ญี่ปุ่นลงนามข้อตกลงกับคูเวตวานนี้ (8 กันยายน 2010) เพื่อร่วมในการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังนิวเคลียร์เพื่อสันติ ถือเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับบริษัทญี่ปุ่นในการประมูลสัญญารับเหมางานมูลค่าสูงๆในอนาคต
คูเวตผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ัอันดับที่ 4 ของโลกกำลังเผชิญกับความต้องการพลังงานที่สูงขึ้นและได้ตกลงกับฝรั่งเศสเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาในความร่วมมือด้านการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์
ญี่ปุ่น ประเทศผู้ผลิตพลังงานนิวเคลียร์อันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐฯและฝรั่งเศสกำลังเพิ่มความพยายามในการเข้าสู่ตลาดการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์หลังจากกลุ่มพันธมิตรธุรกิจญี่ปุ่น-สหรัฐฯพ่ายแพ้บริษัทเกาหลีใต้ในการประมูลสัญญาสร้างและบริหารเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใน UAE เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
จนถึงขณะนี้ ญี่ปุ่นยังคงไม่สามารถชนะการประมูลสัญญารับเหมาโครงการเหมือนอย่างโครงการของ UAE ในด้านพลังงานนิวเคลียร์
การพัฒนาและบริหารโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในต่างประเทศถือเป็นกลยุทธ์ด้านการเติบโตกลยุทธ์ใหม่ของญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าความต้องการไฟฟ้าในประเทศจะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงหรืออย่างมากก็เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมย้ายฐานไปต่างประเทศมากขึ้นและการเข้าสู่สังคมคนชรา
เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กลุ่มพันธมิตรธุรกิจญี่ปุ่น 6 บริษัทซึ่งทำธุรกิจสาธารณูปโภคและผู้ผลิตเครื่องจักรด้านพลังงานนิวเคลียร์ได้จัดตั้งกลุ่มทำงานขึ้นมาเพื่อเตรียมตั้งธุรกิจร่วมทุนภายในฤดูใบไม้ร่วงนี้เพื่อหวังชนะการประมูลสัญญาสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในต่างประเทศ
ญี่ปุ่นได้ทำสัญญาแบบรัฐต่อรัฐแบบเดียวกับที่ทำกับคูเวตนี้กับมาเลเซียก่อนหน้านี้ช่วงต้นเดือนกันยายน ข้อตกลงกับคูเวตในการแบ่งปันความรู้ในด้านการยอมรับจากสาธารณะและความเชี่ยวชาญอื่นๆได้ทำให้จำนวนของสัญญาธุรกิจนับแต่ปี 2007 เป็นต้นมารวมทั้งสิ้น 10 สัญญาซึ่งรวมถึงสัญยาที่ลงนามกับประเทศอื่นๆทั้งคาซัคสถาน อินโดนีเซีย เวียตนาม UAE และ จอร์แดน
“ไม่เหมือนเวียตนามและจอร์แดน ซึ่งการเลือกโครงการในทั้ง 2 ประเทศนั่นเกี่ยวกับการเริ่มต้น แต่ที่คูเวตมีรายละเอียดน้อยมากเกี่ยวกับแผนการของคูเวตเช่นว่า เมื่อไร ที่ไหน และพวกเขาต้องการใช้เตาปฏิกรณ์กี่เครื่อง” เจ้าหน้าที่จากกระทรวงกเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมหรือ MITI ของญี่ปุ่นกล่าว
ที่มา Gulf News