รูปภาพ : กลุ่มผู้ประท้วงเดินขบวนขับไล่รัฐบาลและนายฮอสนี่ มูบารัก ประธานาธิบดีอิยิปต์ที่ครองอำนาจมากว่า 30 ปี เผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ณ กรุงไคโร วานนี้ (อังคารที่ 25 มกราคม 2011)
ที่มา : สำนักข่าว AP
ตำรวจเปิดฉากยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ประท้วงชาวอิยิปต์ซึ่งปักหลักชุมนุมใจกลางเมืองหลวงกรุงไคโรในเช้าวันนี้ (พุธที่ 26 มกราคม 2011) หลังจากการชุมนุมขับไล่ประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารักที่ครองอำนาจมานานกว่า 30 ปีที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเริ่มก่อตัวตั้งแต่เมื่อวานนี้
เมื่อช่วงวันอังคารที่ผ่านมา ผู้ประท้วง 2 คนและเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 1 นายเสียชีวิตระหว่างการปะทะกัน
“ออกไป ออกไป ฮอสนี่ มูบารัก” ผู้ชุมนุมกู่ร้องขึ้นหลังวิ่งหนีขึ้นมาริมถนน ผู้ประท้วงบางส่วนได้ปาก้อนหินเข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งพุ่งเข้าตีกลุ่มผู้ประท้วงด้วยไม้กระบองเพื่อหยุดกลุ่มผู้ประท้วงซึ่งพยายามกลับไปตั้งกลุ่มใหม่ที่จัตุรัสซึ่งเพิ่งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเคลียร์พื้นที่ไปด้วยแก๊สน้ำตา
“ไอ้พวกสารเลว” กลุ่มผู้ประท้วงที่หนีออกมาได้กล่าว คนอื่นร้องอีกว่า “พวกแกมันไม่ใช่ลูกผู้ชาย” ภาพวีดีโอจากสำนักข่าวรอยเตอร์แสดงให้เห็นถึงภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจฉีดปืนใหญ่น้ำเข้าใส่ผู้ประท้วงเนื่องจากแถวตำรวจได้เคลื่อนเข้าสู่จัตุรัส
ผู้ประท้วงหลายพันคนได้กล่าวว่า พวกเขามีแผนที่จะปักหลักอยุ่นอกจัตุรัสตาห์เรียร์ (Tahrir) ใจกลางกรุงไคโรจนกว่าจะล้มรัฐบาลได้
ผู้ประท้วงและตำรวจบางส่วนได้แบ่งปันอาหารและพูดคุยกันเมื่อเย็นวานนี้ (อังคารที่ 25 มกราคม 2011) หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจระดมยิงแก๊สน้ำตาและปืนใหญ่น้ำและกลุ่มผู้ประท้วงปาก้อนหิน แต่การเข้ามาของเสริมกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อล้อมกลุ่มผู้ประท้วงได้เพิ่มความตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง
กลุ่มผู้ประท้วงได้ฉีกรูปภาพของประธานาธบดีมูบารักและลูกชาย นายกามาล ซึ่งบรรดาชาวอิยิปต์บอกว่ากำลังเตรียมก้าวขึ้นสู่อำนาจ ทั้งนายกามาลและนายมูบารักต่างปฏิเสธถึงแผนการนั้น
สหรัฐฯซึ่งเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดและผู้บริจาคความช่วยเหลือรายใหญ่ของอิยิปต์ได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยับยั้งชั่งใจเอาไว้เพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรง
กาประท้วงเมื่อวันอังคารตรงกับวันหยุดแห่งชาติซึ่งตลาดการเงินอิยิปต์ปิดทำการ แต่ตลาดการเงินอิยิปต์ก็เปิดทำการอย่างสั่นคลอนหลังจากความวุ่นวายในตูนีเซียไม่กี่วันที่ผ่านมา
สำหรับในตลาดต่างประเทศ ต้นทุนการประกันความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของพันธบัตรรัฐบาลอิยิปต์พุ่งขึ้นวานนี้
“พรุ่งนี้ (หมายถึงวันพุธที่ 26 นี้) ไม่ต้องไปทำงาน ไม่ต้องไปมหาลัย เราทั้งหมดจะลงมาเดินบนท้องถนนและยืนจับมือไปด้วยกันเพื่อคุณ อิยิปต์ของเรา เราจะมากันเป็นล้าน” นักเคลื่อนไหวคนหนึ่งเขียนลงบน Facebook ซึ่งกลายเป็นเครื่องมือหลักในการเคลื่อนกลุ่มผู้ประท้วง
นักเคลื่อนไหวบนอินเตอร์เน็ตซึ่งเรียกเหตุการณ์เมื่อวันอังคารว่า “วันแห่งความพิโรธ” ที่มีต่อความยากจนและการถูกกดขี่ ได้กลายเป็นกลุ่มคนซึ่งส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์นายมูบารักและการอยู่ในอำนาจกว่า 30 ปีของเขาที่เสียงดังที่สุดในตอนนี้
ความต้องการใน Facebook
ข้อเรียกร้องของพวกเขาสะท้อนถึงปัญหาของผู้ประท้วงชาวอาหรับในตูนีเซียเช่นกัน : ราคาอาหารที่แพง การไม่มีงานทำ และ รัฐบาลเผด็จการซึ่งมักจะจัดการขั้นเด็ดขาดด้วยมาตรการที่รุนแรงต่อกลุ่มผู้ชุมนุม
การประท้วงเมื่อวันอังคารได้นำเอาผู้ชุมนุมหลายพันคนลงมาสู่ท้องถนนในนครไคโรและเมืองอื่นๆในอิยิปต์กลายเป็นคลื่นมหาชนของกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนับแต่นายมูบารักขึ้นสู่อำนาจในปี 1981 หลังจากนายอันวาร์ ซาดัตถูกลอบสังหารโดยกลุ่มอิสลาม
ประชากรอิยิปต์กำลังเติบโตในระดับ 2% ต่อปีและมีประชากรวัยหนุ่มสาวจำนวนมาก โดยราว 60% ของประชากรอิยิปต์อายุต่ำกว่า 30 ปี 9 ใน 10 คนของผู้ว่างงานในอิยิปต์อยู่ในกลุ่มอายุนี้ ขณะที่ราว 40% ของประชากรของประเทศดำรงชีพด้วยรายได้ต่ำกว่า 2 ดอลลาร์ต่อวัน และกว่า 1 ใน 3 ของประชากรอ่านหนังสือไม่ออก
ความต้องการของกลุ่มผู้ประท้วงถูกโพสต์ลง Facebook และถูกส่งผ่านไปรอบๆจัตุรัสตาห์เรียร์ในรูปของแผ่นกระดาษก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมาถึง
ข้อเรียกร้องเหล่านั้นรวมถึงการเรียกร้องให้นายมูบารักลงจากอำนาจ นายกรัฐมนตรีอาห์เหม็ด นาซิฟต้องออกจากตำแหน่ง การยุบสภา และการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ นักเคลื่อนไหวจากสหภาพรายหนึ่งได้ป่าวประกาศข้อเรียกร้อง (จาก Facebook) เหล่านี้ต่อฝูงชนในจัตุรัสตาห์เรียร์ด้วยโทรโข่ง
“เราถูกยึดแน่นกับพื้นที่นี่ในตาห์เรียร์และจะไม่ไปไหน ไม่ใช่วันพรุ่งนี้ (พุธที่ 26 มกราคม) ไม่ใช่วันมะรืนนี้จนกว่ารัฐบาลนี้จะล้ม” นายซาเมะห์ อดัม เจ้าของร้านขายของแห่งหนึ่งกล่าวขึ้นไม่นานก่อนที่ผู้ชุมนุมจะสลายตัวจากจัตุรัส
การประท้วงวานนี้ยังได้ปะทุขึ้นในเมืองอเล็กซานเดรีย รวมถึงเมืองที่อยู่ริมฝั่งปากแม่น้ำไนล์และคลองสุเอซ รวมถึงเมืองอิสไมเลีย ทางตะวันออกของกรุงไคโรด้วย
ผู้ประท้วง 2 รายเสียชีวิตจากกระสุนยาง แหล่งข่าวด้านความมั่นคงแลการแพทย์กล่าวกับรอยเตอร์ โทรทัศน์ของรัฐบาลกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ความมั่นคง 1 นายเสียชีวิตในกรุงไคโรเพราะว่าถูกก้อนหินที่โยนมากระแทกเข้าที่ศรีษะ ขณะที่ผู้ชุมนุมหลายสิบคนถูกควบคุมตัว
กระทรวงมหาดไทยของอิยิปต์ซึ่งได้เตือนถึงการเข้าจับกุมก่อนการประท้วงเมื่อวานนี้กล่าวว่า ทางกระทรวงไม่มีปัญหากับการชุมนุม ณ จุดใดจุดหนึ่งเป็นเวลาสั้นๆ แต่ในกรุงไคโร ผู้ประท้วงได้ยึดถนนสายหลักๆและปิดการจราจรทั่วนครหลวงนี้
กระทรวงมหาดไทยได้กล่าวหากลุ่ม “พี่น้องมุสลิม” (Muslim Brotherhood) สำหรับเหตุจลาจลที่เกิดขึ้น แม้ว่ากลุ่มอิสลามต้องห้ามนี้จะมีบทบาทเพียงเล็กน้อยในการประท้วงนี้เท่านั้น กลุ่มอิสลามนี้กลับสร้างแรงโกรธแค้นให้กับสมาชิกวัยุร่นของกลุ่มเองโดยสมาชิกกลุ่มนี้มองว่า ทางกลุ่มมีท่าทีที่แข็งกร้าวไม่พอ
บรรดานักวิเคราะห์มองว่า การประท้วงในตูนีเซียและพัฒนาการของสถานการ์ตลอดทั้งภูมิภาคได้ทำให้ข้ออ้างของบรรดาผู้นำเผด็จการในรัฐอาหรับที่บอกว่า พวกเขายืนเป็นกำแพงต่อต้านกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงไม่ให้ยึดอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จ ดูอ่อนยวบไปเลย
ที่มา Reuters
แปลและเรียบเรียงโดย เบ๊นซ์ สุดตา ฝ่ายข่าวเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ Mtoday