World Halal Congress 2010 เปิดอย่างยิ่งใหญ่ครั้งแรกของประเทศไทย โชว์ศักยภาพของมุสลิมไทยต่อมุสลิมทั่วโลก หวังเผยแพร่สินค้า บริการ วัฒนธรรมประเพณีของไทย
งาน World Halal Congress 2010 เฉลิมพระเกียติพระบาทสมเด็จพเจ้าอยู่ 84 พรรษา จัดที่รอยัล พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน ระหว่างวันที่ 2-6 ธันวาคม 2553 โดยมีตัวแทนมุสลิมกว่า 100 ประเทศ เข้าร่วมงาน และมีผู้ประกอบการของประเทศไทย ร่วมงานอย่างคับคั่ง
นายพิเชษฐ สถิรชวาล ประธานบริษัท เวิร์ล ฮาลาล กรุ๊ป จำกัด และประธานจัดงาน กล่าวว่า จุดประสงค์ของการจัดงานเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพรรษา 7 รอบ และเพื่อแสดงความพร้อมของการเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าด้านอุตสาหกรรมฮาลาลของไทย ตลอดจนเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ธุรกิจบริการของคนไทยในตลาดนัดท่องเที่ยวคุณภาพของโลกมุสลิม อีกทั้งเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้กับประเทศคู่ค้าว่าสินค้าฮาลาลของไทยผ่านการตรวจสอบการลิตที่ถูกต้องตามบทบญญัติจองศาสนาอิสาม ถูกต้องตามหลักอนามันและความปลอดภัยด้านอาหารสากลด้วย
นอกจากนี้ ยังเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานฮาลาลสากล และพัฒาศักยภาพคุณภาพการผลิตการแปรรูป ส่วนผสม การสร้างสรรค์ บรรจุภัณฑ์ และการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และแสดงให้เห็ยความสำคัญของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การสร้างพหุวัฒนธรรมของคนไทยให้เข้มแข็ง ประชาชนมีความเข้าใจระหว่างกันและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
“ในงานเราจะมีการโชว์ประเพณีการแต่งงานของมุสลิมไทย มีมุสลิมแต่งงานกับคนนับถือศาสนาคริสต์ที่เข้ารับอิสลาม คนมุสลิมแต่งงานกับคนพุทธที่เข้ารับอิสลาม ซึ่งการแต่งงานของมุสลิมไทย แม้จะเป็นไปตามหลักการอิสลาม แต่ก็มีรายละเอียดที่แตกต่างจากมุสลิมประเทศอื่น ซึ่งได้เชิญมุสลิมและองค์กรมุสลิมสำคัญมาร่วมงานด้วย เขาจะได้เห็นศักยภาพของมุสลิมไทย” นายพิเชษฐ์ กล่าว
“คาดว่า ในงานจะมีผู้บริการองค์กรฮาลาล ผู้ประกอบการ และนักธุรกิจชั้นนำจาก 84 ประเทศทั่วโลก เข้าร่วมประมาณ 1,000 คน ซึ่งจะก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจ ตลอดจนเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมฮาลาลไทยให้สามารถแข่งขันอย่างทัดเทียมในตลาดโลก”นายพิเชษฐ กล่าว
โชว์วัฒนธรรมมุสลิมภาคใต้
พิเชษฐ สถิรชวาล
นายพิเชษฐ กับประธาน OIC และประธานฮาลาล ปากีสถาน
World Halal Congress 2011 ร่วมกันจัดโดย มูลนิธิแม่บ้านมุสลิมไทย มูลนิธิมัสสุรีย์ สถิรชวาล มูลนิธิอัลเกาซัร มูลนิธิเพื่อคุณธรรม สมาคมนักธุรกิจอุตสาหกรรมไทยมุสลิม คณะกรรมการกลางประจำจังหวัดเพชรบุรี คณะกรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัดสมุทรปราการ คณะกรรมการกลางประจำจังหวัดตาก เป็นต้น
“การที่ไม่จัดในนามคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เนื่องจากไม่อยากให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง แต่การจัดงานได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ที่หวังเห็นงานระดับโลกที่จัดขึ้นในประเทศไทย และได้เผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณีของมุสลิมในประเทศไทย” นายอนิรุทธ์ สมุทรโคจร กรรมการจัดงานกล่าว
เขา กล่าวว่า ในงานของนอกมีการแสดงสินค้า บริการ การแสดงวัฒนธรรมประเพณีของมุสลิมไทยแล้ว ยังมีการสัมมนาให้ความรู้ในหลากหลายหัวข้อเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานฮาลาลในระดับโลกจะมีบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านโลจิสติกส์ของโลกที่ฮาลาลมาให้ความรู้ มีตัวแทนจากประเทศมุสลิมและประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม แต่ส่งออกอาหารฮาลาล มาร่วมให้ความรู้และเข้าชมงาน อาทิ ตัวแนฮาลาลจากบราซิล ซึ่งเป็นประเทศส่งออกไก่ฮาลาลไปยังตะวันออกกลางรายใหญ่ของโลก ตัวแทนจากมาเลเซีย ปากีสถาน ประเทศในยุโรปอีกหลายประเทศ ซึ่งหลายประเทศได้ตอบรับแล้ว
“เราต้องการ World Halal Congress เป็นองค์กรมุสลิมระดับโลกที่ดูแลเรื่องมาตรฐานฮาลาล ตามเป้าจะจัดในประเทศไทย 3 ปี ครั้งต่อไปจะจัดที่ภูเก็ต เพื่อให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก หลังจากนั้น จะให้ประเทศที่สนใจประมูลไปจัดที่ประเทศของตน ซึ่งจะมีการตั้งคณะกรรมการ World Halal Congress ขึ้นมา โดยมีตัวแทนจากหลายประเทศเข้าร่วม
“ไม่แน่ในประเทศไทย World Halal Congress จะเป็นองค์กรออกเครื่องหมายรับรองฮาลาล ซึ่งการออกเครื่องหมายรับรองฮาลาล ใครก็สามารถออกได้ไม่มีกฎหมายห้าม”นายอนิรุทธิ์ กล่าวในที่สุด
ในเวิร์ล ฮาลาล คองเกรส ได้มีการลงนามในข้อตกลงเป็นภาคระหว่าง เวิร์ล ฮาลาล กรุ๊ป ผู้รับผิดชอบจัดงาน กับองค์กรมุสลิมจากทั่วโลกกว่า 10 ประเทศ อาทิ สวิสเซอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ปากีสถาน ออสเตรเลีย เป็นต้น รวมทั้งปากีสถาน ได้มอบหมายให้ เวิร์ล ฮสลาล กรุ๊ป เข้าไปจัดระบบฮาลาลในประเทศ
“เหมือนเราได้เข้าไปจัดระบบฮาลาลในปากีสถาน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผูประกอบการในประเทศไทย เพราะปากีสถานเป็นประเทศสมาชิกกลุ่ม โอไอซี ที่มีสมาชิก 57 ประเทศ การที่เขาให้เราไปจัดระบบให้ เหมือนเป็นการไปออกฮาลาลให้กับสินค้าและบริการ ทำให้เราสามารถส่งสินค้าไปยังปากีสถานและประเทศในโอไอซีได้” นายพิเชษฐ กล่าว และว่า ส่วนการลงนามเป็นภาคีร่วมกันก็เพื่อขับเคลื่อน เวิร์ล ฮาลาล คองเกรส ในการจัดงานครั้งต่อไป ประเทศที่ร่วมลงนามเป็นภาคี ก็ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ และในอนาคต จะหมุนเวียนไปจัดยังประเทศอื่นๆด้วย
“การจัดงานเวิร์ล ฮาลาล คองเกรสครั้งแรก ถือว่า ประสบความสำเร็จด้วยดี แม้ว่า จะประสบอุปสรรคมากมายก็ตาม” นายพิเชษฐ กล่าว
มัสยิดจำลอง อายุ 300 ปี
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1948 ครั้ง