ศูนย์กลางการเงินกาตาร์ หรือ QFC (Qatar Financial Centre) เดินหน้ายกเครื่องกลยุทธ์การเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคโดยเตรียมปรับแผนเปลี่ยนมามุ่งเน้นและให้แรงจูงใจกับบริษัทบริหารสินทรัพย์จัดการลงทุน (Asset Management Company) และบริษัทประกันมากขึ้นเพื่อเบียดสู้กับตู่แข่งในภูมิภาค
การยกเครื่องปรับแผนของ QFC ในครั้งนี้จะทำให้เกิดพนักงานส่วนเกินถึง 1 ใน 3 ในปัจจุบัน QFC ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการในปี 2005 และสามารถดึงดูดสถาบันการเงินจากต่างประเทศจำนวนมากมาตั้งสำนักงานที่นี่แม้ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วสถาบันการเงินชั้นนำจะมีดูไบเป็นตัวเลือกอันดับ 1 ในใจก็ตาม
การปรับแผนในครั้งนี้เป็นผลมาจากการเตรียมการที่ล่าช้าและรอกันอย่างยาวนานของรัฐบาลกาตาร์ในการรวมศูนย์กลไกการกำกับดูแลระบบการเงินของกาตาร์มาไว้ที่หน่วยงานเดียวอันได้แก่ หน่วยงานกำกับดูแลของ QFC เอง, ตลาดหุ้นกาตาร์ และฝ่ายกำกับดูแลระบบธนาคารของธนาคารกลางกาตาร์
นายชาร์ชังค์ ศรีวัสตวา รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ QFC ให้สัมภาษณ์กับไฟแนนเชียลไทม์ (เอฟที) ว่า QFC จะมุ่งเน้นในการที่จะปั้นตัวเองให้เป้นศูนย์กลางด้านธุรกิจบริหารสินทรัพย์, ประกันแบบ Captive (Captive Insurance) และ ธุรกิจรับประกันต่อ (Reinsurance)
“ตอนนี้เราจะทำการมุ่งเน้นไปที่ทั้ง 3 ธุรกิจนี้ซึ่งเราคิดว่ากาตาร์จะสามารถผงาดขึ้นมาได้” ศรีวัสตากล่าวกับเอฟที
เขายังกล่าวเพิ่มเติมว่าจะช่วยหางานใหม่ให้พนักงาน 31 คนที่ถูกปลดจากเดิมที่ QFC มีพนักงานอยู่ 100 คน ทั้งนี้เนื่องจากว่า QFC จะทำการ outsource งานนี้ให้บริษัทข้างนอกแทนพนักงานเดิม
ที่ผ่านมาประเทสกาตาร์ยังคงสามารถรักษาการเติบโตได้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคก็ตาม และเมื่อโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการส่งออกก๊าซปริมาณมหาศาลของประเทศเสร็จสมบูรณ์ในปีหน้า กาตาร์จะสามารถขยายการเติบโตทางเศรษบกิจให้สูงขึ้นจากเดิมอย่างมากได้ ขณะที่ประเทศก็จะทำการพัฒนาอุตสาหกรรมการเงินเพื่อรองรับการกระจายตัวทางเศรษฐกิจ
และเช่นเดียวกับอาบู ดาบีและซาอุดิอาระเบีย กาตาร์เป็นที่หมายปองของบรรดาวาณิชธนากรในดูไบที่หวังฟันเงินมหาศาลจากค่าธรรมเนียมการเป็นที่ปรึกษทางการเงินให้กับดีลขนาดใหญ่ทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมากาตาร์มีการออกตราสารหนี้ การควบรวมกิจการ และการซื้อกิจการมูลค่ามหาศาลของกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของกาตาร์
อย่างไรก็ตามก็มีการตั้งคำถามขึ้นมากมายถึงระบบกฎหมายและธรรมาภิบาลในระบบการเงินกาตาร์หลังจากที่นิตยสาร Euromoney ได้รายงานว่า นายเดวิด พร็อกเตอร์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารอัล คาลิจี เจอดีที่กาตาร์เนื่องจากรัฐบาลกาตาร์ไม่อนุมัติวีซ่าเดินทางออกจากประเทศกาตาร์ ทให้อดีตนายธนาคารแห่งสแตนดาร์ดชาร์เตอร์คนนี้ไม่สามารถกลับบ้านไปหาครอบครัวได้ แม้ว่านายพร็อกเตอรืจะปราศจากความผิดทางกฎหมายก็ตาม
นายศรีวัสตวา ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า QFC จะยังคงระตุ้นให้มีธนาคารมาตั้งสาขาในโดฮาต่อไป ขณะที่ QFC จะจะมุ่งเน้นในการสร้างสาขาความเชี่ยวชาญใหม่ๆทางการเงินเพื่อสร้างความแตกต่าง
จากคู่แข่งในภูมิภาค
บาห์เรนนั้นถือเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาคมาอย่างยาวนานก่อนที่ดูไบจะผงาดขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินของตะวันออกกลางแทน ปัจจุบันบาห์เรนมุ่งเน้นในธุรกิจบริหารสินทรัพย์ การประกัน และธนาคารอิสลาม
แต่การเกิดวิกฤตการเงินที่ดูไบได้ก่อให้คำถามมากมายต่อศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคซึ่งในที่สุดดูไบต้องขอรับความช่วยเหลือจากรัฐเพื่อนบ้านอาบู ดาบีซึ่งตั้งเป้าจะเป็นศูนย์กลางทางการเงินเช่นกัน
อีกด้านหนึ่งของการปรับเปลี่ยนทางการเงินที่สำคัญในกาตาร์คือ การตั้งกิจการร่วทุนระหว่างกาตาร์โฮลดิ้งและ NYSE Euronext เพื่อปรับโฉมตลาดหุ้นกาตาร์ให้ทันสมัยมากขึ้นเนื่องจากตลาดหุ้นสำคัญๆในภูมิภาคมีการแข่งขั้นอย่างดุเดือดในการครองความได้เปรียบในธุรกิจตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสมรภูมิการแข่งกันเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาค
ที่มา Fiancial Times
http://www.ft.com/cms/s/0/bcd59adc-0f74-11df-a450-00144feabdc0.html
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1719 ครั้ง