัทไนธ์ ลิเบอร์ตัส กล่าวในการให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมกับบลูมเบิร์ก “ถ้าหากพวกเขาต้องการพุ่งเป้าไปที่นักลงทุนทั่วไปในยุโรป มันจะเป็นงานที่ลำบากมากเพราะนักลงทุนทั่วๆไปจำนวนมากประสบกับความยากลำบากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจากการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน”
คาซัคสถานซึ่งมีประชากรกว่า 47% เป็นชาวมุสลิมนิกายซุนหนี่จากจำนวนประชากร 15.6 ล้านคน ณ ช่วงต้นปี 2008 ได้ออกขายพันธบัตรในตลาดต่างประเทศเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายนปี 2000 รัฐบาลได้ออกตราสารหนี้มูลค่า 350 ล้านดอลลาร์ ดอกเบี้ยหน้าตั๋ว 11.125% ซึ่งหมดอายุเมื่อปี 2007 จากข้อมูลของบลูมเบิร์ก ปัจจุบันคาซัคสถานมีตราสารหนี้และเงินกู้คงค้างอยู่ในระบบอยู่ 37,000 ล้านดอลลาร์จากข้อมูลของบลูมเบิร์ก
การออกพันธบัตรอิสลามจะเริ่มเห็นสัญญาณของการเติบโตที่ยั่งยืนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี นำโดยเอเชียและบรรดาผู้ออกขายครั้งแรก บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor’s ระบุในแถลงการณ์ในวันที่ 28 กรกฎาคม
ยอดการออกขายพันธบัตรอิสลามทั่วโลกลดลง 29% มาอยู่ที่ 6,700 ล้านดอลลาร์ นับแต่ตั้นปีจากข้อมูลของบลูมเบิร์ก ยอดการออกในปี 2009 อยู่ที่ 20,200 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 14,100 ล้านดอลลาร์ในปี 2008 และเคยทำสถิติสูงสุดในปี 2007 ถึง 31,000 ล้านดอลลาร์
ธนาคารอัลอามานะห์
ธนาคารอิสลามอัลอามานะห์ของรัฐบาลฟิลิิปปินส์กำลังเตรียมออกขายพันธบัตรอิสลามเป็นครั้งแรกของประเทศ นายอาร์มันโด้ ซาเมีย กรรมการผู้จัดการของธนาคารกล่าวเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ธนาคารอิสลามแห่งประเทศก็มีแผนเตรียมออกพันธบัตรอิสลามเพื่อนำเสนอบริการทางการเงินแก่ชาวมุสลิมในประเทศ ขณะที่โนมูระซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์อันดับหนึ่งของญี่ปุ่นก็กำลังระดมเงิน 100 ล้านดอลลาร์ จากการออกพันธบัตรอิสลามเป็นครั้งรแกในมาเลเซียเพื่อรุกเข้าสู่้ธุรกิจการเงินอิสลามแบบเต็มตัว
ส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่างผลตอบแทนของพันธบัตร sukuk ในประเทศเกิดใหม่้และดอกเบี้ยระหว่างธนาคารในกรุงลอนดอนหรือ Libor ลดลง 0.63% มาอยู่ที่ 4.04% ข้อมูลจากดัชนีHSBC/NASDAQ Dubai US Dollar Sukuk Index ระบุ ส่วนต่างนี้เพิ่มขึ้น 0.03% เพิ่มขึ้น 0.03% เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม
ตลาดวิ่ง
พันธบัตรอิสลามให้ผลตอบแทน 8% ในปีนี้ ข้อมูลจากดัชนีพันธบัตรอิสลาม HSBC/NASDAQ Dubai US Dollar Sukuk Index ขณะที่ตราสารหนี้ในประเทศกำลังพัฒนาให้ผลตอบแทน 9.5% ข้อมูลจากดัชนีพันธบัตร EMBI Global Diversified Index ของเจ.พี.มอร์แกนระบุ
อัตราผลตอบแทนบนพันธบัตรอิสลามของมาเลเซียที่มีคูปองหน้าตั๋ว 3.928% และหมดอายุในเดือนมิถุนายน 2015 ลดลง 0.01% มาอยู่ที่ 3.04% ในวันนี้ (29 กรกฎาคม) อัตราผลตอบแทนลดลงกว่า 0.48% ในเดือนกรกฎาคม ข้อมูลจากธนาคารอาร์บีเอสระบุ
เศรษฐกิจมูลค่า 102,000 ล้านดอลลาร์ของคาซัคสถานจะเติบโต 4% ในปีนี้ นายโบลัต ซามิเชฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังระบุเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน เทียบกับ 1.2% เมื่อปีที่แล้ว ปัจจุบันพันธบัตรรัฐบาลคาซัคสถานถูกจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ บีเอเอ2 โดยมูดี้ส์ ซึ่งเป็นระดับน่าลงทุนขั้นต่ำที่สุดอันดับที่ 2 ขณะที่เอสแอนด์พีให้ความน่าเชื่อถือต่ำกว่าหนึ่งระดับที่ บีบีบีลบ
รัฐบาลจะใช้แนวทางสำหรับการออกพันธบัตรใหม่ที่เป็นมาตรฐานสากลซึ่งกำหนดโดยโดยคณะกรรมการบริการการเงินอิสลามของมาเลเซีย นายเบ็กซานอฟกล่าว หน่วยงานนี้มีธนาคารกลางจากซาอุดิอาระเบียและกาตาร์เป็นสมาชิกด้วย
โครงสร้างของ sukuk จะเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับนักลงทุนตะวันออกกลางซึ่งมีความเคร่งครัดในการตีความกฎหมายอิสลามมากกว่า นายสก็อต ลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบลจ. เอ็มไอดีเอฟ อามานะห์ เบอร์ฮาด (MIDF Amanah Asset Management Bhd.) ในกัวลาลัมเปอร์ซึ่งบริหารสินทรัพย์ในรูปของกองทุนอิสลามมูลค่า 670 ล้านดอลลาร์ กล่าว่าวานนี้
ตะวันออกกลาง
“ความต้องการสำหรับผลิตภัณฑ์นี้มาจากนักลงทุนตะวันออกกลาง” นายลิมกล่าว “หากพวกเขากำลังเล็งไปที่ตะวันออกกลาง พวกเขาควรจะจัดโครงสร้างพันธบัตรอิสลามให้สอดคล้องกับนักลงทุนกลุ่มนี้”
รับบาลคาซัคสถานได้อนุมัติการจัดตั้งกองทุนลงทุนอิสลามและธนาคารอิสลามเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งดึงดูดธนาคารต่างๆเช่น ธนาคารอัลฮิลาลซึ่งเป็นธนาคารของรัฐบาลอาบูดาบี มาเสนอบริการการเงินอิสลามในประเทศ
นอกจากกระทรวงการคลังแล้ว ธนาคารเพื่อการพัฒนาคาศัคสถาน (Dvelopment Bank of Kazakhstan) ก็อาจที่จะออกพันธบัตรอิสลามด้วย นายเบ็กซานอฟกล่าว การแก้กฎหมายเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อขยายจำนวนผู้ออกพันธบัตรอิสลาม เขากล่าว
“ตอนนี้มีความสนใจที่ชัดเจนจากบริษัทต่างๆที่ต้องการออก sukuk แต่หนึ่งในอุปสรรคสำคัญคือ ข้อจำกัดทางกฎหมาย” เขากล่าว “เรากำลังทำงานเพื่อขยายขอบเขตของบริษัทที่สามารถออกพันธบัตรอิสลามได้ และหวังว่าตลาดนี้จะมีการพัฒนาอย่างจริงจังในอนาคต”
ที่มา Bloomberg