รัฐบาลมาเซียเปิดเผยวานนี้ (21 กันยายน 2010) ถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจครั้งใหญ่โดยการโยกเงินหลายแสนล้านดอลลาร์จากภาคเอกชนมาสนับสนุนแผนการลงทุนครั้งใหญ่ อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายตั้งคำถามว่า เรื่องจำนวนเงินนั้นสำคัญแค่ไหน
แผนการลงทุนครั้งนี้มีคั้งแต่การขนส่งมวลชนระบบรางเพื่อลดความแออัดในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปถึงการสร้างคลังเก็บน้ำมันซึ่งใกล้กับประเทศสิงคโปร์เพื่อดันให้มาเลเซียเป็นศูนย์กลางหรือ “ฮับ” การค้าน้ำมันของภูมิภาค
หน่วยงานคลังสมองหรือ “Thinktank” ของรัฐบาลกล่าวว่า ทางหน่วยงานได้ระบุถึงรายละเอียดของงบลงทุนที่ราว 444,000 ล้านดอลลาร์ในช่วง 10 ปีข้างหน้าว่า จะมาจากภาคเอกชน 60%, มาจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล (Government-linked companies) 32% และมาจากรัฐบาล 8%
การทุ่มงบลงทุนครั้งนี้ก็เพื่อหวังที่จะเร่งการเติบโตของรายได้ต่อหัวให้เพิ่มอีกเท่าตัวและผลักดันให้มาเลซียขึ้นชั้น “ประเทศพัฒนาแล้ว” ภายในปี 2020 เพื่อปรับสมดุลให้ประเทศมาเลเซียซึ่งพึ่งการส่งออกมากเป็นอันดับที่ 3 ของเอเชียมุ่งสู่การเน้นด้านความต้องการในประเทศและภาคบริการ
“แผนการไม่ได้ให้รายละเอียดที่ชัดเจนว่าเงินจะมาจากไหน ตัวเลขจำนวนมากเหมือนพายบนท้องฟ้า” นายบริดเจต เวลช์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาเลเซียจากมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (Singapore Management University) ให้ความเห็นกับรอยเตอร์
มาเลเซียกำลังแข่งลงทุนกับประเทศเศรษฐกิจโตเร็วอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียก็ได้ออกแผนการลงทุนเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศด้วย
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาคเอกชนได้ลงทุนไปกว่า 535,000 ล้านริงกิต (172,400 ล้านดอลลาร์) จากข้อมูลของทางการ และ อัตราการลงทุนของภาคเอกชนมาเลเซียอยู่ที่ราว 10% ของจีดีพี ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่การลงทุนภาคเอกชนเทียบกับจีดีพีต่ำที่สุดในเอเชีย และมีขนาดเพียง 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับระดับการลงทุนก่อนวิกฤตการเงินปี 1998
รัฐบาลมาเลเซียซึ่งในปี 2009 ทำงบประมาณขาดดุลสูงที่สุดในรอบ 20 ปีเมื่อคิดเป็นสัดส่วนเทียบกับจีดีพี ลงขันราวครึ่งหนึ่งอขงการลงทุนในมาเลเซียและรัฐมนตรีซึ่งรับผิดชอบในการนำเสนอแผนกล่าวว่า เป้าหมายใหม่นั้นเชื่อถือได้
“ผมไม่คิดว่ารัฐบาลจะตีพิมพ์เอกสารที่ชัดเจนออกมาหากปราศจากความมุ่งมั่นทางการเมือง นั่นเป็นกลุยุทธ์ที่สุ่มเสี่ยงที่จะผูกมัดคุณต่อสาธารณะเมื่อคุณปราศจากแผนที่จะลงมือทำ” นายอิดริส จาลากล่าวระหว่างการนำเสนอแผนต่อสาธารณะ
แผนการลงทุนนี้พึ่งพิงทุนในประเทศเป็นหลักเนื่องจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI ในประเทศมาเลเซียปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 3.8% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นในปี 2009 เทียบกับกว่า 40% ของทั้งภูมิภาคในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 จากข้อมูลของสหประชาชาติ
บริษัทมาเลเซียเช่น ธนาคารซีไอเอ็มบี และ บริษัทโทรคมนาคมอย่างอาเซียต้าได้เริ่มปูฐานทางธุรกิจกระจายไปในประเทศที่มีการเติบโตสูงและมีขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วเช่น อินโดนีเซีย
อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์เตือนว่า หากปราศจากกรอบนโยบายใหม่เพื่อกระตุ้นการลงทุน แผนการลงทุนนี้ก็ยากแก่การปฏิบัติจริง
“มันจะเป็นการยากมากหากต้องบรรลุเป้าหมายของรัฐบาลในด้านการเติบโตของการลงทุนโดยภาคเอกชนหากปราศจากแรงจูงใจทางภาษีเพิ่มเติมเป็นการเฉพาะในบางภาคธุรกิจ
เคลื่อนตัวสู่ภาคบริการ, อุปสรรคจากการศึกษา
แผนการนี้ยังมุ่งที่จะสร้างงานเพิ่มอีก 3.3 ล้านตำแหน่งภายในปี 2020 อีกด้วย โดยมุ่งสร้างงานในด้านบริการมูลค่าสูงเช่น การเงินอิสลาม นายอิดริสกล่าวว่า 46% ของตำแหน่งงานใหม่จะมาจาก “ชนชั้นกลาง”
แม้ว่ามาเลเซียจะสามารถผลิตบัณฑิตได้หลายหมื่นคนในแต่ละปี แต่ระบบการศึกษาของประเทศกลับล้มเหลวในการตอบสนองต่อเป้าหมายใหม่นี้และขณะเดียวกันก็เริ่มมีการแบ่งแยกมากขึ้นเนื่องจากประเด็นทางด้านภาษาระหว่างประชาชนเชื้อสายมาเลย์ส่วนใหญ่ของประเทศกับชนกลุ่มน้อยอื่นๆเช่น ชาวจีน
หน่วยงานคลังสมองของรัฐที่ร่างแผนนี้กล่าวว่า ในปี 2003 มาเลเซียมีมืออาชีพทางการเงินและการบัญชีที่ได้มาตรฐานเพียง 21,000 คนที่ได้ทำงานกับบริษัทข้ามชาติเทียบกับ 341,000 คนในอินเดียและ 127,000 คนในฟิลิปปินส์
“คุณจะสามารถสร้างงานสำหรับชนชั้นกลางได้อย่างไรหากคุณไม่มีระบบการศึกษาที่ใช้การได้” นายเวลช์จากมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์กล่าว
นอกจากนั้นแล้ว มาเลเซียยังมีความเสี่ยงด้านนโยบายด้วย ก่อนหน้านี้มาเลเซียมีแผนยกครั้งเครื่องครั้งใหญ่ในด้านระบบการอุดหนุนที่สิ้นเปลืองมหาศาลของประเทศซึ่งเสนอโดยหน่วยงานคลังสมองเดียวกันนี้ ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ถุกนักการเมืองตีตกไปเนื่องจากหวั่นเกรงเรื่องฐานคะแนนเสียง
ที่มา ข่าว Real Time จากโปรแกรม Reuters 3000 Xtra
ไอดีข่าว nSGE68K06Z