สึนามิญี่ปุ่เสียชีวิตกว่า 4,000 คน สูญหาย 9,000 คน 28,000 คนต้องอพยพ ขณะที่บีโอเจ อัดฉีดเม้ดเงินแล้ว 6.8 แสนดอลลาร์
วันที่ 17 มีนาคม ยอดผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิ เมื่อวันศุกร์ อยู่ที่ 4,377 คน และสูญหายอีกอย่างน้อย 9 พันคน ขณะที่ประชาชนอีก 28,000 คน ต้องถูกอพยพออกจากบ้านเรือนไปยังพื้นที่อื่น เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารกัมมันตรังสี รั่งออกมาจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกูชิม่า หมายเลข 1
เจ้าหน้าที่ในจังหวัดฟูกูชิม่า กำลังตรวจสอบตัวเลขผู้เสียชีวิต ซึ่งเป็นผู้ป่วยของโรงพยาบาล 14 แห่ง ที่ต้องถูกอพยพไปยังศูนย์พักพิงฉุกเฉิน กระทรวงต่างประเทศ ได้เรียกร้องไม่ให้ตื่นตระหนก ขณะที่รัฐบาลของบางประเทศ ประกาศเตือนภัยการเดินทางไปยังญี่ปุ่น หรือแนะนำให้พลเมืองของตนเองที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น รีบเดินทางออกมา ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นหลังเกิดอาฟเตอร์ช็อคหลายครั้ง รวมทั้งยังมีการรั่วออกมาของสารกัมมันตรังสีจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ หมายเลข 1
ขณะเดียวกัน บีโอเจได้อัดฉีดเงินฉุกเฉินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจตั้งแต่วันจันทร์ ที่15 มี.ค.ติดต่อกันเป็นวันที่สาม รวมเป็นเม็ดเงิน 6.88 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (2.06 ล้านล้านบาท) เพื่อพยุงระบบธนาคารพาณิชย์ โดยหวังว่าธนาคารพาณิชย์จะนำเม็ดเงินดังกล่าวปล่อยกู้ให้แก่ประชาชน ที่มีความต้องการเงินกู้พุ่งสูงขึ้นอย่างมากหลังจากผ่านพ้นเหตุวิกฤติแผ่นดินไหวคลื่นสึนามิครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ เพื่อนำไปใช้ในการซ่อมแซม หรือ สร้างบ้านเรือนและธุรกิจที่ได้รับความเสียหายจากเหตุดังกล่าว
การอัดฉีดเงินเข้าระบบของบีโอเจส่งผลทันตา ทำให้ดัชนีราคาหุ้นในตลาดนิเคอิพุ่งสูงขึ้นทันทีในวันอังคาร (15 มี.ค.) ปิดที่ระดับ 9,093.72 จุด เพิ่มขึ้น 5.7% หลังจากที่ดัชนีหุ้นนิเคอิมีราคาปิดดิ่งหัวลง 20% ตลอดช่วง 2 วันที่ผ่านมาระหว่างที่ทั่วโลกกำลังจับตามองวิกฤติการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงงานไฟฟ้าปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในเมืองฟุกุชิมา ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง
ด้านนายเคียวเฮ โมริตะ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แห่งธนาคารบาร์เคลย์สแคปิตอล แจแปน ประเมินมูลค่าความเสียหายจากพิบัติภัยในครั้งนี้อยู่ที่ระดับ 15 ล้านล้านเยน หรือ ประมาณ 5.58 ล้านล้านบาท โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน หรือคิดเป็น 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของประเทศญี่ปุ่น นายโมริตะยังประเมินด้วยว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์เมื่อวันศุกร์ (11 มี.ค.) และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และ สุขภาพจิตของประชาชนมากกว่าเหตุแผ่นดินไหว ณ เมืองโกเบ ในปี 2538
ทั้งยังประเมินมูลค่าความเสียหายในจังหวัดสำคัญๆ เช่น อิวาเตะ มิยากิ ฟุกุชิมา และ อิบารากิ ซึ่งเป็นฐานการผลิตรถยนต์ โรงกลั่นน้ำมัน โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ รวมทั้งชิ้นส่วนอิเลกทรอนิก ที่ระบบถนน และเครือข่ายการคมนาคมได้รับความเสียหายอย่างหนัก คิดเป็น 7% ของมูลค่าเศรษฐกิจโดยรวมของญี่ปุ่นที่อยู่ในระดับ 4.33 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 130 ล้านล้านบาท) หรือประมาณ 9.1 หมื่นล้านบาท
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1010 ครั้ง