1.พาดผ่านเชียงรายและเชียงใหม่ 2.กลุ่มรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านแม่ฮ่องสอนและตาก 3.กลุ่มรอยเลื่อนเมย พาดผ่านตากและกำแพงเพชร 4.กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านเชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย 5.กลุ่มรอยเลื่อนเถิน พาดผ่านลำปางและแพร่ 6.กลุ่มรอยเลื่อนพะเยา พาดผ่านลำปาง เชียงราย และพะเยา 7.กลุ่มรอยเลื่อนบัว พาดผ่านน่าน
8.กลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านอุตรดิตถ์ 9.กลุ่มรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่านกาญจนบุรีและราชบุรี 10.กลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่านกาญจนบุรีและอุทัยธานี 11.กลุ่มรอยเลื่อนท่าแขก พาดผ่านหนองคายและนครพนม 12.กลุ่มรอยเลื่อนระนอง พาดผ่านประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา 13.กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่านสุราษฎร์ธานี กระบี่ และพังงา
สำหรับรอยเลื่อนที่น่าจับตามากที่สุด คือ รอยเลือนสะแกง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 400 กม. ส่วนรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 200กม. แถมยังมีเขื่อนขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อน นั่นคือ เขื่อนศรีนครินทร์ และยังมีรอยเลือนที่น่าจับตาอีก 2 แหล่ง คือ รอยเลื่อนแม่จัน และรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ในอดีตเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงมาแล้วหลายครั้ง
รศ.ดร.พิษณุ วงศ์พรชัย หัวหน้าภาคธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิบายว่า รอยเลื่อนน้ำมาของพม่านั้นวางตัวขนานกับรอยเลื่อนแม่จันและรอยเลื่อนเชียงแสน ในอดีตเคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6-7 ริกเตอร์มาแล้วหลายครั้ง และมีหลักฐานทางธรณีวิทยาเชื่อมโยงให้เห็นว่า “อาณาจักรโยนก” ถูกแผ่นดินไหวถล่มจนหายไปทั้งเมือง แต่ไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนกมากนัก เพราะในอดีตการก่อสร้างบ้านเรือนยังไม่แข็งแรง เมื่อเกิดแผ่นดินไหวก็พังลงอย่างง่ายดาย แต่เพื่อความไม่ประมาท ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้รอยเลื่อนที่ยังมีพลังในภาคเหนือเฝ้าติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดแต่ไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินไป
บทความนี้ถูกอ่านไปแล้ว 4378 ครั้ง