รูปภาพ : การค้านอกภาคน้ำมันหรือ Non-oil trade ของกลุ่ม GCC ช่วง 7 เดือนแรกของปีอยู่ที่ 112,000 ล้านดอลลาร์ ด้านนักวิเคราะห์คาด การค้านอกภาคน้ำมันเติบโต 31%
ที่มา : AP ใน Gulf News
การกระจายตัวของระบบเศรษฐกิจออกจากภาคน้ำมันในภูมิภาคอ่าวที่กำลังดำเนินอยู่ในตอนนี้จะส่งผลให้มูลค่าจีดีพีรวมของภูมิภาคพุ่งขึ้นกว่าเท่าตัวจาก 1.04 ล้านล้านดอลลาร์ในปัจจุบันมาอยู่ที่ 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2020 จากการเปิดเผยของอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต หรือ อีไอยู (Economist Intelligence Unit)
“เรากำลังคาดว่า เศรษฐกิจนอกภาคน้ำมันของภูมิภาคจะโตราว 5.5% ต่อปีในช่วง 10 ปีข้างหน้า ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ของเศรษฐกิจโลก ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดในภุมิภาคอ่าวล้วนกะตือรือร้นกับการกระจายเศรษฐกิจ” นายเจน คินนินมอนต์ รองผู้อำนวยการอีไอยูประจำภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือให้สัมภาษณ์ Gulf News ผ่านทางโทรศัพท์
เมื่อคิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพแล้ว ภาคน้ำมันและแก๊สคาดว่าจะมีสัดส่วนต่อจีดีพีลดลงจากระดับเฉลี่ยที่ 40% ต่อจีดีพีช่วงปี 2001-2010 มาอยู่ที่ระดับ 32% โดยเฉลี่ยระหว่างปี 2011-2020 หลังจากถึงจุดสูงสุดที่ 49% ต่อจีดีพีในปี 2009 คาดว่าภาคน้ำมันและแก๊สจะมีสัดส่วนที่ลดลงมาเหลือแค่ 27% ต่อจีดีพีภายในปี 2020
“ตอนนี้ประเทศในกลุ่ม GCC ต่างมีความเห็นพ้องต้องกันถึงเหตุผลในการที่ต้องกระจายระบบเศรษฐกิจ แผนการกระจายเศรษฐกิจในทุกรัฐบาลได้ให้ความสำคัญใน 3 เรื่องหลักได้แก่ ความจำเป็นในการลดความเสี่ยง การสร้างงาน และการเตรียมการสำหรับยุคหลังเเศรษฐกิจน้ำมันหรือในคนรุ่นหลังในอนาคต” นายคินนินมอนต์กล่าว
บทบาทของภาคเอกชนกำลังขยายตัวในภูมิภาค ในรายงานล่าสุดของไอเอ็มเอฟก็ได้แนะนำให้ประเทศกลุ่มอ่าวเดินหน้าความพยายามในการสร้างงานขณะที่มองหาโอกาสในการออกจากมาตรการอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งถูกนำมาใช้ในช่วงวิกฤตการเงินด้วย
“ความพยายามทั้งหมดควรทุ่มไปเพื่อการสร้างงานในภูมิภาคให้มากขึ้นเพื่อให้ประชากรวัยหนุ่มสาวที่กำลังเติบโตในภูมิภาคนี้มีผลิตภาพมากขึ้น ด้วยส่วนเกินทุนที่เป็นความได้เปรียบที่ชัดเจน การกระจายตัวทางเศรษฐกิจและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจจะเป็นกุญแจสำคัญของการสร้างงาน” นายมาซุด อาหมัด ผู้อำนวยการฝ่ายตะวันออกกลางและเอเชียกลางจากไอเอ็มเอฟ
รายงานของอีไอยูยังแนะนำอีกว่า กลุ่ม GCC ต้องมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมซึ่งมีความได้เปรียบในการแข่งขันอยู่แล้วเช่น อุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเคมี พลาสติก และอลูมิเนียม ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานเข้มข้น
นอจากอุตสาหกรรมเหล่านั้นแล้ว อุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมที่มีฐานอิงกับแร่ธ่ตุ การค้า ลอจิสติกส์ การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวและบริการ (Hospitality Industry) และการบินก็ถือเป็นอุตสาหกรรมอื่นๆซึ่งมีศักยภาพในการสร้างงานเช่นกัน
ที่มา Gulf News
http://gulfnews.com/business/economy/gulf-s-non-oil-gdp-to-surge-1.704713
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1763 ครั้ง