วันที่ 3 สิงหาคม 2553) เวลา 11.30 น. นายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร นายวิศาล วุฒิศักดิ์ศิลป์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร นายนรินทร์ กัลยาณมิตร รองอธิบดี แถลงข่าวการจับกุม คอมพิวเตอร์แบบพกพา สุราต่างประเทศ เครื่องเลื่อยยนต์ บุหรี่ บาระกู่ สื่อและวัตถุลามก วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาประเภทเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เครื่องสำอาง แผ่นดีวีดีภาพยนตร์-เกมส์ ณ บริเวณลานจอดรถหน้าส่วนของกลาง กรมศุลกากร
ตามที่กรมศุลกากรได้มุ่งเน้นนโยบายสำคัญในการเร่งรัดการปราบปรามสินค้าลักลอบหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม ข้อกำกัด เพื่อความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี ปกป้องสังคมและสิ่งแวดล้อม นายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร จึงได้สั่งการให้ นายวิศาล วุฒิศักดิ์ศิลป์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร นายเสรี ไทยจงรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนและปราบปราม นายฉัตรชัย อ่อนศิริ ผู้อำนวยการส่วนสืบสวนปราบปราม 1 นายวรพัฒน์ เชาว์วิศิษฐ ผู้อำนวยการส่วนสืบสวนปราบปราม 3 วางแผนการจับกุมผู้กระทำความผิด ดังนี้
-วันที่ 2 สิงหาคม 2553 เจ้าหน้าที่ส่วนสืบสวนปราบปราม 3 ตรวจยึดสินค้าควบคุมการนำเข้าประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่ ยี่ห้อ APPLE รุ่น iPhone 4 จำนวน 29 เครื่อง และ TABLET Pc. iPad ยี่ห้อ APPLE จำนวน 5 เครื่อง ซึ่งมีกำเนิดจากต่างประเทศ รวมมูลค่า 600,000.- บาท ภายในบริเวณช่องไม่มีของต้องสำแดง(ช่องเขียว) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ
-วันที่ 19 กรกฎาคม 2553 เจ้าหน้าที่สำนักสืบสวนและปราบปรามร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง ตรวจสอบสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าเลขที่ A019-05307-01416 พบสินค้าต้องห้าม ต้องกำกัด ในการนำเข้าประเภทสื่อและวัตถุลามก วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ เครื่องคิดเลข นาฬิกาข้อมือ เสื้อผ้า โมเดลของตกแต่ง ของเล่นพลาสติก แผ่น ซีดีเพลง และดีวีดีภาพยนตร์ และอื่นๆ รวมกว่า 94,154 ชิ้น รวมมูลค่า 24,889,920.- บาท
-วันที่ 15 กรกฎาคม 2553 ตรวจยึดของกลางบุหรี่ต่างประเทศ ยี่ห้อ GUDANG GARAM จำนวนรวม 17,520 มวน และบาระกู่ ปริมาณกล่องละ 1,000 กรัม จำนวน 20 กล่อง รวมมูลค่า 75,000.- บาท จากศูนย์ไปรษณีย์ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
-วันที่ 9 กรกฎาคม 2553 ตรวจค้นบริเวณหน้าตึกแถวเลขที่ 129/23 ถนนเสด็จ ตำบลมีชัย อำเภอเอง จังหวัดหนองคาย พบของกลางลักลอบหนีศุลกากรประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา ยี่ห้อ Acer และ Dell จำนวนรวม 70 เครื่อง มูลค่า 2,000,000 บาท
วันที่ 8 กรกฎาคม 2553 เจ้าหน้าที่สำนักสืบสวนและปราบปรามร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ ตรวจสอบสินค้าที่นำเข้ามาตามใบขนสินค้าขาเข้าเลขที่ A008-05307-04938 สำแดงชนิดสินค้าเป็นสินค้าเบ็ดเตล็ด รวม 40 รายการ ตรวจพบของที่ไม่ได้สำแดงเป็นเครื่องจักรกลต้นกำลังและอุปกรณ์ ซึ่งสามารถนำมาประกอบเป็นเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ อันเป็นของควบคุมการนำเข้าตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.2545 จำนวน 192 เครื่อง มูลค่า 192,000.- บาท
– วันที่ 5 – 6 กรกฎาคม 2553 เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องป้องกันและปราบปรามของศุลกากรปราณบุรี สำนักสืบสวนและปราบปราม ได้ทำการตรวจรถประจำทางปรับอากาศ ที่บริเวณจุดตรวจของศุลกากรปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ พบสุราต่างประเทศ Johnny Walker Red Label ขนาด 1 lite จำนวน 504 ขวด มูลค่า 453,600 บาท
-วันที่ 22 มิถุนายน 2553 ได้ทำการตรวจยึดของกลาง บาระกู่ จำนวน 4,000 กล่อง น้ำหนักกล่องละ 200 กรัม มูลค่า 1,600,000.-บาท และอุปกรณ์สูบบาระกู่ครบชุดทำด้วยแก้ว จำนวน 664 ชุด มูลค่า 664,000.-บาท ณ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามภาคตะวันออก จ.ชลบุรี
-ในระหว่างเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม 2553 เจ้าหน้าที่ส่วนสืบสวนปราบปราม 1 สำนักสืบสวนและปราบปราม ได้ทำการตรวจยึดสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาได้ดังนี้
· แผ่นดีวีดีภาพยนตร์,เกมส์ ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จำนวนรวม 12,960 แผ่น มูลค่า 6,480,000 บาท จากศูนย์ไปรษณีย์ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ และจากรถประจำทางปรับอากาศ ที่บริเวณจุดตรวจของศุลกากรปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
· สินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทรองเท้า กระเป๋า เสื้อผ้า เครื่องสำอางรวม 2,087 ชิ้น มูลค่ารวม 1,831,450 บาท ที่บริเวณหน้า บริษัท อรัญฯ ขนส่ง จำกัด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ และบริเวณหน้าบริษัท นวรรณขนส่ง จำกัด ถ.พุทธมณฑลสาย 3 เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ
กรณีดังกล่าวเป็นความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามข้อกำกัด และนำหรือพาของที่ยังไม่ได้เสียค่าภาษี หรือของต้องห้าม ของต้องจำกัด หรือของที่ยังไม่ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร หรือซื้อหรือรับไว้ด้วยประการใดๆซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม หรือข้อกำกัด อันเป็นความผิดตามมาตรา 99, 27 และมาตรา 27 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ประกอบมาตรา 16,17 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 , พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 , พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 , พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2535, พ.ร.บ. เลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545 ,พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ. 2509 , พ.ร.บ. วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ฯ จึงได้ยึดของกลางนำส่งกรมศุลกากรเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 2018 ครั้ง