The
New Normal of Global Agriculture
นับจากนี้ไปโลกจะไม่เหมือนเดิมแล้ว
เพราะเรากำลังเข้าสู่ยุคที่โฉมหน้าภาคเกษตรโลกเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง
เข้าสู่ดุลยภาพใหม่หรือ
“New
Normal” นั่นเอง
คำว่าNew
Normal นี้มีที่มาจากการที่นักบริหารเงินและนักเศรษฐศาสตร์ชื่อก้องโลก2ท่านได้แก่Mohammed
El Erian และBill
Gross ซึ่งเป็น2คู่หูผู้บริหารสูงสุดและวางกลยุทธ์การลงทุนของบริษัทPacific
Investment Management หรือPIMCOซึ่งเป็นบริษัทบริหารจัดการกลุ่มการลงทุนชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก
โดย PIMCOเชี่ยวชาญการให้บริการคำแนะนำและบริหารการลงทุนในตลาดตราสารหนี้
ทั้ง 2คนนี้ใช้ประสบการณ์ในด้านการวิเคราะห์ระบบการเงินและเศรษฐกิจโลกมาอย่างยาวนานร่วม30-40ปี
มาให้ข้อสรุปถึงอนาคตระบบเศรษฐกิจโลกภายใต้คำศัพท์ที่เรียกว่า
“New
Normal” นี้
โดยมองว่า
ในอนาคตนักลงทุนทั่วโลกจะต้องเผชิญกับสภาพที่ผลตอบแทนการลงทุนโดยเฉลี่ยในระยะยาวจะต่ำลง
ขณะที่ความผันผวนในราคาสินทรัพย์ต่างๆจะกลับสูงขึ้น
ทั้งนี้เนื่องจากผลกระทบของวิกฤตการเงินทำให้บรรดาประเทศพัฒนาแล้วติดกับดักหนี้สินมหาศาลจากการพยายามโอบอุ้มระบบการเงินที่ล้มเหลว
อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นแล้วอย่างต่อเนื่องอย่างการลดลงของประชากรและการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ
ทั้งหมดนี้จะก่อให้เกิดภาวะที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศพัฒนาแล้วต่ำลงจากเดิม
ซึ่งย่อมส่งผลอย่างสำคัญต่อพื้นฐานของราคาสินทรัพย์และค่าเงิน
ขณะเดียวกันประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเป็นดาวรุ่งทางเศรษฐกิจก็จะเผชิญสภาพของNew
Normal ที่อัตราการเติบโตในระยะยาวต้อลดลงด้วย
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมองในเชิงเปรียบเทียบ
การเติบโตและผลตอบแทนของสินทรัพย์ในประเทศกำลังพัฒนาย่อมสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วอยู่ดี
ดังนั้นผู้เขียนจึงขอยืมคำว่าNew
Normalมาอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับภาคการเกษตรและระบบอาหารโลกที่กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่จุดใหม่ในปัจจุบัน
โดยโลกของเกษตรและอาหารในยุค
“New
Normal”นี้จะมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆเข้ามารุมเร้าจนก่อให้เกิดการถีบตัวสูงขึ้นของราคาอาหารและความผันผวนของอุปทานอาหารโลก(และอาจเกิดความผันผวนในด้านอุปสงค์ด้วย)ปัจจัยสำคัญๆอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Climate
Change), ภัยธรรมชาติ,นโยบายที่คาดเดาได้ยาก,การเติบโตขึ้นของชนชั้นกลางในประเทศกำลังพัฒนา
และ ปัจจัยจากเงินทุนเคลื่อนย้าย
เหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดราคาและการไหลเวียนของอุปทานอาหารในวงจรเกษตรและอาหารโลกในอนาคต
ทั้งนี้กระบวนการเข้าสู่New
Normal ของระบบเกษตรและอาหารโลกเริ่มมีสัญญาณที่ชัดเจนอย่างมากนับแต่ปี2006โดยสัญญาณสำคัญมาจากตลาดข้าวสาลีและข้าวโพด
ซึ่งสินค้าเกษตรทั้ง 2ชนิดถือเป็นตัวชี้วัดสำคัญหรือแทบจะสำคัญที่สุดก็ว่าได้สำหรับการมองถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงและเป็นปัจจัยชี้นำในระบบเกษตรและอาหารโลก
โดยสามารถสรุปเป็นเหตุผล2ประการสำหรับสินค้าเกษตรทั้ง2ประเภทกล่าวคือ
1.ปัจจัยข้าวสาลีโดยสำหรับข้าวสาลีแล้วถือว่าเป็นธัญพืชสำคัญและเป็นสินค้าเกษตรสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของโลก
เป็นธัญพืชหลักทึ่มีความสำคัญต่อวิถีการดำรงชีวิตและเป็นอาหารหลักของคนตะวันตก
คนมุสลิม รวมถึงคนจีนด้วย
ข้าวสาลีเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำขนมปังและเบียร์
นอกจากนั้นแล้วข้าวสาลียังถือเป็นตัวเริ่มต้นในการลากจูงให้ราคาธัญพืชและเมล็ดพืชอื่นๆเช่น
ข้าว ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์
ข้าวโพด พุ่งสูงขึ้นไปด้วยในช่วงวิกฤตอาหารโลกปี2007-2008จากการที่ข้าวสาลีมีการซื้อขายและเชื่อมโยงกับคนตะวันตก
ทำให้ข้าวสาลีถูกชี้นำโดยทุนการเงินตะวันตกได้ง่าย
และส่งผลให้เมื่อราคาข้าวสาลีสูงขึ้นจะลากให้ธัญพืชและเมล็ดพืชอื่นๆถีบตัวสูงขึ้นไปด้วยเพราะประเทศอื่นๆโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาจะมองหาทางเลือกอื่นในการบริโภค
2.ปัจจัยจากข้าวโพดทั้งนี้ข้าวโพดถือเป็นสินค้าเกษตรอีกตัวที่สำคัญยิ่งเพราะกว่า60%ของอาหารสัตว์มีข้าวโพดเป็นส่วนประกอบ
ข้าวโพดจึงมีผลต่อราคาปศุสัตว์
สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์จากนมด้วย
นอกจากนั้นแล้ว
ข้าวโพดถือเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญในการทำเอธานอลเพื่อผสมเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกแทนที่น้ำมันด้วย
ดังนั้นเมื่อราคาข้าวโพดสูงขึ้น
ย่อมส่งผลต่อราคาอาหารสัตว์และโครงสร้างต้นทุนการผลิตพลังงานทางเลือกอย่างไม่ต้องสงสัย
อีกทั้งข้าวโพดถือเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของภาคเกษตรสหรัฐฯด้วย(โดยมูลค่าของผลผลิตข้าวโพดในปี2009อยู่ที่48,600ล้านดอลลาร์
รองลงมาเป็นถั่วเหลืองที่31,800ล้านดอลลาร์
ขณะที่ในแง่ของการส่งออก
ถั่วเหลืองมาเป็นที่ 1คือ16,500ล้านดอลลาร์
ขณะที่อันดับ 2คือ
ข้สวโพดมูลค่า 8,800ล้านดอลลาร์
ในปี 2009อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร3อันดับแรกของสหรัฐฯจะเป็นข้าวโพด
ถั่วเหลืองและข้าวสาลีที่สีแล้วหรือMilled
Wheat เสมอ
และจะสลับกันในแต่ละปี
แล้วแต่สภาพของผลิตและความต้องการในตลาดโลก)ดังนั้นข้าวโพดจึงมีเรื่องของการเมืองของมหาอำนาจมาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน
แนวโน้มที่สำคัญอีกอย่างในยุคของ
“New
Normal” ในภาคเกษตรและอาหารโลกก็คือ
ปริมาณการซื้อขายที่สูงขึ้นของสินค้าเกษตรในตลาดล่วงหน้า
ซึ่งหากดูจากข้าวสาลีและข้าวโพดจะเห็นแนวโน้มนี้ชัดเจนมาก
โดยหากดูในช่วง 10กว่าปีก่อนเข้าสู่ยุค
“New
Normal” ในปี2006ตลาดข้าวสาลีล่วงหน้าที่ชิคาโก้แทบไม่ได้รับการเหลียวแลจากนักลงทุนเลย
ซึ่งผิดกับตลาดโภคภัณฑ์อื่นๆอย่างพลังงานและโลหะ
ทั้งๆที่ปริมาณการผลิตข้าวสาลีในแต่ละปีก็มากกว่า500-600ล้านตัน
มนุษย์นั้นต้องการข้าวสาลีและสินค้าเกษตรอื่นๆเพื่อป้อนการเติบโตของระบบเศรษฐกิจโลกเช่นเดียวกับที่ภาคการผลิตและบริการโลกต้องการพลังงานและวัสดุพื้นฐานมาหล่อเลี้ยงการเติบโต
ในบางวันนั้นการซื้อขายข้าวสาลีในตลาดfuturesแทบจะนับสัญญากันได้เลยในแต่ละวัน
ขณะที่ข้าวโพดยังมีความคึกคักกว่าไม่ว่าจะมองจากปริมาณการซื้อขายรายวันหรือรายเดือน
แต่อย่างไรก็ตามตัวข้าวโพดเองซึ่งมีสภาพคล่องดีกว่าก็มีปัจจัยพื้นฐานในแง่ของปริมาณการซื้อขายไม่เปลี่ยนแปลงเลยในรอบ20กว่าปีในยุคของ
“Old
Normal”
แต่หลังจากที่ระบบเกษตรและอาหารโลกเข้าสู่ยุค
“New
Normal” อย่างเป็นทางการและชัดเจนมากนับแต่ปี2006ปริมาณการซื้อขายก็เปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างชัดเจนและพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตามการพุ่งขึ้นของราคาสินทรัพย์ทั่วโลก
เศรษฐกิจจีน และราคาพลังงานที่สูงขึ้น
การอ่อนลงอย่างมากมายของเงินดอลลาร์ส่งผลให้ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าได้รับเม็ดเงินเข้ามาอย่างต่อเนื่องด้วย
และดูเหมือนว่าเรื่องของ
“New
Normal” จะเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นจริงและจะดำรงตนอยู่ในระยะยาว
เนื่องจากว่าแม้ราคาสินค้าเกษตรจะร่วงลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกหลังวิกฤตการเงิน
แต่ปริมาณการซื้อขายกลับไม่ได้ลดลงเลยแม้แต่น้อย
สะท้อนถึงการคาดการณ์ในอนาคตถึงพื้นฐานของราคาและสภาพความเป็นจริงที่ย้อนกลับไม่ได้ของอุปทานที่นับวันจะมีแต่ความไม่แน่นอนและอุปสงค์ก็มีแต่จะพุ่งขึ้นด้วย
นอกจากการซื้อขายในตลาดล่วงหน้าแล้ว
ในยุคของ “New
Normal”จะเห็นการไหลทะลักอย่างชัดเจนของเงินทุนมหาศาลจากทุนการเงินทั้งโลกมายังภาคเกษตร
ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า
ปัจจุบันภาคเกษตรคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง1%ของการจัดสรรกลุ่มการลงทุนของบรรดานักลงทุนสถาบันทั่วโลก
นอกจากนั้นกลุ่มนักลงทุนที่เป็นทุนการเงินภาครัฐอย่างSovereign
Wealth Funds (SWFs)หรือบริษัทรัฐวิสาหกิจหรือแม้แต่บริษัทเอกชนที่มีรัฐบาลให้การสนับสนุนทางการเงินก็จะมีการโยกเงินเข้ามาซื้อที่ดินเพาะปลูกมากขึ้น
ทั้งเพื่อหวังผลตอบแทนหรือเหตุผลในด้านนโยบาย
ขณะเดียวกันบรรดา SWFsก็มีการลงทุนและสนใจที่จะโยกเงินเข้าสู่สินทรัพย์ในรูปของโภคภัณฑ์มากอยู่แล้วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
โดยเฉพาะที่ดินเพาะปลูกในสหรัฐฯก็มีมูลค่ามากถึง1ล้านล้านดอลลาร์แล้วในปัจจุบัน
ในขณะที่มูลค่าของที่ดินเพาะปลูกทั้งโลกอยู่ในระดับ5-6ล้านล้านดอลลาร์
ขณะเดียวกันหลายๆพื้นที่ที่มีศักยภาพก็ต้องการเงินลงทุนเพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานและการชลประทานเพื่อให้สามารถทำการผลิตในระดับที่สูงขึ้นได้
จึงย่อมก่อให้เกิดความสนใจและพบปะกันของนักลงทุนที่มีเงินและประเทศที่ต้องการเงินทุนเพื่อพัฒนาด้านการเกษตรอย่างไม่ต้องสงสัย
และหากมีการเทเงินไล่ราคาในตลาดล่วงหน้าและการกว้านซื้อที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ทั่วโลก
ย่อมมีความป็นไปได้ที่ระบบการเงินโลกจะเผชิญกับการก่อตัวครั้งใหม่ของฟองสบู่ในตลาดสินค้าเกษตรโลก
และด้วยปริมาณผลผลิตและฐานอุปสงค์ที่ใหญ่โตมหาศาลบวกกับปริมาณที่ดินเพาะปลูกที่มีจำกัดและหลายๆพื้นที่ยังมีโอกาสในการพัฒนาและมีหลายพื้นที่ซึ่งมูลค่ายังต่ำกว่าความเป็นจริง
ย่อมทำให้ความเสียหายในระบบการเงินโลกที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการเงิน2007-2009รวมถึงวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปถูกชดเชยกลับมาได้
และอาจนำมาซึ่งการสะสมทุนรอบใหม่ในระบบการเงินโลกได้หากราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับที่สูง
ทั้งนี้จะมีปัจจัยต่างๆเข้ามามีส่วนในการกำหนดราคาสินทรัพย์ในภาคเกษตรไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงของภัยธรรมชาติในอนาคต
นโยบายอาหารโลก และปัจจัยจากระบบการเงิน
ทั้งหมดนี้จะมีส่วนสำคัญในการกำหนดราคาสินทรัพย์ในภาคเกษตรโลก
โดยสรุปแล้วมันเป็นสิ่งที่แน่นอนว่า
เราได้เข้าสู่ยุคใหม่ของระบบเกษตรและอาหารโลกแล้วอย่างน้อยก็ในแง่ของราคาและพัฒนาการในฝั่งอุปทาน
ความท้าทายในยุคของ “New
Normal” ก็คือ
โจทย์ใหม่ในทางนโยบายที่ต้องมุ่งไปสู่การจำกัดผลกระทบของความไม่แน่นอนของอุปทานและราคาของอาหารและการควบคุมกำกับดูแลตลาดอาหารและตลาดการลงทุนในสินทรัพย์ภาคเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1919 ครั้ง