มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพออกแถลงการณ์เนื่องในโอกาสครบ 6 ปีเหตุการณ์ที่ อ.ตากใบ นราธิวาสเรียกร้องให้สำนักงานอัยการสูงสุดทบทวนการสั่งไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งควบคุมผู้ชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิต 78 ศพและให้รัฐบาลมีมาตรการในการคุ้มครองพยานให้มั่นใจในความปลอดภัยมีรายละเอียดังนี้
วันที่ 25 ตุลาคม 2553 ซึ่งครบ 6 ปีเหตุการณ์สลายการชุมนุมของประชาชนหน้าสถานีตำรวจภูธร อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส อันถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีการสูญเสียมากที่สุดครั้งหนึ่งของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ และแม้รัฐบาลที่ผ่านมาจะได้เพียรพยายามเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ผู้รอดชีวิต รวมถึงชุมชน และสังคม
แต่สิ่งเดียวที่รัฐบาลในทุกสมัยไม่เคยให้แก่ประชาชนคือ ความยุติธรรม
ในวันที่ 25 ตุลาคม 2547 มีผู้เสียชีวิตหน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ 7 คน ปัจจุบันพนักงานอัยการมีคำสั่งงดการสอบสวนเนื่องจากไม่ทราบว่า ใครเป็นผู้ทำให้เกิดการเสียชีวิตต่อมาได้มีการขนย้ายผู้ชุมนุมทั้งหมดไปที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี พบมีผู้เสียชีวิตภายในรถที่ขนย้ายอีก 78 คน รวมผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 85 คน ไม่นับรวมผู้บาดเจ็บ และพิการ ในกรณีการเสียชีวิตศาลจังหวัดสงขลาได้มีคำสั่งไต่สวนการตายเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม2552 สรุปว่า ผู้ตายเสียชีวิตเนื่องจากการขาดอากาศหายใจ ขณะอยู่ในระหว่างการควบคุมของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ พนักงานสอบสวนได้ทำสำนวนส่งพนักงานอัยการ โดยพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าใครเป็นผู้ทำให้เกิดการเสียชีวิต และผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีขณะนั้นเห็นพ้องกับอัยการในการสั่งไม่ฟ้อง คดีจึงถือเป็นอันยุติ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐซึ่งรวมถึงหน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่ต้องอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ กรณีตากใบจึงเป็นเสมือนบทพิสูจน์ความจริงใจของรัฐในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะเป็นที่ยอมรับร่วมกันว่า รากเหง้าของปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาจากความไม่เป็นธรรม การละเมิดสิทธิมนุษยชน และละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชาวไทยเชื้อสายมลายูในพื้นที่ดังกล่าว
แม้กฎหมายจะมีพื้นที่ให้ผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องต่อศาลได้เองโดยตรง แต่ผู้ครอบครัวเสียหายส่วนใหญ่เป็นผู้อยู่ในสถานะยากลำบาก อีกทั้งการฟ้องร้องหน่วยงานความมั่นคงก่อให้เกิดความหวาดกลัว และการไม่มีหลักประกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จึงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำประชาชนให้ไม่สามารถเข้าถึงความยุติธรรมบนบรรทัดฐานของความเท่าเทียมทางกฎหมายได้
ในโอกาสครบรอบเหตุการณ์ตากใบ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย และองค์กรอิสระซึ่งมีหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ต่อการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามกระบวนการยุติธรรม ดังนี้
1.ขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดทบทวนความเห็นในการสั่งไม่ฟ้องคดีกรณีตากใบ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิทางศาลในการหาความเป็นธรรมได้อย่างเต็มที่
2.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ควรเพิ่มบทบาทในการช่วยเหลือผู้เสียหายกรณีตากใบและครอบครัวให้เข้าถึงความยุติธรรมโดยการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗(๔)
3.รัฐบาลต้องมีมาตราการในการให้ความคุ้มครองพยานซึ่งเป็นผู้รอดชีวิตให้มีความมั่นใจในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อสามารถให้การเป็นพยานในชั้นศาล และสามารถนำผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้
4.สังคมไทยต้องนำบทเรียนของเหตุการณ์การละเมิดสิทธิต่อประชาชน รวมทั้งการใช้ความรุนแรงเข้าสลายการชุมชนของประชาชน โดยไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบในทุกกรณี และร่วมกันเฝ้าติดตามการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมของกรณีการละเมิดสิทธิฯในเหตุการณ์ตากใบ
เพื่อสร้างความมั่นใจในกระบวนการยุติธรรม และเพื่อการฟื้นฟูความไว้เนื้อเชื่อใจ และปรับกระบวนทัศน์ในการอยู่ร่วมกันด้วยสันติวิธี ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลรวมถึงกระบวนการยุติธรรมไทยจึงต้องทบทวนบทบาทที่ผ่านมาว่า แท้จริงแล้วกระบวนการยุติธรรมไทยยืนอยู่บนพื้นฐานของความจริง และความยุติธรรมเพื่อปกป้องบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิ เสรีภาพ ตามหลักนิติธรรม อย่างไร
เพราะการปรองดอง และความสมานฉันท์ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้หากปราศจากความเป็นธรรม อีกทั้งสันติภาพก็มิได้หมายถึงเพียงการยุติความรุนแรง แต่สันติภาพที่ยั่งยืนหมายถึงการที่ประชาชนทุกคนจะเป็นอิสระจากความหวาดกลัว และต้องไม่ให้มีการงดเว้นโทษ (Impunity) อีกต่อไป
อีกด้านหนึ่ง ในวันครบรอบ 6 ปีเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงใน อ.ตากใบ จ.นราธิวาสเมื่อปี 2547 จนมีผู้ชุมนุมเสียชีวิต 78 ศพและบาดเจ็บจำนวนมากนั้น ได้เกิดเหตุความไม่สงบเกิดขึ้นหลายจุด ตั้งแต่ช่วงเวลา 01.30 น. กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้กระจายกำลังกันก่อเหตุป่วนเมืองขึ้นพร้อมกันในพื้นที่ 7 อำเภอของ จ.นราธิวาส ด้วยการลอบนำระเบิดแสวงเครื่องที่ประกอบขึ้นเป็นระเบิดชนิดใหม่ จุดชนวนด้วยการเหยียบ ลอบนำไปฝังไว้ในสวนยางพาราของชาวบ้าน จากนั้นตัดโค่นต้นยาง เพื่อหลอกให้เจ้าของสวนยางเข้าตรวจสภาพความเสียหาย เดินไปเหยียบกับระเบิดที่คนร้ายฝังไว้ ทำให้เจ้าของสวนยางซึ่งเป็นชาวไทยพุทธเดินไปเหยียบกับระเบิดที่คนร้ายฝังไว้ได้รับบาดเจ็บสาหัสที่เท้ารวม 14 คน นอกจากนี้ในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและยะลามีเหตุรอบวางระเบิดเช่นเดียวกัน
ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า สรุปเหตุระเบิดวันที่ 24-25 ต.ค.53 ถึงเวลา 18.00 น.
สรุประเบิด พื้นที่จังหวัด นราธิวาส
1.อ.รือเสาะ จำนวน 4 จุด ฅ
1.1 เวลา 2123 บ.บาลูกา ต.สามัคคี ไม่มีผู้บาดเจ็บ
1.2 เวลา 0420 บ.บากง ต.รือเสาะ ราษฎรเจ็บ 1 คน เสียชีวิตที่ รพ.
1.3 เวลา 0815 บ.ยาแลเบาะ (บ.ท่าเรือ) ต.รือเสาะ จนท.ตร.เจ็บ 1 คน
1.4 เวลา 1040 บ.สามัคคี ต.สามัคคี EOD ตร.นธ. เจ็บ 2 คน
2.อ.ระแงะ จำนวน 2 จุด
2.1 เวลา 0128 บ.วัดร่อน ต.ตันหยงมัส ราษฎรเจ็บ 1 คน
2.2 เวลา 0630 บ้านไทย ต.ตันหยงมัส ราษฎรเจ็บ 1 คน
3.อ.สุคิริน จำนวน 2 จุด
3.1 เวลา 0435 บ. ส.ว.นอก ต.สุคิริน ราษฎรเจ็บ 1 คน
3.2.เวลา 0610 บ. ส.ว.นอก ต.สุคิริน ราษฎรเจ็บ 1 คน
4.อ.ศรีสาคร จำนวน 1 จุด
– บ.ไอร์ตุย ต.ศรีบรรพต ราษฎรเจ็บ 3 คน
5.อ.ยี่งอ จำนวน 1 จุด
– บ.ปูตะ ต.ละหาร ราษฎรเจ็บ 1 ราย
6.อ.บาเจาะ จำนวน 1 จุด
-บ.ดูกู ต.บาเจาะ ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
7.อ.เมือง จำนวน 1 จุด
– บ.ไม้งาม ต.บางปอ ราษฎรเจ็บ 1 คน
8.อ.จะแนะ จำนวน 1 จุด
– บ.ปารี ต.จะแนะ พบขา 1 ข้าง ไม่ทราบว่าเป็นใคร
9.อ.สุไหงปาดี จำนวน 1 จุด
– บ.ต้นไม้สูง ต.ปะลุรู ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
รวมระเบิดจำนวน 14 จุด (14 ลูก)
-จนท.ตร.บาดเจ็บเจ็บ 3 คน
-ราษฎรบาดเจ็บ 10 คน (ไม่ทราบว่าใคร 1 คน)
-ราษฎร เสียชีวิต 1 คน
ระเบิดที่เก็บกู้ได้
1.อ.จะแนะ จำนวน 5 ลูก (บ.ปารี ต.จะแนะ )
2.อ.สุไหงปาดี จำนวน 1 ลูก (บ.ต้นไม้สูง ต.ปะลุรู)
3.อ.ตากใบ จำนวน 1 ลูก (บ.ทรายขาว ต.ไพรวัน)
รวม 7 ลูก
ระเบิดพื้นที่จังหวัดยะลา
อ.รามัน จำนวน 1 จุด
-บ.ไทย ม.2 ต.ตะโล๊ะหะลอ ราษฎรเจ็บ 1 คน
ระเบิดที่เก็บกู้ได้
อ.รามัน จำนวน 2 ลูก
-บ.ทุ่งขมิ้น ม.3 ต.ตะโล๊ะหะลอ 2 ลูก (ทำให้ระเบิด 1 เก็บกู้ 1)
ระเบิดพื้นที่จังหวัดปัตตานี
อ.กะพ้อ จำนวน 2 จุด
-บ.เจาะกะพ้อ ต.กะรุบี ราษฎรเจ็บ 2 คน
รวมระเบิดที่ระเบิด
จว.นธ. จำนวน 14 จุด (14 ลูก)
จว.ยล. จำนวน 1 จุด (1 ลูก)
จว.ปน. จำนวน 2 จุด (2 ลูก)
รวม จำนวน 17 จุด 17 ลูก
ระเบิดที่เก็บกู้ได้
จว.นธ. จำนวน 7 ลูก
จว.ยล. จำนวน 2 ลูก
จว.ปน จำนวน – ลูก
รวม 9 ลูก
การสูญเสียบาดเจ็บ และเสียชีวิต
จว.นธ.
จนท.ตร.บาดเจ็บ 3 คน
ราษฎร บาดเจ็บ 10 คน (ไม่ทราบเป็นผู้ใด 1 คน)(พุทธ 8 คน มุสลิม 1 คน ไม่ทราบศาสนา 1 คน)
ราษฎรเสียชีวิต 1 คน
จว.ยล.
ราษฎร บาดเจ็บ 1 คน
จว.ปน.
ราษฎร บาดเจ็บ 2 คน (พุทธ 1คน มุสลิม 1 คน )
รวม 3 จังหวัด เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 16 คน
จนท.ตร.บาดเจ็บ 3 คน
ราษฎร บาดเจ็บ 13 คน (พุทธ 10 คน มุสลิม 2 คน ไม่ทราบศาสนา 1 คน)
ราษฎร เสียชีวิต 1 คน
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1733 ครั้ง