รูปภาพ : นายฮาชิม ยามานี่ ประธาน (President) เมืองกษัตริย์อับดุลเลาะห์เพื่อพลังงานปรามณูและพลังงานหมุนเวียน (King Abdullah City for Atomic and Renewable Energy) ระหว่างกล่าวในงาน Global Competitiveness Forum ครั้งที่ 5
ที่มา : Arab News
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลซาอุดิอาระเบียเปิดเผยวานซืนนี้ (อาทิตย์ที่ 23 มกราคม 2011) ถึงยุทธศาสตร์พลังงานที่กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งเป็นที่ประหลาดใจหลายฝ่ายถึงแนวโน้มการโยกโครงสร้่างการบริโภคพลังงานภายในประเทศไปสู่การใช้แหล่งพลังงานทางเลือกมากขึ้น
นายฮาชิม ยามานี่ ประธาน (President) เมืองกษัตริย์อับดุลเลาะห์เพื่อพลังงานปรามณูและพลังงานหมุนเวียน (King Abdullah City for Atomic and Renewable Energy) ได้อธิบายถึงการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อนำไปสู่การพึ่งพาแหล่งพลังงานทางเลือก ซึ่งรวมถึงทางเลือกในด้านพลังงานนิวเคลียร์ด้วย
นายยามานี่กล่าวในระหว่างการให้สุนทรพจน์หลักในที่ประชุมว่าด้วยเรื่องความสามารถในการแข่งขันระดับโลกครั้งที่ 5 (Global Competitiveness Forum) จัดขึ้นที่นครริยาดโดยเน้นว่า การเพิ่มสูงขึ้นของประชากรของประเทศเมื่อรวมเข้ากับการผลักดันอย่างจริงจังในภาคอุตสาหกรรมจะดูดกลืนทรัพยากรปิโตรเลียมของประเทศออกไปอย่างมาก หากว่าทรัพยากรเหล่านี้ถูกใช้ไปเพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศ
“เศรษฐกิจของเราเติบโต 3.8% ในปี 2010 และชัดเจนว่าอยู่ในชวงขาขึ้นหลังจากอยู่ในช่วงที่การเติบโตชะงักงันแม้ตัวเลขจะเป็นบวกในปี 2009″ นายยามานี่กล่าว “ภาคอุตสาหกรรมของเราเติบโต 6.7% จนกระทั่งปี 2008 ในปี 2009 ภาคอุตสาหกรรมเติบโต 3.1% ซึ่งดีกว่าเศรษฐกิจโดยส่วนใหญ่ในปีนั้น การเติบโตนี้ต้องการการตัดสินใจที่เหมาะเจาะและการลงทุนที่รอบคอบเพื่อเร่งการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ต่อเนื่องและช่วยหล่อเลี้ยงความมั่งคั่งรุ่งเรืองของลูกหลานในอนาคตหลังจากนั้น”
เขากล่าวว่า เนื่องด้วยผลของการเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงเป็นที่คาดการณ์ได้ว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าในซาอุดิอาระเบียจะพุ่งขึ้นเป็น 3 เท่าตัวของปัจจุบันภายในปี 2032 และความต้องการน้ำมันในประเทศก็ยังคงเติบโตในระดับที่น่าตกใจอยู่
“ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ความต้องการน้ำมันภายในประเทศโดยรวมโตขึ้นกว่า 27% โรงไฟฟ้าของเราในตอนนี้แทบไม่พอตอบสนองระดับความต้องการในปัจจุบัน และผมก็จะยังคงไม่พูดถึงแม้กระทั่งเรื่องของการตั้งกำลังไฟระดับกำลังไฟสำรองหรือการถอนกำลังผลิตบางส่วน (ที่ถึงอายุการใช้งาน) ออกตามที่วางแผนเอาไว้ ดังนั้นความท้าทายคือ การตอบสนองความต้องการที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นซึ่งปริมาณความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นมานั้นจะเพิ่มมากกว่า 80 กิกะวัตต์ภายในปี 2030″
คำถามที่ถูกถามขึ้นคือ ทำไมซาอุดิอาระเบียไม่ทำในสิ่งที่สมเหตุสมผลและควรทำโดยธรรมชาติ ซึ่งก็แค่ผลาญน้ำมันและก๊าซเพิ่มเติมเพื่อสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้
นายยามานี่ตอบคำถามนี้โดยกล่าวว่า ตอนนี้มีการวิ่งไล่ไปสู่ฉากทัศน์ที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบันนี้อยู่
“การวิ่งไล่านี้ก็คือ ภายในปี 2028 ซาอุดออาระเบียจะมีการบริโภคพลังงานในระดับเทียบเท่าน้ำมัน 8 ล้านบาร์เรลต่อวันเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจซึ่งรวมถึงกิจกรรมในด้านการขนส่ง อุตสาหกรรม และการผลิตไฟฟ้า แนวโน้มนี้จะส่งผลสะเทือนต่อความสามารถของประเทศในการตอบสนองความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลก และอาจเลวร้ายถึงขั้นกระทบต่อสถานะผู้นำในตลาดพลังงานโลกของซาอุดิอาระเบียด้วย”
นายยามนี่กล่าวว่า ดังนั้นแล้วประเทศกำลังให้ความสำคัญกับทุกทางเลือกซึ่งรวมถึงพลังงานนิวเคลียร์ด้วย
“พลังงานนิวเคลียร์และพลังงานหมุนเวียนมีสัดส่วน 12% ของกำลังการผลิตพลังงานที่ติดตั้งแล้วทั้งหมดในปี 2007 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 19% ภายในปี 2030 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปีที่ 4.7%” เขากล่าว “มันจำเป็นที่ต้องเน้น ณ ที่นี้ว่า พลังงานทางเลือกจะไม่สามารถมีส่วนในการสร้างส่วนผสมให้ระบบพลังงานโลกได้เลยหากปราศจากมาตรการสนับสนุนที่เตรียมมาอย่างดี การติดตั้งระบบพลังงานที่ยั่งยืนใหม่นี้อาจมีต้นทุนมากกว่าระบบพลังงานที่ไม่ยั่งยืนในระยะสั้น แต่ในระยะยาว การลงทุนนี้คาดว่าจะให้ประโยชน์มากมายทีเดียว”
นายยามานี่ยังได้เน้นถึงแง่มุมทางการเงินของการผลิตพลังงานว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการกำหนดสถานที่ที่เหมาะสมต่อการลงทุน
“ในกระบวนการออกแบบส่วนผสมทางพลังงาน เราตระหนักถึงคำถาที่ว่า : อะไรคือต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือกในซาอุดิอาระเบีย? ตัววัดสำคัญๆหลายๆตัวจะต้องได้รับการพิจารณาในการพัฒนาการวิเคราะห์ผลประโยชน์-ต้นทุนของการพัฒนาพลังงานทางเลือก” เขากล่าว “ตัววัดเหล่านี้รวมถึงราคาน้ำมัน รูปแบบความต้องการไฟฟ้า และต้นทุนเงินทุนที่อิืงกับฉากทัศน์ต่างๆของการมีส่วนร่วมของภาครัฐและเอกชน”
เขากล่าวอีกว่า เมืองกษัตริย์อับดุลเลาะห์เพื่อพลังงานปรามณูและพลังงานหมุนเวียนซึ่งเปิดขึ้นเมื่อ 8 เดือนที่แล้วจะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานภายในประเทศของซาอุดิอาระเบีย
“เมืองกษัตริย์อับดุลเลาะห์เพื่อพลังงานปรามณูและพลังงานหมุนเวียนมีความประสงค์ในการมีส่วนร่วมเพื่อไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนในซาอุดิอาระเบียผ่านการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ การวิจัย และอุตสาหกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพลังงานปรมาณูและพลังงานหมุนเวียนเพื่อจุดประสงค์ในทางสันติในแนวทางที่นำไปสู่การยกระดับมาตรฐานการดำรงชีพและคุณภาพชีวิตในซาอุดิอาระเบีย” นายยามานี่กล่าว “การปฏิบัตินี้ถือเป็นการเริ่มต้นของบรรดาข้อริเริ่มต่างๆที่ออกแบบไว้เพื่อการเปลี่ยนผ่านซาอุดิอาระเบียจากประเทศที่พึ่งพาพลังงานจากฟอสซิลทั้งหมดในการผลิตไฟฟ้าและการกลั่นน้ำจืดไปสู่การมีส่วนผสมทางพลังงานที่ยั่งยืน … ส่วนผสมทางพลังงานที่ยั่งยืนที่เราคิดกันเอาไว้จะช่วยลดสัดส่วนของการใช้พลังงานฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้าให้ต่ำที่สุดภายในปี 2050″
นายยามานี่ให้เครดิตในการคิดไปข้างหน้านี้แก่กษัตริย์อับดุลเลาะห์ ผู้พิทักษ์ 2 สุเหร่าศักดิ์สิทธิ์ สำหรับยุทธศาสตร์ที่วางขึ้นเพื่อกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศโดยไม่ต้องลดบทบาทของประเทศในฐานะที่เป็นผู้พลังงานรายใหญ่ของโลก
“มันได้นำพากษัตริย์ที่มีพระเนตรยาวไกลเพื่อนำทางซาอุดิอาระเบียเข้าสู่ยุคของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มันยังได้นำพากษัตริย์ที่มีพระเนตรยาวไกลเพื่อนำทางซาอุดิอาระเบียเข้าสู่ยุคของพลังงานทางเลือกด้วย” นายยามานี่กล่าว “ต่อแต่นี้ไป ‘อาณาจักรแห่งพลังงาน’ จะต้องได้รับความรู้จักในนาม ‘อาณาจักรแห่งพลังงานที่ยั่งยืน’ ”
ที่มา Arab News
แปลและเรียบเรียงโดย เบ๊นซ์ สุดตา ฝ่ายข่าวเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ Mtoday