ประเทศในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีการนำเข้าธัญพืชสูงที่สุดในโลกได้ปรับท่าทีอย่างรวดเร็วเพื่อเร่งหาเมล็ดธัญพืชมาทดแทนการนำเข้าจากรัสเซียหลังจากทางการรัสเซียทำการห้ามการส่งออกเมล็ดพืชและทั้งภูมิภาคยังคงพยายามหลีกหนีปัญหาที่อาจซ้ำรอยวิกฤตอาหารปี 2007-2008 อยู่ในปัจจุบัน
อิยิปต์ ตูนิเซีย เลบานอน และจอร์แดน ทั้งหมดได้ประกาศให้มีการประมูลเมล็ดพืชในสัปดาห์นี้เพื่อทดแทนการขาดหายไปของเมล็ดพืชที่เคยนำเข้าจากประเทศในแถบทะเลดำอย่างรัสเซีย ยูเครน และคาซัคสถาน อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยสต็อกเมล็ดพืชอยู่ในระดับที่สูง บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากรัฐบาลต่างๆจึงเห็นว่ายังไม่จำเป็นที่ต้องรีบสั่งซื้อมากนัก
“อิยิปต์มีสต็อกของข้าวสาลีเพียงพอที่จะผลิตขนมปังซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จ่ายเงินอุดหนุนเป็นเวลาถึง 4 เดือน” เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงพาณิชย์อิยิปต์กล่าว “นโยบายที่ต้องมีการวางแผนกักตุนโภคภัณฑ์ที่สำคัญเป็นการล่วงหน้าถือว่ายังได้ผลอยู่”
ประเทศในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาคือผู้ซื้อธัญพืชทุกชนิดที่ซื้อขายในตลาดโลกเกือบ 1 ใน 4 ของทั้งหมด การจัดหาขนมปังที่รัฐบาลเป็นผู้ให้เงินอุดหนุนเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการรักษาเสถียรภาพในประเทศ
ปีที่แล้ว อิยิปต์ซื้อขาวสาลีจากรัสเซียกว่า 6 ล้านตัน คิดเป็น 1 ใน 3 ของการส่งออกข้าวสาลีทั่วโลกของรัสเซีย ตุรกี ซีเรีย อิหร่าน ลิเบีย อิสราเอล จอร์แดน เยเมน และ อิรัก ทั้งหมดคือ 1 ในบรรดา 10 ตลาดใหญ่ที่รัสเซียส่งออกข้าวสาลีในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก 2009-2010
บรรดานักค้าเมล็ดพืชกล่าวว่า ประเทศในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือกำลังสั่งซื้อธัญพืชจากสหภาพยุโรปโดยเฉพาะยุโรปเช่นเดียวกับจากสหรัฐฯและแคนาดา บรรดานักค้ายังกล่าวอีกว่า บางประเทศในภูมิภาคเช่นอิยิปต์ยังบอกให้ผู้ค้าไม่ให้เสนอขายธัญพืชที่ส่งออกจากยูเครนและคาซัคสถาน แม้ว่าทั้ง 2 ประเทศจะยังไม่สั่งห้ามการส่งออกเมล็ดพืชก็ตาม
การประมูลครั้งใหม่เพื่อจัดหาธัญพืชในรอบนี้จะมีราคาที่สูงกว่าช่วงเดือนมิถุนายนมาก ปัจจุบันข้าวสาลีในยุโรปซื้อขายในระดับที่สูงกว่าตันละ 200 ยูโร มากกว่า 140 ยูโรต่อตันในช่วงกลางเดือนมิถุนายน
กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอิยิปต์คาดการณ์ว่า ราคาข้าวสาลีที่สูงขึ้นจะเพิ่มภาระในการอุดหนุนอาหารของรัฐบาลกว่า 400-700 ล้านดอลลาร์ในช่วงปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2011 บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างมองว่า นั่นจะเพิ่มการขาดดุลงบประมาณ 0.2-0.4% ต่อจีดีพี การขาดดุลงบประมาณในปีนี้อยู่ที่ 7.9% ต่อจีดีพี
“รัฐบาลยังคงหวังที่จะเริ่มลดการขาดดุลงบประมาณในปีนี้ และนั่นดูเหมือนว่ามันน่าจะยังเกิดขึ้นอยู่” นายไซม่อน คิชเช่น นักเศรษฐศาสตร์จากอีเอฟจี-เออร์เมส วาณิชธนกิจรายใหญ่ของอิยิปต์ “แต่การตัดลดการขาดดุลจะไม่สูงอย่างที่เคยคาดหวังไว้ก่อนหน้านี้”
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอิยิต์ยังคงยืนยันกับประชาชนว่า ราคาของขนมปังที่รัฐบาลให้การอุดหนุนจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยขนมปังที่รัฐบาลอุดหนุนขายในราคาที่ต่ำกว่า 1 เซ็นต์ต่อแถว ทางการยังยืนยันอีกว่าจะไม่เกิดการขาดแคลนขนมปังหรือเกิดการซ้ำรอยเหมือนช่วงปี 2008 ซึ่งในช่วงนั้นประชาชนต้องต่อแถวยาวหน้าร้านขายขนมปังหลังจากการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อส่งผลให้ประชาชนต้องไล่ซื้อและกักตุนขนมปังราคาถูก ท้ายที่สุดรัฐบาลต้องออกคำสั่งให้ร้านขายขนมปังของกองทัพช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนขนมปังในตลาด
ที่มา Financial Times
http://www.ft.com/cms/s/0/d7e308c4-a56e-11df-a5b7-00144feabdc0.html
อิยิปต์ ตูนิเซีย เลบานอน และจอร์แดน ทั้งหมดได้ประกาศให้มีการประมูลเมล็ดพืชในสัปดาห์นี้เพื่อทดแทนการขาดหายไปของเมล็ดพืชที่เคยนำเข้าจากประเทศในแถบทะเลดำอย่างรัสเซีย ยูเครน และคาซัคสถาน อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยสต็อกเมล็ดพืชอยู่ในระดับที่สูง บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากรัฐบาลต่างๆจึงเห็นว่ายังไม่จำเป็นที่ต้องรีบสั่งซื้อมากนัก
“อิยิปต์มีสต็อกของข้าวสาลีเพียงพอที่จะผลิตขนมปังซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จ่ายเงินอุดหนุนเป็นเวลาถึง 4 เดือน” เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงพาณิชย์อิยิปต์กล่าว “นโยบายที่ต้องมีการวางแผนกักตุนโภคภัณฑ์ที่สำคัญเป็นการล่วงหน้าถือว่ายังได้ผลอยู่”
ประเทศในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาคือผู้ซื้อธัญพืชทุกชนิดที่ซื้อขายในตลาดโลกเกือบ 1 ใน 4 ของทั้งหมด การจัดหาขนมปังที่รัฐบาลเป็นผู้ให้เงินอุดหนุนเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการรักษาเสถียรภาพในประเทศ
ปีที่แล้ว อิยิปต์ซื้อขาวสาลีจากรัสเซียกว่า 6 ล้านตัน คิดเป็น 1 ใน 3 ของการส่งออกข้าวสาลีทั่วโลกของรัสเซีย ตุรกี ซีเรีย อิหร่าน ลิเบีย อิสราเอล จอร์แดน เยเมน และ อิรัก ทั้งหมดคือ 1 ในบรรดา 10 ตลาดใหญ่ที่รัสเซียส่งออกข้าวสาลีในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก 2009-2010
บรรดานักค้าเมล็ดพืชกล่าวว่า ประเทศในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือกำลังสั่งซื้อธัญพืชจากสหภาพยุโรปโดยเฉพาะยุโรปเช่นเดียวกับจากสหรัฐฯและแคนาดา บรรดานักค้ายังกล่าวอีกว่า บางประเทศในภูมิภาคเช่นอิยิปต์ยังบอกให้ผู้ค้าไม่ให้เสนอขายธัญพืชที่ส่งออกจากยูเครนและคาซัคสถาน แม้ว่าทั้ง 2 ประเทศจะยังไม่สั่งห้ามการส่งออกเมล็ดพืชก็ตาม
การประมูลครั้งใหม่เพื่อจัดหาธัญพืชในรอบนี้จะมีราคาที่สูงกว่าช่วงเดือนมิถุนายนมาก ปัจจุบันข้าวสาลีในยุโรปซื้อขายในระดับที่สูงกว่าตันละ 200 ยูโร มากกว่า 140 ยูโรต่อตันในช่วงกลางเดือนมิถุนายน
กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอิยิปต์คาดการณ์ว่า ราคาข้าวสาลีที่สูงขึ้นจะเพิ่มภาระในการอุดหนุนอาหารของรัฐบาลกว่า 400-700 ล้านดอลลาร์ในช่วงปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2011 บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างมองว่า นั่นจะเพิ่มการขาดดุลงบประมาณ 0.2-0.4% ต่อจีดีพี การขาดดุลงบประมาณในปีนี้อยู่ที่ 7.9% ต่อจีดีพี
“รัฐบาลยังคงหวังที่จะเริ่มลดการขาดดุลงบประมาณในปีนี้ และนั่นดูเหมือนว่ามันน่าจะยังเกิดขึ้นอยู่” นายไซม่อน คิชเช่น นักเศรษฐศาสตร์จากอีเอฟจี-เออร์เมส วาณิชธนกิจรายใหญ่ของอิยิปต์ “แต่การตัดลดการขาดดุลจะไม่สูงอย่างที่เคยคาดหวังไว้ก่อนหน้านี้”
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอิยิต์ยังคงยืนยันกับประชาชนว่า ราคาของขนมปังที่รัฐบาลให้การอุดหนุนจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยขนมปังที่รัฐบาลอุดหนุนขายในราคาที่ต่ำกว่า 1 เซ็นต์ต่อแถว ทางการยังยืนยันอีกว่าจะไม่เกิดการขาดแคลนขนมปังหรือเกิดการซ้ำรอยเหมือนช่วงปี 2008 ซึ่งในช่วงนั้นประชาชนต้องต่อแถวยาวหน้าร้านขายขนมปังหลังจากการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อส่งผลให้ประชาชนต้องไล่ซื้อและกักตุนขนมปังราคาถูก ท้ายที่สุดรัฐบาลต้องออกคำสั่งให้ร้านขายขนมปังของกองทัพช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนขนมปังในตลาด
ที่มา Financial Times
http://www.ft.com/cms/s/0/d7e308c4-a56e-11df-a5b7-00144feabdc0.html
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1631 ครั้ง