รูปภาพ : นายโทนี่ แทน รองประธานกรรมการกองทุน GIC
ที่มา : Reuters
กองทุน GIC (Government of Singapore Investment Corp.) ซึ่งเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติหรือ Sovereign Wealth Fund ของรัฐบาลสิงคโปร์โดยปัจจุบันบริหารเงินลงทุนมากกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์ทั่วโลกกล่าวว่า “แรงกระเพื่อม” ของการปฏิวัติมวลชนในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนืออาจดันให้ตลาดน้ำมันมีความผันผวนมากขึ้น
ประธานาธิบดีฮอสนี่ มูบารักของอิยิปต์ต้องหลุดจากอำนาจเมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์หลังจากผู้ชุมนุมนับแสนคนยึดใจกลางกรุงไคโรเพื่อประท้วงไล่นายมุบารักเป็นเวลากว่า 3 สัปดาห์ ขณะที่บรรดาผู้ที่ภักดีต่อพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี่ ผู้นำลิเบีย ได้เข้าบดขยี้ฝ่ายตรงข้ามอย่างรุนแรงในนครทริโปลีเนื่องจากฝ่ายตรงข้ามได้เข้าควบคุมเขตเมืองทางภาคตะวันออกเอาไว้แล้ว
“ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์และนโยบายโลกสูงขึ้น และอาจจะมีความไม่แน่นอนมากขึ้นกว่าช่วงที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้” นายโทนี่ แทน รองประธานกรรมการกองทุน GIC กล่าวในสุนทรพจน์ที่สมาคมนโยบายการต่างประเทศในมหานครนิวยอร์คเมื่อวันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา “ค่าพรีเมี่ยมความเสี่ยงในราคาน้ำมันและความผันผวนในตลาดน้ำมันจึงยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง”
ความเสี่ยงจากความวุ่นวายทางการเมืองอาจเพิ่มขึ้นในประเทศที่ร่ำรวยน้ำมันและบรรดาประเทศที่ควบคุมเส้นทางขนส่งหลักๆเช่น แอลจีเรีย บาห์เรน ลิเบีย และเยเมน นายแทนระบุ กองทุน GIC ได้รับการจัดอันดับจากสถาบันกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund Institute) ให้เป็นกองทุนรัฐบาลที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก โดยสถาบันคาดว่ากองทุน GIC มีสินทรัพย์อยู่ราว 247,500 ล้านดอลลาร์
การปะทะกันในลิเบียซึ่งมีน้ำมันสำรองมากที่สุดในแอฟริกาถือเป็นเหตุรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 6 สัปดาห์ของกระแสการปฏิวัติมวลชนทั่วภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือซึ่งได้ประสบความสำเร็จในการโค่นล้มอำนาจผู้นำเผด็จการในตูนีเซียและอิบิปต์
บาห์เรน, เยเมน
กษัตริย์ฮาหมัด บิน อิซา อัลคาลิฟา แห่งบาห์เรนซึ่งได้เข้าพบกับกษัตริย์ซาอุดิอาระเบียก่อนหน้านี้ที่นครริยาดได้ปล่อยตัวนักโทษกว่า 308 คนเมื่อช่วงวันพุธที่ผ่านมาหลังจากกาประท้วงใหญ่ของชาวชีอะห์ในบาห์เรนที่ยืดเยื้อมากว่า 1 สัปดาห์ ในเยเมน สมาชิกรัฐสภา 9 คนได้ลาออกจากพรรครัฐบาลหลังจากรับบาลได้ทำการปราบปรามผู้ชุมนุมเรียกน้องประชาธิปไตยอย่างรุนแรงเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย
ด้านโนมูระ โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นได้ออกมากล่าวว่า ราคาน้ำมันอาจพุ่งไปถึง 220 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหากการส่งออกน้ำมันของประเทศลิเบียและประเทศเพื่อนบ้านอย่างแอลจีเรียต้องหยุดชะงักลง
ความเสี่ยงอื่นๆที่นายแทนแสดงความกังวลยังรวมไปถึงเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ในจีนและอินเดีย 2 ยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจที่เขาคาดว่าจะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ระดับ 7% และ 9% ตามลำดับ จีนยังต้องจัดการกับปัญหาของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่อาจสูงขึ้นได้ในภาวะที่สินเชื่อมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในจีน เขากล่าว
ประเทศเกิดใหม่ทางเศรษฐกิจอื่นๆโดยเฉพาะกลุ่ม BRIC มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นหลังจากวิกฤตการเงินปี 2008 นายแทนระบุ
“การปรับสมดุลในอำนาจทางเศรษฐกิจบางส่วนจะเกิดขึ้น และแน่นอนมันเป็นสิ่งที่ดี” นายแทนกล่าว โดยเสริมอีกว่า เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัว “อเมริกาน่าจะยังคงเป็นแหล่งความมั่งคั่งของโลกที่สำคัญที่สุดเพียงแหล่งเดียวไปอีกหลายปี”
กองทุน GIC ซึ่งมีเงินลงทุนกว่า 1 ใน 3 อยู่ในสหรัฐฯกล่าวว่า สหรัฐฯยังคงเป็น “เป้าหมายหลัก” ของกองทุน สำหรับสิ่งที่นายแทนกังวลเกี่ยวกับสหรัฐฯมากที่สุดก็คือ สหรัฐฯ “กำลังทัศนคติที่แคบลงเรื่อย” เนื่องจากความกังวลต่อปัญหาการว่างงานหรือปฏิกิริยาที่มีต่อการก่อการร้าย นายแทนกล่าว
ที่มา Bloomberg
แปลและเรียบเรียงโดย เบ๊นซ์ สุดตา ฝ่ายข่าวเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ Mtoday