พันธมิตรฯ แตกยับ กกม.แหกใบสั่ง “ลิ้ม” ดันลงเลือกตั้ง สาขาพรรคจัดหนักเรียงหน้าเข้าคิวลง
ส.ส. “ยะใส” ขู่ลาออก หากพรรคถูกว้นวรรค ชี้ 24 เม.ย.
จุดเปลี่ยนทางการเมือง “อมร” ไขก๊อก
หลังโดนใบสั่ง-ด้านเสนาะ นำประชาราชซบเพื่อแผ่นดิน ร่วมกับรวมชาติพัฒนา
วันที่ 24 มีนาคม วลา 10.00 น. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข
หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรค เดินทางไปยังบ้านพระอาทิตย์
เพื่อร่วมงานรับมอบภาพประมูลสีน้ำมันหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน โดยมีนายสนธิ ลิ้มทองกุล พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายพิภพ ธงไชย
แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เข้าร่วมงาน
ทั้งนี้ภายเลิกงานรับมอบภาพน้ำมัน แกนนำพันธมิตรฯ
และแกนนำพรรคการเมืองใหม่ ได้มีการประชุมหารือร่วมกันถึงสถานการณ์ทางการเมือง
ภายหลังมีกระแสข่าวหนาหูความแตกร้าวทางการเมืองของทั้งสองฝ่าย ภายหลังนายสนธิ ลิ้มทองกุล
หนึ่งในแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ประกาศบนเวทีเมื่อช่วงกลางดึกคืนวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา ว่า
กลุ่มพันธมิตรฯ มีมติให้มีการโนโหวต และห้ามพรรคการเมืองใหม่ ส่งคนเลือกตั้ง
โดยความเคลื่อนไหวที่พรรค กมม.ในเวลา 14.00 น.ได้มีการนัดประชุมกรรมการบริหารพรรคนอกรอบ
เพื่อหารือแนวทางภายหลังเกิดกระแสกระเพื่อมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง
รายงานข่าวแจ้งว่า นายอมร อมรรัตนานนทท์ หรือนาย
รัชต์ชยุตม์ ศิรโยธินภักดี กรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ ได้ลาออกอย่างเป็นทางการจากตำแหน่ง หลังจากนายสนธิ
ลิ้มทองกุล ยื่นคำขาด ส่งเอกสารใบลาออกให้เซ็นต์ ทั้งนี้เมื่อวันที่ 22มีนาคมที่ผ่านมาพรรคการเมืองใหม่ได้มีการประชุมกรรมการบริหารพรรค
และได้มีมติอย่างเป็นทางการว่า จะมีการส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับการเมืองตั้ง
โดยเฉพาะกลุ่มสาขาพรรคต่างๆ ต่างยืนยันที่จะลงสมัครเลือกตั้งในสมัยนี้ อย่างแน่นอน ซึ่งมติดังกล่าว สวนทางกับความต้องการของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ได้ส่งสัญญาณเรื่องนี้มายังพรรคการเมืองใหม่มาอย่างต่อเนื่อง
แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง ซึ่งในที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค นายสุริยะใส กตะศิลา
เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ ได้ประกาศในที่ประชุม ว่า จะขอลาออกจากตำแหน่ง
หากไม่ให้พรรคการเมืองใหม่ลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้
“ มติของแกนนำพันธมิตรฯ คิดว่าพรรคการเมืองใหม่ คิดแบบผูกมัดการเลือกตั้ง และมองกันคนละอารมณ์ และขณะนี้พรรคการเมืองใหม่ ก็ยังมีมติเดิมภายหลังจากการประชุมคือ
การลงสมัครรับเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามในวันที่ ๒๔ เมษายน ภายหลังการหารือร่วมกัน คงจะมี
จุดยืนที่ชัดเจนอย่างแน่นอน
และอาจจะเป็นจุดเปลี่ยนในเรื่องความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมือง ของทั้งสองฝ่าย
ซึ่งขณะนี้ในพรรคเองก็มีความกังวลเรื่องกฎหมายการถูกยุบพรรค เช่นกัน ภายหลังนายสนธิ ออกมาประกาศ บนเวทีพันธมิตรฯ
แต่พรรคก็ยืนอยู่ในจุดที่ว่าไม่ได้มีท่าทีตอบรับกับคำประกาศดังกล่าว ” รายงานข่าวระบุ
แหล่งข่าวกลุ่มพันธมิตรฯ
กล่าวว่า ในสถานการณ์การเมืองในขณะนี้พรรคการเมืองใหม่
ยังไม่พร้อมที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ทั้งเรื่องการบริหาร
โครงสร้าง และเรื่องเงินทุนภายในพรรค และหากยุติพรรคไว้ก่อน สถานการณ์การต่อสู้ของประชาชนขณะนี้ก็จะถูกยกระดับ
เพราะขณะนี้มันก็แสดงให้เห็นแล้วว่า นักการเมืองไม่สามารถที่จะทำงานทำได้
และไม่ได้คิดเรื่องการปฎิรูปสังคมอย่างแท้จริง
“ พรรคการเมืองใหม่ ควรเว้นวรรคทางการเมืองในสมัยนี้
หากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น จนกว่าจะมีการปรับโครงสร้าง ด้านหนึ่งจะได้รู้ว่า
ปีกในกลุ่มพันธมิตรฯ มีกี่คน มี ความเป็นเอกภาพ เสียงไม่แตก ซึ่งมันจะประเมินได้หลังจากการเลือกตั้ง
ซึ่งมันสามารถเช็คเสียงได้อยู่แล้ว และเราก็รู้อยู่แล้วว่ารัฐบาลหน้ามีจุดตายอย่างไรนั้นก็คือเรื่อง อธิปไตย
และสามารถเปิดโปงตัวบุคคลได้อยู่แล้ว เพราะรัฐบาลหน้าที่จะมาถึง
ก็ถูกแอนตี้จากกลุ่มพันธมิตรฯ อยู่แล้ว เราจึงต้องหยุดเพื่อโนโหวต แล้วล้มรัฐบาลในอนาคต พรรคการเมืองใหม่ก็จะโต
เห็นฐานที่ชัดเจนจากการเลือกโนโหวต เป็นการรอเวลาเพื่อสะสมพลัง” แหล่งข่าว กล่าว
แหล่งข่าวคนเดิม
กล่าวต่อว่า เรื่องนี้จึงต้องประสานกันทั้งสองกลุ่มคือทั้งกลุ่มพรรคการเมืองใหม่
และกลุ่มพันธมิตรฯ เพื่อให้มีการปรับปรุง
เพื่อให้มีความเป็นเอกภาพ เพราะที่ผ่านมาก็มีความขัดแย้งกันในทางความคิดอยู่ตลอด
“ พวกสาขาพรรคการเมืองใหม่ ก็กระดี๊กระด๊าอย่างเป็นนักการเมือง จุดอ่อนของพรรคการเมืองใหม่คือการเปิดช่องว่าง ให้ตั้งสาขาพรรคตามกติกาของ
กกต. ทั้งๆที่จะต้องมีความแตกต่าง เช่น ให้มีสมาชิกครบ 500 คน ก่อน ไม่ใช่เอาใครมาลงชื่อก็ได้ เกณฑ์กันมา แล้วมาขอตั้งสาขาพรรค ไม่มีการโหวตเลือกกัน แล้วก็ไม่ยอมรับกัน ซึ่งหากมีการปรับปรุงโครงสร้างพรรคเหล่านี้ ทุกอย่างก็จะเรียบร้อย”
แหล่งข่าว
กล่าวต่อว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ
ประกาศอย่างชัดเจนแล้วว่าไม่ยอมรับ และถ้าจะให้สนับสนุนพรรคการเมืองใหม่
ก็ต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างภายในพรรค ปรับจุดยืนวิธีคิด ไม่ใช่เอาตามกรอบของ กกต. แต่ต้องเป็นพรรคที่มีอุดมการณ์
อุดมคติทางการเมือง ไม่ใช่เน้นแต่ปริมาณ แต่ไม่เอาคุณภาพ”
ด้านความเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองอื่น มีความชัดเจนว่า พรรคเพื่อแผ่นดินและพรรคร่วมชาติพัฒนา กำหนดรวมพรรคกันแน่นอนแล้ว โดยพรรคประชาราช เข้าร่วมด้วย โดยแหล่งข่าวจากพรรคเพื่อแผ่นดิน เปิดเผยว่า แกนนำทั้ง 2 พรรคได้ข้อสรุปแล้วว่า
ใช้ชื่อพรรคในการเลือกตั้งครั้งหน้าในนามพรรครวมชาติพัฒนา
ขณะที่กลุ่มของพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก มีความเป็นไปได้ที่จะไปอยู่พรรคเพื่อไทย
และขณะที่สัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการพูดคุย
และมีข้อตกลงร่วมกันของแกนนำพรรคเพื่อแผ่นดินผ่านกลุ่ม 3 พีคือ นายพินิจ จารุสมบัติ นายไพโรจน์ สุวรรณฉวี
และนายปรีชา เลาหะพงษ์ชนะ กับนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช
ในการรวมพรรค คาดว่าเมื่อ 3
พรรคร่วมแล้วจะจำนวนส.ส.กว่า 40
ที่นั่ง
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 1796 ครั้ง