วันที่ 8 ธันวาคม ทางการจีนเตรียมจัดพิธีมอบรางวัล “สันติภาพ” ของตนเองในวันพฤหัสฯ (9 ธค.) หลังจากที่มีการประกาศแผนดังกล่าวเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน เพียงหนึ่งวันก่อนที่จะมีการจัดพิธีมอบรางวัลโนเบล ที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ในวันที่ 10 ธค.นี้
รายงานจากเอพี ระบุว่า นับตั้งแต่ที่คณะกรรมการโนเบลมอบรางวัลด้านสันติภาพให้กับหลิว เสี่ยวปอ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ทางการจีนได้กล่าวหาชาติตะวันตกว่าพยายามสร้างความแตกแยกต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มผู้สนับนุนนายหลิวว่าเป็น “ตัวตลก” และดำเนินการกดดันต่อนานาชาติเพื่อมิให้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัล และกีดกันมิให้นายหลิว หรือแม้กระทั่งญาติสนิทเข้าร่วมพิธีครั้งนี้ด้วย
หลังจากที่มีการเผยแพร่ข่าวในหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ฉบับหนึ่งของรัฐบาลเมื่อวันที่ 17 พย.ที่ผ่านมาว่า ทางการจีนเตรียมการมอบรางวัลสันติภาพของตนเอง โดยใช้ชื่อว่า “Confucius Peace Prize” (รางวัลสันติภาพขงจื้อ) เพื่อตอบโต้การมอบรางวัลโนเบลให้กับนายหลิว
รางวัลดังกล่าวตั้งชื่อตามนักปรัชญาชาวจีนผู้มีชื่อเสียงคือ “ขงจื๊อ” เพื่อ “ตีความมุมมองด้านสันติภาพของประชาชนชาวจีน” คณะกรรมการรางวัลกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
นายตัน ฉางหลิว ประธานคณะกรรมการรางวัลกล่าวว่า องค์กรของเขาไม่ได้เป็นหน่วยงานของรัฐบาล แต่เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงวัฒนธรรม นายตันปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับคณะกรรมการ ว่ามีการจัดตั้งขึ้นเมื่อใด และคณะกรรมการทั้ง 5 คนมีการคัดเลือกอย่างไร โดยกล่าวว่าจะมีการเปิดเผยในภายหลัง
ผู้ได้รับรางวัลนี้คนแรกคือ นายเหลียน เฉิน อดีตรองประธานาธิบดีไต้หวัน และประธานกิติมศักดิ์ของพรรคชาตินิยมแห่งไต้หวัน ในฐานะที่เขา “สร้างสะพานแห่งสันติภาพระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน” โดยเจ้าหน้าที่พรรคของเขาในไต้หวัน กล่าวว่าเธอไม่อาจแสดงความคิดเห็นใดๆได้เนื่องจากเธอไม่ทราบถึงรายละเอียดของรางวัล
นายเหลียน ถูกคัดเลือกจากผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งสิ้น 8 ราย ซึ่งบางรายเคยได้รับการเสนอชื่อ หรือได้รับรางวัลด้านสันติภาพแล้ว อาทิ นายบิล เกตส์, นายเนลสัน แมนเดลา, นายจิมมี่ คาร์เตอร์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ, นายมาห์มูด แอบบาส ผู้นำปาเลสไตน์ และปันเชน ลามะ เกียลเซน นอร์บู ผู้นำจิตวิญญาณศาสนาทิเบตอันดับสอง
“เราไม่ควรแข่งขัน เราไม่ควรเผชิญหน้ากับรางวัลโนเบล แต่เราควรสร้างมาตรฐานใหม่” นายหลิว จี้ฉิน นักธุรกิจชาวปักกิ่งซึ่งเสนอความคิดเห็นให้มีการมอบรางวัลดังกล่าวในหนังสือพิมพ์เดอะโกลบัล ไทมส์ “รางวัลโนเบลไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราไม่สามารถตั้งข้อสงสัยหรือตั้งคำถามได้ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะโต้แย้ง ไม่ว่ามันจะถูกต้องหรือไม่” นายหลิวกล่าว โดยปฏิเสธว่าเขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการมอบรางวัล
นายตัน ฉางหลิว กล่าวว่า ตนเองทราบดีว่ารางวัลนี้จะไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในระดับนานาชาติ “มันจำเป็นต้องเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเราหวังว่าประชาชน
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 2574 ครั้ง