เสียงเตือนภัยจากรัสเซีย:สัญญาณเตือนภัยล่าสุดวิกฤตอาหารโลก
ตลาดเกษตรโลกปั่นป่วนอย่างหนักอีกครั้งหลังจากที่รัฐบาลรัสเซียโดยนายกรัฐมนตรีวลาดิเมียร์
ปูตินประกาศห้ามการส่งออกข้าวสาลีและเมล็ดพืชที่จำเป็นต่อการดำรงชีพอื่นๆออกนอกประเทศเมื่อวันที่5สิงหาคม2010โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่15สิงหาคม2010เป็นต้นไปจนถึง31ธันวาคม2010ส่งผลให้ราคาข้าวสาลีรวมถึงข้าวโพดพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลก
ข้าวสาลีซื้อขายในตลาดล่วงหน้าชิคาโก้ในสหรัฐฯทำสถิติสูงสุดในรอบ23เดือน
พุ่งขึ้นมากกว่า 90%ในเวลาไม่ถึง2เดือนนับแต่ช่วงมิถุนายน
หลายฝ่ายคาดว่าปัญหาภัยแล้งจากคลืนความร้อนในรัสเซีย
รวมถึงปัญหาในพื้นที่อื่นๆทั้งอากาศแห้งในยูเครน
คาซัคสภาน และสหภาพยุโรป
และน้ำท่วมในแคนาดาจะส่งผลกระทบซ้ำเติมราคาอาหารในปัจจุบันได้ในอนาคตเช่นกัน
ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีก็คือ
คำสั่งซื้อข้าวสาลีจากอิยิปต์ที่ผู้ค้ารัสเซียประมูลและรับมาทำนั้นต้องถูกยกเลิกอย่างกระทันหันเพราะคำสั่งของรัฐบาลจนบรรดาภาคเอกชนรัสเซียในธุรกิจเกษตรต่างโอดครวญกันถ้วนหน้า
ถึงกับที่ประธานสหภาพธุรกิจเมล็ดพืชของรัสเซีย
นายอาร์คาดี้ สโลเชฟสกี้บ่นเลยว่า
เหตุการณ์ครั้งนี้จะทำให้รัสเซียเสียความน่าเชื่อถือในฐานะผู้ผลิตและผู้ส่งออกข้าวสาลีที่เชื่อถือได้
ไม่เฉพาะอิยิปต์เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ
แต่ประเทศอื่นๆอย่างอินโดนีเซีย
บังคลาเทศ
และลูกค้าในตะวันออกกลางที่พึ่งข้าวสาลีรัสเซียและจากประเทศรอบๆทะเลดำในฐานะที่มีราคาถูกกว่าข้าวสาลีจากสหรัฐฯและออสเตรเลียและเป็นที่ไว้ใจกันมานานในฐานะคู่ค้าที่ใกล้ชิดต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า
แม้ไม่ได้ถูกยกเลิกคำสั่งทันที
แต่ในอนาคตก็ย่อมหมดสิทธิ์สั่งสินค้าเมล็ดพืชจากรัสเซียและจำต้องจ่ายเงินแพงขึ้นมากในการนำเข้าข้าวสาลีและเมล็ดพืชจากสหรัฐฯ
เหตุการณ์ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าประเด็นด้านอาหารเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงและพร้อมจะปะทุเป็นปัญหาใหญ่ได้ขนาดไหน
และเรื่องการห้ามการส่งออกก็ไม่ได้เพิ่งเกิดครั้งแรก
โดยรัสเซียและประเทศอื่นๆทั่วโลกเคยออกนโยบายในลักษณะนี้มาแล้วในช่วงวิกฤตอาหารปี2007-2008ภาวะอากาศซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติสามารถนำมาสู่ความเสี่ยงจากน้ำมือมนุษย์อันเนื่องมาจากการตัดสินใจของผู้ดำเนินนโยบาย
อีกทั้งต้องไม่ลืมปัจจัยสำคัญอย่างภาคการเงินซึ่งมีความรวดเร็วในแง่ข้อมูลข่าวสารและการเคลื่อนตัวของเงินทุนซึ่งจะยิ่งซ้ำให้ทุกอย่างเลวร้ายได้
ทั้งนี้ในช่วงที่รสเซียประกาศเรื่องนี้ออกมา
การซื้อขายข้าวสาลีในสหรัฐฯและยุโรปคึกคักมาชัดเจน
โดยเพียงแค่สัปดาห์เดียวคือ
วันที่ 2-6สิงหาคม2010ราคาได้มีการเหวี่ยงตัวมากกว่า20%ขณะที่การทะยานขึ้นมากกว่า90%ใช้เวลากว่า2เดือน
ทั้งนี้ก่อนจะเกิดปัญหาบรรดาวงการผู้ค้าเมล็ดพืชในตลาดการเงินในยุโรปและสหรัฐฯดูเหมือนจะเริ่มรับทราบสถานการณ์เป็นอย่างดีและเริ่มคาดการณ์ถึงมาตรการของทางการรัสเซียเอาไว้บ้างแล้ว
และสุดท้ายเมื่อทุกอย่างชัดเจนในวันที่5สิงหาคม
ตลาดการเงินก็เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วเพราะเห็นโอกาสในการเข้าทำกำไรที่มีมหาศาลในตลาดสินค้าเกษตร
ท่ามกลางภาวะความไม่แน่นอนของการลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุนอันเนื่องมาจากผลตกค้างของวิกฤตการเงินในสหรัฐฯและยุโรปนับแต่ปี2007และด้วยธรรมชาติอันรวดเร็วของทุนการเงินรวมถึงสัญชาตญาณแบบอีแร้งที่ฉวยโอกาสแบบไม่รั้งรอ
ทำให้หลังจากราคาข้าวสาลีทำสถิติพุ่งทะลุ8ดอลลาร์ต่อบูเชลในชิคาโก้
ก็เริ่มมีบรรดานักวิเคราะห์เริ่มออกมาคาดการณ์และให้เป้าหมายราคาใหม่ชนิดแพงลิ่วที่10ดอลลาร์ต่อบูเชล
ซึ่งแค่ราคาในปัจจุบันก็แทบจะจ่ายกันไม่ไหวแล้ว
ผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้จึงนับว่าจะสะเทือนทั้งระบบการเกษตรและระบบการเงินโลกมากขึ้นในอนาคต
บรรดาชาติมุสลิมซึ่งต่างต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวสาลีและอาหารอื่นๆจากต่างประเทศคงจะต้องคิดหนักมากขึ้น
วิกฤตจากรัสเซียซึ่งมาประดังในช่วงใกล้เทศกาลรอมฎอนครั้งนี้จะเป็นการปลุกให้บรรดาประเทศมุสลิมโดยเฉพาะผู้ส่งออกน้ำมันในตะวันออกกลางที่มีความพร้อมด้านเงินทุนต้องเร่งการไล่ซื้อทรัพยากรทางการเกษตรมากขึ้น
ทั้งนี้การไล่ซื้อทรัพยากรการเกษตรจะไม่กระจุกตัวแค่ในแอฟริกาเท่านั้น
แต่จะมีการกระจายตัวไปยังพื้นที่ที่มีความแน่นอนในด้านผลผลิตมากขึ้นด้วย
ซึ่งจริงอยู่แอฟริกามีความได้เปรียบในด้านภูมิศาสตร์และเป็นประเทศมุสลิมด้วยกันก็ตาม
แต่ก็มีความเสี่ยงด้านการเมืองและการลงทุนภาคเกษตรในแอฟริกาจำต้องทำการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามไปด้วย
ทำให้ต้นทุนที่ได้แพงและสุ่มเสี่ยงต่อปัญหาการแย่งอาหารจากคนในพื้นที่ด้วย
การไล่ซื้อสินทรัพย์ทางการเกษตรในอนาคตจึงต้องมุ่งเป้าหมายเพื่อเพิ่มความแน่นอนในด้านความมั่นคงทางอาหารที่มากขึ้น
ปัจจุบันตะวันออกกลางยังไม่มีการเคลื่อนตัวไปยังอเมริกาเหนือและละตินอเมริกาซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากและมีอาหารเหลือกินเหลือใช้กันมาก
อีกทั้งยังมีระบบโครงสร้างพื้นฐานและธุรกิจอาหารและการเกษตรรองรับไว้มากมาย
จึงสามารถรองรับการซื้อแบบ
“เหมาทั้ง Supply
Chain” ได้ทั้งหมดไล่ตั้งแต่ต้นน้ำ
กลางน้ำ ยันปลายน้ำ
โดยอาจซื้อในลักษณะสินทรัพย์ในวงจรต่างๆของSupply
Chainแล้วนำมารวมกันภายใต้บริษัทเพียงบริษัทเดียวซึ่งอาจเป็นบริษัทลงทุนของรัฐหรือที่มีรัฐสนบัสนุนเบื้องหลัง
หรืออาจซื้อหรือขอร่วมทุนกับบริษัทที่มีธุรกิจครบวงจรอยู่แล้วเลยก็ได้ซึ่งมีเครือข่ายและความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว
แต่ถึงอย่างไรเสียการเข้าไปไล่ซื้อที่ดินและสินทรัพย์การเกษตรในประเทศพัฒนาแล้วอาจจะยังเป็นเรื่องที่มีข้อจำกัดอยู่พอสมควรเพราะกลุ่มทุนในประเทศที่มีความแข็งแกร่งและครองตลาดอยู่แล้ว
ระดับรายได้ที่สูงและสามารถพึ่งตัวเองได้ของเกษตรกรในประเทศและที่สำคัญประเทศเหล่านี้ก็มีนโยบายปกป้องภาคการเกษตรและไม่จำเป็นต้องง้อต่างชาติมากเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาซึ่งแม้จะมีความแน่นอนทางการเมืองน้อยกว่าแต่ก็ต้องง้อประเทศอาหรับมากกว่าอยู่แล้ว
ยิ่งในปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วทั้งยุโรป
อเมริกาเหนือ
หรือประเทศกำลังพัฒนาในแถบละตินอเมริกาก็เป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลกคงไม่ต้องการที่จะปล่อยให้ธุรกิจตัวเองตกไปอยู่ในมือผู้อื่น
ดังนั้นแล้วอาหรับก็ยังคงต้องมุ่งสู่การลงทุนที่กระจายตัวไปทั่วโลกต่อไปโดยปรับกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่
การเข้ามาโดยตรงอาจจะเป็นรูปแบบที่เข้ามาในประเทศกำลังพัฒนาและพยายามประนีประนอมกับคนในพื้นที่มากขึ้น
ขณะที่ในประเทศพัฒนาแล้วอาจต้องมาทางอ้อมผ่านกองทุนในตะวันตกและการร่วมกับภาคเอกชนในประเทศตะวันตกหรือผ่านการอุดหนุนภาคเอกชนของประเทศตัวเอง
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1801 ครั้ง