การเงินอิสลามในระบบการเงินโลกตอนที่5 –ปัญหาของการเงินอิสลามในปัจจุบัน
แม้ว่าการเงินอิสลามโดยหลักการดั้งเดิมพื้นฐานจะสร้างระบบการเงินที่มีความสมดุลและยั่งยืนในด้านการทำหน้าที่ในระบบเศรษฐกิจและพัฒนาสังคม
แต่อย่างที่ทราบกันดีการเงินอิสลามในปัจจุบันไม่ได้ถูกสร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในคัใภีร์อัลกุรอาน
แต่กลับกลายเป็นการนำคำว่า
อิสลาม มาแปะไว้กับคำว่า
การเงิน
ซึ่งก็ยังอิงกับระบบการเงินตะวันตกของพวกยิวและแองโกล–แซกซ็อนอยู่เช่นเดิม
ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ผ่านมาซึ่งเป็นมูลเหตุสำคัญของวิกฤตและความล้มเหลวของระบบการเงินอิสลามโดยเฉพาะในตะวันออกกลางคือ
การกระโจนเข้าสู่โลกาภิวัตน์ทางการเงิน
ของบรรดาทุนการเงินทั้งภาครัฐและเอกชนในตะวันออกกลางโดยมีเข็มมุ่งในการผงาดเป็นศูนย์กลางการเงินชั้นนำเทียบเท่าเมืองหลวงทางการเงินโลกอย่างลอนดอน
ฮ่องกง สิงคโปร์
เป็นต้น ทำให้กลายเป็นว่าการเงินอิสลาม
ณ
ที่นี่หรือแม้แต่ที่กัวลาลัมเปอร์เองวิ่งเข้าหาการพัฒนาตลาดทุนและธุรกิจด้านบริหารการลงทุนและธุรกิจหลักทรัพย์อย่างชัดเจนทำให้ศาสนา
กลายเป็นเครื่องมือที่รับใช้การเงินหาใช่ การทำการเงินตามหลักศาสนาไม่
เราจะเห็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินอิสลามในหลากรูปแบบซึ่งละม้ายคล้ายคลึงกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินในตะวันตกทั้งสิ้นมีทั้ง
ตลาดทุนอิสลาม (Islamic
Capital Market) เฮดจ์ฟันด์อิสลาม(Islamic Hedge Fund)อนุพันธ์อิสลาม(Islamic Derivative)การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์แบบอิสลาม(Islamic Securitization)
นอกจากการเชื่อมโยงตัวเองเข้าสู่ระบบการเงินโลกแล้ว
ตัวเนื้อหาของการเงินอิสลามเองก็เป็นปัญหาด้วย
ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าระบบการเงินอิสลามนั้นเน้นที่การถือครองสินทรัพย์ที่จับต้องได้จริงๆ
ดังนั้นผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ
การพุ่งขึ้นของการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ของทั้งภูมิภาคในช่วงของก่อนวิกฤตการเงินเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางในด้านการเงิน
ภาคบริการ การท่องเที่ยว
และการคมนาคม
อีกทั้งอสังหาริมทรัพย์ที่ราคาสูงขึ้นยังสร้างแรงจูงใจให้มีการปล่อยกู้และลงทุนในด้านนี้อย่างมากในระบบการเงินอิสลาม
ทำให้ในที่สุดเมื่อมีวิกฤตการเงินขึ้นมาและลุกลามไปยังภูมิภาคจนกลายมาเป็นวิกฤตดูไบก็ทำให้ทั้งความเชื่อมั่นของภูมิภาคและระบบการเงินอิสลามเสียหายอย่างหนักด้วยจากการที่ฟองสบู่ทางการเงินทั้งในตลาดทุนและอสังหาริมทรัพย์แตกตัวลง
อีกทั้งระบบการเงินอิสลามในตอนนี้ไม่ได้พึ่งเงินออมของตัวเอง
แต่เงินทุนส่วนใหญ่มาจากเงินเปโตรดอลลาร์และการกู้เงินจากต่างประเทศด้วย
ทำให้เมื่อศูนย์กลางการเงินโลกเกิดปัญหา
ระบบการเงินอิสลามในภูมิภาคจึงโดนวิกฤตการเงินไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากวิกฤตดูไบที่เขย่าขวัญประชาคมเศรษฐกิจระหว่างประเทศแล้ว
วิกฤตการเงินในคูเวตก็เป็นตัวสะท้อนถึงความเสี่ยงและความล้มเหลวของแบบจำลองการเงินอิสลามดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี
โดยวิกฤตในคูเวตนั้นต่างจากที่ดูไบคือ
เป็นวิกฤตที่เกิดกับภาคเอกชน
ไม่ใช่หน่วยงานหรือกิจการที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือเกี่ยวข้องในทางใดทางหนึ่ง
โดยวิกฤตในคูเวตนั้นเกิดกับธุรกิจที่เรียกว่า
บริษัทลงทุน หรือ Investment
Companyทีมีการกู้เงินทั้งจากระบบตลาดเงินตลาดทุนแบบตะวันตกและอาศัยระบบการเงินอิสลามในการระดมเงินด้วย
โดยเงินที่ได้มานั้นกลับไปหาประโยชน์ด้วยการไปไล่ซื้อหุ้นกิจการชื่อดังในยุโรปและสหรัฐฯเป็นหลัก
โดยหวังผลกำไรจากราคาหุ้นและราคาสินทรัพย์ที่สูงขึ้น
ซึ่งเข้าข่ายการเก็งกำไรระยะสั้นอย่างชัดเจน
ไม่มีการเชื่อมโยงกับผลประโยชน์อันดีงามของสังคม
เป็นการทำมาหากินที่ละเมิดคำสอนของอิสลามอย่างไม่ลืมหูลืมตา
ซึ่งสุดท้ายก้กลายเป็นวิกฤตการเงินที่สั่นสะเทือนความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินทั้งภูมิภาคและต่อระบบการเงินอิสลามด้วย
แม้จะไม่ใหญ่โตและลุกามหนักเท่าวิกฤตที่ดูไบก็ตาม
โดยบริษัทลงทุน 2แห่งคือ Global
Investment Houses และ Investment
Dar ได้ผิดนัดชำระหนี้ทั้งคู่
โดยกรณีของ Global
Investment Housesนั้นผิดนัดชำระหนี้บนตราสารหนี้และเงินกู้ที่มีภาระการจ่ายดอกเบี้ยอย่างชัดเจนในช่วงปลายปี2008 ขณะที่Investment Darกลายเป็นรายแรกที่ผิดนัดชำระหนี้บนพันธบัตรอิสลามมูลค่า100 ล้านดอลลาร์
ซึ่งกู้ไปเพื่อซื้อหุ้นบริษัทรถยนต์ยี่ห้อดังAston Martin ผลก็คือ
ภาพลักษณ์ที่ติดลบกว่าเดิมของการเงินอิสลามในสายตาชาวโลก
ปัญหาอีกประการคือ
การขยายตัวของการเงินอิสลามในประชาคมที่มิใช่อิสลาม
ต้องยอมรับว่าคนทั่วไปที่ฝากเงินต้องการความมั่นคงทางการเงินในระดับหนึ่งและต้องการกระแสรายได้ที่คาดการณ์ได้
แต่ระบบการเงินอิสลามอย่างธนาคารอิสลามโดยหลักการแล้วทำให้ผู้ฝากเงินต้องเผชิญความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น
ซึ่งถ้าผู้ฝากเงินต้องการผลตอบแทนภายใต้ความเสี่ยงที่สูงขึ้นคงจะหันไปหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินในด้านอื่นแทน
ขณะเดียวกันทิศทางการเงินอิสลามที่ผ่านมายังทำให้แม้แต่คนมุสลิมเองก็ไม่ได้รับประโยชน์จากการเงินอิสลามมากนัก
คนที่ได้ประโยชน์หลักๆกลับเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ของรัฐบาลและเอกชน
ไม่เฉพาะเอกชนในกลุ่มประเทศที่เป็นมุสลิมเท่านั้น
แต่กลับกลายเป็นแลห่งทำมาหากินของสถาบันการเงินจากตะวันตกและแหล่งทุนอันอุดมของธุรกิจข้ามชาติด้วย
ผลประโยชน์ที่ตกกับประชาชนทั่วไปจริงๆจึงจำกัดมาก
นอกจากนั้นแล้วระบบการเงินอิสบามยังมีปัญหาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้วย
ทุกวันนี้บุคลากรในโลกการเงินอิสลามจำกัดอยุ่แต่ในตะวันออกกลางและในศูนย์กลางการเงินโลกอื่นๆ
และแม้แต่ในตะวันออกกลางเองคนที่มาวางระบบยังมาจากตะวันตกซึ่งไม่ได้เข้าใจหลักการพื้นฐานของศาสนาอิสลามนอกจากเรื่องการห้ามดอกเบี้ย
ทำให้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินอิสลามเกือบทั้งหมดในโลกละเมิดคัใภีร์อัลกุรอ่านอย่างชัดเจน
โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ
พันธบัตรอิสบามหรือ Sukukโดยบรรดาผู้ใหญ่ที่อยู่ในคณะกรรมการนักวิชาการด้านศาสนาอิสบาม(Board of Scholars)จากองค์การมาตรฐานการบัญชีและการตรวจสอบเพื่อสถาบันการเงินอิสลามหรือAAOFI (Accounting &
Auditing Organization for Islamic Financial Institution)ออกมาระบุชัดเจนว่ากว่า85%ของพันธบัตรอิสลามที่ขายออกมาจนกระทั่งมีนาคม2008ล้วนละเมิดกฎอิสลามทั้งสิ้น
ตรงนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของระบบข้อบังคับและกฎระเบียบที่ชัดเจนในระบบการเงินอิสลามที่ต้องมีการสร้างต่อไป
ซึ่งคาดว่าในขณะนี้ระบบการเงินอิสลามได้มีข้อบังคับและมาตรฐานทางบัญชีที่ชัดเจนขึ้นแล้ว
โดยสรุปการนำศาสนาไปพ่วงกับระบบการเงินโลก
การอิงฐานอสังหาริมทรัพย์
และการขาดฐานเงินออมและบุคลากรเป็นของตัวเองนำไปสู่ความล้มเหลวและวิกฤตการเงินในโลกอิสลามที่ผ่านมาและผลประโยชน์ที่แท้จริงก็ยังคงไปไม่ถึงพี่น้องมุสลิมทั่วโลก
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1954 ครั้ง