รูปภาพ : คลองปานามา ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิกเข้าด้วยกัน มีความสำคัญต่อระบบการค้าโลกมาก แต่อาจถูกลดความสำคัญได้หากทางรถไฟในโคลัมเบียแล้วเสร็จ
“มันเป็นข้อเสนอที่เป็นจริง … และมันก็คืบหน้าไปมาก” นายฮวน มานูเอล ซานโตส ประธานาธิบดีโคลัมเบียกล่าวกั
บไฟแนนเชียลไทม์ “การศึกษา (โดยทางการจีน) จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประเด็นในด้
านต้นทุนการขนส่งตอ่ตัน ต้นทุนการลงทุน ทั้งหมดค่อยๆเป็นรูปเป็นร่
างออกมาแล้ว”
ทางรถไฟเชื่อม 2 มหาสมุทรที่อยู่ระหว่างการเจรจาอยู่นั้นถือเป็นตัวอย่างล่าสุดของนโยบายการกล่อยกู้ในเชิงรุกมากขึ้นของจีนให้กับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ซึ่งเห็นได้จากยอดการปล่อยกู้ของธนาคารจีนให้กับประเทศกำลังพัฒนาที่สูงกว่าธนาคารโลกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
เส้นทางรถไฟระยะทาง 220 กิโลเมตรหรือ “คลองแห้ง” (Dry Canal) นี้จะวิ่งจากชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกไปสู่เมืองใหม่ใกล้กับเมืองคาร์ตาเกน่า (Cartagena) ซึ่งสินค้าที่นำเข้าจากจีนจะถูกนำประกอบและส่งออกอีกรอบที่เมืองนี้ไปยังทั่วทั้งทวีปอเมริกา ขณะที่วัตถุดิขต่างๆที่ขุดจากโคลัมเบียก็สามารถส่งไปยังจีนได้ผ่านเส้นทางนี้ด้วย
“ผมไม่อยากให้เราคาดหวังมากจนเกินไป แต่มันก็ดูสมเหตุสมผล” นายซานโตสกล่าว “เอเชียถือเป็นเครื่องยนต์ใหม่ของเศรษฐกิจโลก”
โคลัมเบียมีความฝันมายาวนานถึงเรื่องการสร้างทางเลือกแข่งกับคลองปานามา โคลัมเบียถือเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดสหรัฐฯที่สุดในอเมริกาใต้ แต่รัฐบาลโคลัมเบียเกิดความไม่พอใจรัฐบาลสหรัฐฯอย่างมากหลังจากทางการวอชิงตันกลับเตะถ่วงข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศที่ลงนามไปเมื่อ 4 ปีที่แล้วแต่ตอนนี้ต้องได้รับการยืนยันจากสภาคองเกรส
การค้าระหว่างจีนและโคลัมเบียพุ่งจากเพียง 10 ล้านดอลลาร์ในปี 1980 มาเป็นมากกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2010 ทำให้จีนกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของโคลัมเบียรองจากสหรัฐฯ
“โคลัมเบียมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์มาก และเรามองประเทศนี้ในฐานะที่เป็นปากทางไปสู่ส่วนอื่นๆของละตินอเมริกา” นายเกา เจิงเย่ว์ (Gao Zhengyue) เอกอัครราชทูตจีนประจำโคลัมเบียกล่าว
ในเอกสารที่หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์เห็นมานั้น โครงการนี้เป็นเพียงหนึ่งในบรรดาข้อเสนอมากมายที่ทางการจีนต้องการเพิ่มจุดเชื่อมโยงด้านการขนส่งกับเอเชียและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทรุดโทรมมากของโคลัมเบียซึ่งเป็นลำดับความสำคัญต้นๆของรัฐบาลประธานาธิบดีซานโตส
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งจีนและโคลัมเบียกล่าวว่า การเจรจานั้นคืบหน้าไปมากในส่วนของทางรถไฟระยะทาง 791 กิดลเมตรและการขยายท่าเรือบัวนาเวนทูร่า (Buenaventura) ในฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก โครงการมูลค่ากว่า 7,600 ล้านดอลลาร์หรือกว่า 230,000 ล้านบาทนี้ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งจีนหรือ CDB (China Development Bank) และดำเนินการก่อสร้างโดยกลุ่มบริษัท China Railway Group โดยโครงการนี้จะสามารถช่วยให้โคลัมเบียเคลื่อนย้ายคาร์โก้น้ำหนักกว่า 40 ล้านตันจากเขตเศรษฐกิจในภาคกลางสู่มหาสมุทรแปซิฟิก โดยการขนส่งถ่านหินไปยังจีนถือว่ามีลำดับความสำคัญเป็นอันดับแรก
โคลัมเบียถือเป็นผู้ผลิตถ่านหินอันดับที่ 5 ของโลกแต่ถ่านหินส่วนมากกลับต้องถูกส่งออกผ่านทางท่าเรือในแอตแลนติกแม้ว่าความต้องการจะเติบโตมากที่สุดในแถบแปซิฟิกก็ตาม
ที่มา Financial Times
แปลและเรียบเรียงโดย เบ๊นซ์ สุดตา ฝ่ายข่าวเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ Mtoday