หลังจากการพุ่งขึ้นของเงินดอลลาร์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี เงินดอลลาร์ก็ได้ร่วงลงอย่างหนักเทียบกับเงินยูโรและเงินเยนโดยบรรดานักค้าเงินต่างพุ่งเป้าไปที่เศรษฐกิจสหรัฐฯที่ชะลอตัวลงและเสถียรภาพในยุโรป
แต่ในตลาดปริวรรตเงินตรา ได้มีเสียงร่ำลือถึงอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในขณะนี้นั่นก็คือ จีน
ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา บรรดานักค้าเงินเชื่อว่าจีนได้ไล่ซื้อเงินเยนและเงินยูโรอย่างต่อเนื่อง นั่นน่าจะเป็นเพราะทางการจีนกำลังกระจายการถือครองทุนสำรองระหว่างประเทศมูลค่ากว่า 2.5 ล้านล้านดอลลาร์ออกจากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯมากขึ้น นักวิเคราะห์บางส่วนระบุ
อย่า่งไรก็ตามแม้จะไม่ได้บังเอิญเสียทีเดียว บางส่วนก็เห็นว่า การไล่ซื้อเงินเยนและยูโรของจีนครั้งนี้ได้ส่งผลให้ค่าเงินของประเทศคู่แข่งจีนแข็งค่้าขึ้น ส่งผลให้ผู้ส่งออกจีนยังคงมีความได้เปรียบในด้านราคาในตลาดโลก
เมื่อวันศูกร์ที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา เงินเยนๆได้พุ่งขึ้นจนแข็งที่สุดในปีนี้ไปแตะที่ 85.03 เยนต่อดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ 85.39 เยนต่อดอลลาร์ที่นิวยอร์ก เทียบกับ 85.82 เยนต่อดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี ขณะที่เงินยูโรไปแตะที่ 1.333 ดอลลาร์ต่อยูโร แข็งค่ามากที่สุดนับแต่เดือนเมษายน ก่อนถอยลงมาอยู่ที่ 1.3293 ดอลลาร์ต่อยูโรตอนปิดตลาด ซึ่งยังคงสูงกว่าระดับในวันพฤหสัที่ 1.3191 ดอลลาร์ต่อยูโร
เมื่อดูที่อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมหาศาลของสหรัฐฯ หากพูดถึงจังหวะที่เหมาะสำหรับจีนในการปรับสมดุลทุนสำรองให้ออกจากดอลลาร์มากขึ้น มันคือตอนนี้
“เมื่อมองไปที่การขายตราสารหนี้สหรัฐฯ จีนต้องเลือกเวลาที่เหมาะสมในการทำเช้นนั้น” นายดักลัส บอรธ์วิก หัวหน้าฝ่ายซื้อขายจากบริษัทฟารอส เทรดดิ้ง ในเมืองสแตมฟอร์ด รัฐคอนเนกติกัต เมื่อดูจากพื้นฐานของอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน “นี่คือหนึ่งในช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะขายตราสารหนี้สหรัฐฯและซื้อตราสารหนี้ญี่ปุ่นและยุโรป”
เมื่อดูจากหลายๆปัจจัยมันยังไม่แน่ชัดว่าจีนมีการปรับสัดส่วนการถือครองเงินตราแต่ละสกุลไปเท่าไร หรือแม้กระทั่งว่าจีนมีการปรับสัดส่วนการถือครองทุนสำรองจริงๆหรือไม่ และการเคลื่อนตัวของเงินตราหลายๆสกุลในช่วงที่ผ่านมาทำให้นักลงทุนหวังว่าการเคลื่อนไหวของจีนน่าจะทำให้ค่าเงินอื่นๆมีการแข็งตัวขึ้น
แต่จีนนั้นต่างจากธนาคารกลางอื่นๆตรงที่ทางการจีนไม่ได้เปิดเผยสัดส่วนการถือครองเงินตราสกุลต่างๆในทุนสำรอง
ผลก็คือ บรรดานักวิเะคราะห์ในตลาดต้องมานั่งเดาสัดส่วนทุนสำรองของจีนจากการปะติดปะต่อการคาดการณ์ต่างๆบนพื้นฐานที่ว่าในประเทศอื่นๆนั้นมีการรายงานการซื้อตราสารหนี้โดยต่างชาติอย่างไร เมื่อมองถึงขนาดทุนสำรองของจีน การเคลื่อนไหวแม้เพียงเล็กน้อยย่อมส่งผลมหาศาลต่อตลาด
นักวิเคราะห์หลายคนให้น้ำหนักการถือครองเงินดอลลาร์ของจีนไว้ที่ 60-70% ของทุนสำรอง แต่การเปลี่ยนแปลงความสมัพันธฺด้านการค้าของจีนย่อมหมายความว่า เพียงแค่ 20% ของการส่งออกของจีนไปยังสหรัฐฯ ญี่ปุ่นและยุโรปกำลังกลายเป็นคู่ค้าที่มีสัดส่วนการค้าที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันจีนก็กำลังแข่งขันกับบริษัทญี่ปุ่นในการขายสินค้าในสหรัฐฯและยุโรป
ขณะนี้จีนกำลังซื้อสินทรัพย์ในญี่ปุ่น ข้อมูลจากทางการญี่ปุ่นระบุว่า จีนได้เพิ่มการถือครองพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นจำนวน 6,200 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ มากกว่าเท่าตัวของการไล่พันธบัตรซื้อรัฐบาลรอบใหญ่ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2005
นอกจากนั้นญี่ปุ่นก็ได้รายงานตัวเลขการซื้อบัญชีตลาดเงินในรูปเงินเยนโดยผู้ไม่มีถิ่นพำนักในญี่ปุ่นหรือ nonresident เป็นจำนวนกว่า 11,700 ดอลลาร์จากวันที่ 11-17 กรกฎาคม ข้อมูลไม่ได้แบ่งแยกเป็นรายประเทศ แต่นี่ถือเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดนับแต่เดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเวลาที่จีนเริ่มไล่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น Bank of America Merrill Lynch ระบุ
แต่นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าจีนไม่ได้ทำในสิ่งที่ผิดไปจากปกติ
นายลูก้า ซิลิโป้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจากบริษัทนาติซิส วาณิชธนกิจชั้นนำจากฝรั่งเศสในฮ่องกงมองว่า กา่รไล่เก็บเงินเยนของจีนในครั้งนี้หากยังคงทำอย่างต่อเนื่องในช่วงอีกหลายเดือนข้างหน้า จะถือเป็นการสนองต่อ “เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ในระยะยาว : การค้า” ปัจจุบันจีนมีการขับเคี่ยวกับบริษัทสินค้าไฮเทคญี่ปุ่นมากขึ้น เงินเยนที่แข็งค่าทำให้สินค้าจากญี่ปุ่นไม่สามารถสู้ราคากับจีนได้
นายซิลิโป้ยังกล่าวอีกว่า ท้ายที่สุดนักลงทุนจะเดินตามรอยจีนซึ่งจะเร่งให้เงินเยนแข็งค่ามากขึ้น เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง 8% ในปีนี้มาอยู่ที่ 86.30 เยนต่อดอลลาร์ และเริ่มวิ่งเข้าใกล้จุดต่ำสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ 84.82 เยน เงินดอลลาร์ทำจุดต่ำสุดตลอดกาลเทียบกับเงินเยนเมื่อปี 1995 ที่ระดับ 79.90 เยนต่อดอลลาร์
ข้อถกเถียงอีกประการเกี่ยวกับการกระจายทุนสำรองของจีนคือ การที่จีนกำลังผูกค่าเงินให้คงที่กับตะกร้าของเงินตราสกุลต่างๆแทนที่จะผูกกับเงินดอลลาร์ ขณะที่นักค่าเงินและนักลงทุนมีข้อมูลเพียงน้อยนิดในเรื่องนี้ การปรับไปใช้ระบบตะกร้าเงินของจีนน่าจะเป็นเหตุผลสำหรับจีนที่จะไล่เก็บสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ดอลลาร์
ความเคลื่อนไหวในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนของจีนเริ่มได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนในวงการการเงินเป็นอย่างมากหลังจากทางการจีนได้ซื้อพันธบัตรสเปนและกรีซมูลค่าหลายร้อยล้านยูโร
นายบอร์ธวิกจากฟาโรสเทรดดิ้งยังกว่าอีกว่า นี่เป็นโอกาสอันเหมาะสำหรับจีนในการกระจายทุนสำรองให้สอดคล้องกับดุลการค้าของจีนให้มากขึ้น เขาชี้ไปที่ส่วนต่างระหว่างอัตราสวอป (Swap Spread) บนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯและญี่ปุ่นอายุ 2 ปี ซึ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ “ในแง่ของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย นี่คือเวลาที่ดีที่สุดในรอบ 17 ปีที่จะขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯและซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น” เขากล่าว
สำหรับพันธบัตรรัฐบาลยุโรป อัตราดอกเบี้ยบนสวอปพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 2 ปีอยู่ที่ 0.7% ในขณะที่สำหรับสวอปบนพันธบัตรรัฐบาลยุโรปอายุเท่ากันอยู่ที่ 1.4% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา